Renewable Energy : พลังงานแห่งอนาคตที่ไม่มีวันหมดสิ้น
Renewable Energy : พลังงานแห่งอนาคตที่ไม่มีวันหมดสิ้น เทคโนโลยีเกิดใหม่หลายๆ ประเภท เช่น โมบายล์อินเทอร์เน็ต (mobile internet) รถยนต์ไร้คนขับ (autonomous vehicle) และจีโนมิกส์ (genomics) กำลังจะสร้างความเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ให้กับโลกใบนี้ บรรดาเทคโนโลยีใหม่ๆ เหล่านี้ กำลังแพร่กระจายไปในทุกภาคส่วน แต่ก็ใช่ว่าเทคโนโลยีใหม่ทุกประเภทจะก่อให้เกิดความเปลี่ยนแปลงต่อภาคส่วนธุรกิจหรือสังคม มีเพียงแค่บางประเภทเท่านั้นที่มีแนวโน้มจะส่งผลกระทบต่อเทคโนโลยียุคเก่าให้เปลี่ยนจากหน้ามือเป็นหลังมือ หรือที่ปกติเราเรียกกันว่า disruption นั่นเอง รวมถึงเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตของผู้คนไปอย่างสิ้นเชิง ถึงแม้ว่าความก้าวหน้าทางด้านเทคโนโลยีจะมีผลดีช่วยขับเคลื่อนระบบเศรษฐกิจให้เดินไปได้ แต่ในขณะเดียวกันก็ก่อให้เกิดความเปลี่ยนแปลงที่ไม่อาจหลีกเลี่ยงได้ ผู้นำทั้งทางฝั่งรัฐบาล และภาคส่วนธุรกิจไม่เพียงแค่ต้องทำความเข้าใจในเทคโนโลยีใหม่ๆ เหล่านี้ แต่จะต้องเตรียมตัวรับมือกับผลกระทบครั้งใหญ่นี้ให้พร้อมก่อนที่จะสายเกินแก้ รูปที่ 1 พลังงานแสงอาทิตย์ คือ พลังงานแห่งอนาคต ที่มา: https://www.thaisolarenergy.com/index.php/solar-farm-thailand/ หนึ่งในเทคโนโลยีใหม่ที่จะเข้ามามีบทบาทต่อชีวิตประจำวันของทุกคนอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ คือ เทคโนโลยีการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียน หรือ renewable energy นั่นเอง สำหรับ renewable energy นั้นถือเป็นแหล่งพลังงานที่ยั่งยืน เพราะได้มาจากแหล่งพลังงานที่มีปริมาณไม่จำกัด เช่น แสงอาทิตย์ แม่น้ำ ลม […]
พิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือด้านการพัฒนาหลักสูตรและกิจกรรมด้านการอนุรักษ์พลังงานและพลังงานทดแทน สำหรับสถาบันอุดมศึกษา ระหว่าง กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน กับ สถาบันอุดมศึกษา
เมื่อวันจันทร์ที่ 24 กรกฎาคม 2566 ดร.ประเสริฐ สินสุขประเสริฐ อธิบดีกรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน (พพ.) ลงนามความร่วมมือการพัฒนาหลักสูตรและกิจกรรมด้านการอนุรักษ์พลังงานและพลังงานทดแทนสำหรับสถาบันอุดมศึกษา ระหว่าง กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษพลังงาน กับ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ มหาวิทยาลัยนเรศวร และ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ ณ อาคาร 2 กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน การลงนามร่วมกันระหว่าง พพ. และสถาบันอุดมศึกษา 3 แห่ง ในครั้งนี้ เพื่อพัฒนาบุคลากรในระดับอุดมศึกษาที่จะเข้าสู่ตลาดแรงงานในอนาคต ให้มีความพร้อมในการดำเนินการด้านการอนุรักษ์พลังงานและการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพและยั่งยืน ช่วยลดต้นทุนการใช้พลังงานของสถานประกอบการ และลดการใช้พลังงานของประเทศในอนาคต ซึ่งถือว่าเป็นมาตรการสำคัญในการช่วยสนับสนุนนโยบายและเป้าหมายของประเทศในการลดความเข้มข้นด้านพลังงานตามแผนอนุรักษ์พลังงานของประเทศ Views: 943
การเงินสำหรับธุรกิจสีเขียวเพื่อความยั่งยืน (Green and Sustainable Finance)
ปัจจุบันสิ่งแวดล้อมถือเป็นประเด็นสำคัญที่กำลังส่งผลกระทบทั้งต่อสุขภาพประชาชน และระบบเศรษฐกิจทั่วโลก หลายประเทศให้ความใส่ใจต่อการเปลี่ยนแปลงทางสภาพภูมิอากาศ (Climate Change) ที่มีความรุนแรงมากขึ้น จึงออกนโยบาย และแผนดำเนินการเพื่อมุ่งสู่เป้าหมาย ‘การลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์’ (Net Zero Emission) ขณะที่ผู้บริโภค และธุรกิจก็หันมาใช้สินค้า และบริการที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมเพิ่มขึ้น สถาบันการเงินต่างๆ ถือว่ามีบทบาทสำคัญในเรื่องการเปลี่ยนผ่าน (Net Zero Transition) โดยได้ปรับตัวรองรับเทรนด์นี้โดยออกผลิตภัณฑ์ทางการเงินสีเขียวที่ยั่งยืน (Green and Sustainable Finance) ในรูปแบบต่างๆ เช่น สินเชื่อสีเขียว (Green Loan) ตราสารหนี้สีเขียว (Green Bond) เพื่อสร้างแรงจูงใจให้กับภาคธุรกิจ และอุตสาหกรรมในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก (Green House Gas: GHG) และเพื่อเปลี่ยนผ่านสู่ ‘เศรษฐกิจสีเขียว’ ที่ดีต่อสิ่งแวดล้อมให้เร็วขึ้น เพื่อการบรรลุเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน (Sustainable Development) และเป้าหมายด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศอย่างเป็นรูปธรรม องค์กร UN Environment Programme (UNEP) ได้กำหนด 5 แนวทางเพื่อใช้เป็นหลักการในการใช้เครื่องมือทางการเงินเพื่อสนับสนุนการพัฒนาด้านสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน ซึ่งประกอบด้วย […]
7 วิธี รีไซเคิลคาร์บอนไดออกไซด์ นำกลับมาใช้ประโยชน์ใหม่
ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (Carbon dioxide) หรือ CO2 ปัจจัยสำคัญที่ก่อให้เกิดภาวะเรือนกระจกและปัญหาโลกร้อน ถูกปลดปล่อยออกมาจากกิจกรรมการผลิตสินค้าต่างๆ ที่ใช้อยู่ในชีวิตประจำวัน ไม่ว่าจะเป็นถ้วยกาแฟที่เราดื่ม รองเท้าที่เราใส่ รถยนต์ที่เราขับ รวมถึงบ้านที่อยู่อาศัย แต่นับเป็นเรื่องดีที่เทคโนโลยีสมัยใหม่สามารถดักจับ CO2 มารีไซเคิลได้หลากหลายวิธี และนำกลับมาใช้ให้เกิดประโยชน์ได้อีกด้วย การดักจับและกักเก็บคาร์บอน หรือ CCS เป็นเทคโนโลยีสำคัญที่จะช่วยลดการปล่อย CO2 จากอุตสาหกรรมที่ขจัดก๊าซคาร์บอนฯ ได้ยาก โดยเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มีศักยภาพเพียงพอที่จะกักเก็บ CO2 ได้ถึง 300,000 ล้านตัน* แต่บางเทคโนโลยีซึ่งกำลังอยู่ในขั้นแรกของการพัฒนา ได้ก้าวไปถึงขั้นการนำ CO2 กลับมาใช้ใหม่ ซึ่งจะเกิดประโยชน์มากกว่าการกักเก็บเอาไว้เฉยๆ โดย CO2 ทั่วโลกราว 230 ล้านตัน** จะถูกนำกลับมาใช้ทุกปีในรูปแบบต่างๆ ถึง 7 วิธี ดังนี้ 1. ด้านอาหารและเครื่องดื่ม สามารถใช้ CO2 เพื่อขจัดคาเฟอีนออกโดยไม่ส่งผลกระทบต่อรสชาติของกาแฟ ซึ่ง CO2 ที่ดักจับมาได้ อาจใช้เติมฟองในเครื่องดื่มอย่างโซดาและเบียร์ และอาจใช้ช่วยป้องกันไม่ให้ไวน์เสีย หรือเพื่อรักษาความสดของอาหารสำเร็จรูปบรรจุห่อได้ด้วย 2. ด้านเสื้อผ้าและเครื่องประดับ […]
พพ. จัดสอบหลักสูตรผู้รับผิดชอบด้านพลังงานสามัญโรงงาน (ผชร.) สำหรับผู้ผ่านการอบรมออนไลน์ (E-Learning) ครั้งที่ 2/2566
เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 8 มิถุนายน 2566 ทางกรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน (พพ.) โดย กองพัฒนาทรัพยากรบุคคลด้านพลังงาน (กพบ.) ได้ทำการจัดสอบหลักสูตรผู้รับผิดชอบด้านพลังงานสามัญโรงงาน สำหรับผู้ผ่านการอบรมออนไลน์ (E-Learning) ครั้งที่ 2/2566 ณ อาคารอนุรักษ์พลังงานเฉลิมพระเกียรติ ต.คลองห้า อ.คลองหลวง จ.ปทุมธานี โดยมีผู้ลงทะเบียนเข้าสอบในหลักสูตรนี้ จำนวน 354 ท่าน เมื่อสอบผ่านสามารถแต่งตั้งเป็นผู้รับผิดชอบด้านพลังงานประจำโรงงานควบคุมนั้นๆได้ และในการสอบครั้งนี้ ทาง พพ. ได้ขอความร่วมมือผู้เข้าสอบทุกท่านให้สวมหน้ากากอนามัยตลอดระยะเวลาในการสอบ ซึ่งได้รับความร่วมมือเป็นอย่างดีจากผู้เข้าสอบทุกท่าน Views: 1,739
พพ. จัดสอบหลักสูตรผู้รับผิดชอบด้านพลังงานสามัญโรงงาน (ผชร.) สำหรับผู้ผ่านการอบรมออนไลน์ (E-Learning) ครั้งที่ 1/2566
เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 9 กุมภาพันธ์ 2566 ทางกรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน (พพ.) โดย กองพัฒนาทรัพยากรบุคคลด้านพลังงาน (กพบ.) ได้ทำการจัดสอบหลักสูตรผู้รับผิดชอบด้านพลังงานสามัญโรงงาน สำหรับผู้ผ่านการอบรมออนไลน์ (E-Learning) ครั้งที่ 1/2566 ณ อาคารอนุรักษ์พลังงานเฉลิมพระเกียรติ ต.คลองห้า อ.คลองหลวง จ.ปทุมธานี โดยมีผู้เข้าสอบในหลักสูตรนี้ประมาณ 200 ท่าน เมื่อสอบผ่านสามารถแต่งตั้งเป็นผู้รับผิดชอบด้านพลังงานประจำโรงงานควบคุมนั้นๆได้ และในการสอบครั้งนี้ ทาง พพ. ได้ขอความร่วมมือผู้เข้าสอบทุกท่านให้สวมหน้ากากอนามัยตลอดระยะเวลาในการสอบ ซึ่งได้รับความร่วมมือเป็นอย่างดีจากผู้เข้าสอบทุกท่าน Views: 1,016
พลังงานความร้อนใต้พิภพ การนำเอาพลังงานความร้อนมาใช้
พลังงานความร้อนใต้พิภพ หรือมีชื่อเรียกอีก ชื่อคือ พลังงานอุณหธรณี เป็นการที่เราเจาะนำพลังงานความร้อนที่อยู่ในใต้ดิน ซึ่งเราต้องเจาะให้ถึงแกนกลางของโลกที่มีอุณหภูมิสูงถึง 5,000 องศาเซลเซียส ซึ่งทำให้น้ำที่ถูกเก็บไว้ในโพรงของชั้นหิน จนกลายเป็นไอน้ำดันขึ้นมาสูงพื้นดินลอยขึ้นมาสูงชั้นบรรยากาศ แล้วจะทำให้กลายเป็นเมฆ แล้วก็ตกลงมาเป็นฝน จึงได้เกิดเป็นพลังงานหมุนเวียน นิยมใช้ในการผลิตกระแสไฟฟ้า ตอนนี้มี 24 ประเทศที่ผลิตไฟฟ้าด้วยพลังงานความร้อนใต้พิภพ แหล่งพลังงานความร้อนใต้พิภพที่พบในโลกแบ่งเป็นลักษณะใหญ่ ๆ ได้ 3 ลักษณะ คือ แหล่งที่เป็นไอน้ำส่วนใหญ่ (Steam Dominated) เป็นแหล่งกักเก็บความร้อนที่ประกอบด้วยไอน้ำมากกว่า 95% โดยทั่วไปมักจะเป็นแหล่งที่ใกล้กับหินหลอมเหลวร้อนที่อยู่ตื้น ๆ อุณหภูมิของไอน้ำร้อนจะสูงกว่า 240 องศาเซลเซียสขึ้นไป แหล่งที่เป็นไอน้ำส่วนใหญ่นี้จะพบน้อยมากในโลกเรา แต่สามารถนำมาใช้ผลิตกระแสไฟฟ้าได้มากที่สุด เช่น The Geyser Field ในมลรัฐแคลิฟอร์เนีย ประเทศสหรัฐอเมริกา และ Larderello ในประเทศอิตาลี เป็นต้น แหล่งที่เป็นน้ำร้อนส่วนใหญ่ (Hot Water Dominated) เป็นแหล่งกักเก็บสะสมความร้อนที่ประกอบไปด้วย น้ำร้อนเป็นส่วนใหญ่ อุณหภูมิน้ำร้อนจะมีตั้งแต่ 100 องศาเซลเซียสขึ้นไป ระบบนี้จะพบมากที่สุดในโลก เช่นที่ Cerro Prieto ในประเทศเม็กซิโก และ Hatchobaru ในประเทศญี่ปุ่น เป็นต้น แหล่งหินร้อนแห้ง (Hot Dry Rock) เป็นแหล่งสะสมความร้อนที่เป็นหินเนื้อแน่นแต่ไม่มีน้ำร้อนหรือไอน้ำไหลหมุนเวียนอยู่ ดังนั้น ถ้าจะนำมาใช้จำเป็นต้องอัดน้ำเย็นลงไปทางหลุมเจาะให้น้ำได้รับความร้อนจากหินร้อนโดยไหลหมุนเวียนภายในรอยแตกที่กระทำขึ้นจากนั้นก็ทำการสูบน้ำร้อนนี้ขึ้นมาทางหลุมเจาะอีกหลุมหนึ่ง ซึ่งเจาะลงไปให้ตัดกับรอยแตกดังกล่าว […]
พิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ “การจัดฝึกอบรมหลักสูตรผู้รับผิดชอบด้านพลังงาน” ระหว่าง พพ. กับ หน่วยงานและสถาบันอุดมศึกษา
เมื่อวันศุกร์ที่ 28 เมษายน 2566 ดร.ประเสริฐ สินสุขประเสริฐ อธิบดีกรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน (พพ.) เป็นประธานในพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือระหว่าง พพ. กับ หน่วยงานและสถาบันอุดมศึกษาในการจัดฝึกอบรมหลักสูตรผู้รับผิดชอบด้านพลังงาน โดยมีนางมัณลิกา สมพลานนท์ ผู้อำนวยการกองพัฒนาทรัพยากรบุคคลด้านพลังงาน (กพบ.) กล่าวรายงานและวัตถุประสงค์ของความร่วมมือในครั้งนี้ เป็นการจัดฝึกอบรมหลักสูตรผู้รับผิดชอบด้านพลังงานในรูปแบบออนไซต์ (on-site training) ให้กับบุคลากรของโรงงานควบคุมและอาคารควบคุม โดยหน่วยงานและสถาบันอุดมศึกษา จำนวน 4 แห่ง ประกอบด้วย สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี มหาวิทยาลัยรามคำแหง และมูลนิธิอนุรักษ์พลังงานแห่งประเทศไทย ณ อาคารอนุรักษ์พลังงานเฉลิมพระเกียรติฯ อำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี ซึ่งการจัดฝึกอบรมหลักสูตรผู้รับผิดชอบด้านพลังงานดังกล่าว จะช่วยส่งเสริมให้โรงงานควบคุมและอาคารควบคุม จัดทำระบบการจัดการพลังงานตามกฎหมายเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ รายละเอียดการจัดอบรมหลักสูตรผู้รับผิดชอบด้านพลังงาน Views: 1,283