บทความอนุรักษ์พลังงาน

พิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ “การพัฒนาหลักสูตรและกิจกรรมด้านการอนุรักษ์พลังงานและพลังงานทดแทน” ระหว่าง พพ. กับ หน่วยงานและสถาบันอุดมศึกษา

เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 24 กุมภาพันธ์ 2565 กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน (พพ.) โดย ดร.ประเสริฐ สินสุขประเสริฐ อธิบดีกรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน ประธานในพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ “การพัฒนาหลักสูตรและกิจกรรมด้านการอนุรักษ์พลังงานและพลังงานทดแทน” ระหว่าง พพ. กับ หน่วยงานและสถาบันอุดมศึกษา จำนวน 6 แห่ง ได้แก่ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี มหาวิทยาลัยรามคำแหง และมูลนิธิอนุรักษ์พลังงานแห่งประเทศไทย ณ อาคารอนุรักษ์พลังงานเฉลิมพระเกียรติ อ.คลองหลวง จ.ปทุมธานี Views: 466

การงดออกบัตรประจำตัวผู้รับผิดชอบด้านพลังงาน

กพบ. ของดให้บริการออกบัตรประจำตัวผู้รับผิดชอบด้านพลังงานและต่ออายุ สำหรับบุคลากรด้านพลังงานที่ปฏิบัติหน้าที่เป็นผู้รับผิดชอบด้านพลังงานในโรงงานควบคุมและอาคารควบคุม ทั้งในระดับสามัญและอาวุโส ทั้งนี้ บุคลากรที่ปฏิบัติหน้าที่เป็นผู้รับผิดชอบด้านพลังงาน สามารถปฏิบัติหน้าที่ตามกฎหมายกำหนดได้ตามปกติ โดยไม่ได้รับผลกระทบจากการงดให้บริการออกบัตรประจำตัวผู้รับผิดชอบด้านพลังงาน และการต่ออายุแต่อย่างใด โดยในขณะนี้ พพ. อยู่ในระหว่างการปรับปรุงรายละเอียดของกฎระเบียบ หรือข้อกฎหมายต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องเรื่องบัตรประจำตัวผู้รับผิดชอบด้านพลังงาน หากแล้วเสร็จ พพ. จะให้บริการออกบัตรประจำตัวผู้รับผิดชอบด้านพลังงานต่อไป จึงขออภัยมา ณ ที่นี้ Views: 2,330

การอนุรักษ์พลังงาน

พลังงาน คือ ความสามารถที่จะทำงานได้โดยอาศัยแรงงานที่มีอยู่แล้วตามธรรมชาติโดยตรง และที่มนุษย์ใช้ความรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีดัดแปลงมาจากพลังงานตามธรรมชาติ พลังงานเป็นสิ่งจำเป็นของมนุษย์ในโลกปัจจุบัน และทวีความสำคัญขึ้นเมื่อโลกยิ่งพัฒนามากยิ่งขึ้น การผลิตพลังงานค่อย ๆ เปลี่ยนไปเป็นการผลิตพลังงานที่ต้องอาศัยเทคโนโลยีในการผลิตมากยิ่งขึ้น แหล่งพลังงานมีหลากหลายทั้งพลังงานที่ได้จากการผลิตโดยมนุษย์ และพลังที่ได้จากธรรมชาติ สามารถแบ่งแหล่งพลังงานที่มนุษย์นำมาใช้ประโยชน์ได้ เป็น พลังงานจากซากฟอสซิล มวลชีวภาพ พลังงานน้ำ พลังงานลม พลังงานความร้อนใต้พิภพ พลังงานแสงอาทิตย์ พลังงานไฟฟ้าและพลังงานนิวเคลียร์ การใช้พลังงานต้องคำนึงถึงการประโยชน์ที่ได้รับ และผู้ใช้ต้องเห็นความสำคัญของพลังงานซึ่งในปัจจุบันเรากำลังเผชิญกับปัญหาราคาพลังงานที่เพิ่มสูงขึ้น การใช้พลังงานต้องรู้คุณค่า และมีประสิทธิภาพ จะต้องมีการวางแผน และควบคุมการใช้อย่างเต็มประสิทธิภาพและเกิดประโยชน์สูงสุดมีการลดการสูญเสียพลังงานทุกขั้นตอน มีการตรวจสอบและดูแลการใช้เครื่องใช้ไฟฟ้าตลอดเวลา เพื่อลดการรั่วไหลของพลังงาน หรือที่เรียกว่า การอนุรักษ์พลังงาน แนวทางในการอนุรักษ์พลังงานหรือการใช้พลังงานเชิงอนุรักษ์ การใช้พลังงานทดแทนโดยเฉพาะพลังงานที่ได้จากธรรมชาติ เช่น พลังงานแสงอาทิตย์ พลังงานลม พลังงานน้ำ และอื่น ๆ การเลือกใช้เครื่องมือและอุปกรณ์ที่มีประสิทธิภาพสูง เช่น เครื่องใช้ไฟฟ้าเบอร์ 5 หลอดผอมประหยัดไฟ เป็นต้น การเพิ่มประสิทธิภาพเชื้อเพลิง เช่น การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างทำให้เชื้อเพลิงให้พลังงานได้มากขึ้น การหมุนเวียนกลับมาใช้ใหม่ โดยการนำวัสดุที่ชำรุดนำมาซ่อมใช้ใหม่ การลดการทิ้งขยะที่ไม่จำเป็นหรือการหมุนเวียนกลับมาผลิตใหม่ (Recycle) Views: 2,889

แผนพลังงานชาติกับนโยบายเพื่อการพัฒนาด้านพลังงานของประเทศไทยในอนาคต

หลายคนคงอาจจะเคยได้ยินคำว่า “แผนพลังงานชาติ” จากสื่อต่าง ๆ มาบ้าง แต่น้อยคนนักที่จะเข้าใจว่า..คืออะไร? และมีความสำคัญต่อประเทศไทยของเราอย่างไร ลองมาหาคำตอบ… และทำความรู้จักกับแผนพลังงานแห่งชาติกันเลย… พลังงาน เป็นหนึ่งในปัจจัยพื้นฐานที่สำคัญ ในการขับเคลื่อน เศรษฐกิจ สังคม และการพัฒนาประเทศ แล้วเราจะต้องพัฒนาภาคพลังงานไปในทิศทางไหน? พัฒนาอย่างไรให้เกิดประโยชน์สูงสุดกับประเทศ? กระทรวงพลังงาน จึงได้จัดทำ “แผนพลังงานชาติ” หรือ National Energy Plan ขึ้นเพื่อเป็นกรอบแนวทาง ดำเนินนโยบายเพื่อการพัฒนาด้านพลังงานของประเทศไทยในอนาคต โดยในการจัดทำแผนพลังงานชาติครั้งใหม่นี้ จะเป็นการนำแผนพลังงานชาติ ทั้ง 5 แผน ที่มีอยู่ซึ่งประกอบด้วย แผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้าของประเทศ แผนพัฒนาพลังงานทดแทนและพลังงานทางเลือก แผนอนุรักษ์พลังงาน แผนบริหารจัดการก๊าซธรรมชาติ และแผนบริหารจัดการน้ำมันเชื้อเพลิง มาบูรณาการและรวมกันไว้ภายใต้แผนเดียว กระทรวงพลังงาน โดยสำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน หรือ สนพ. อยู่ระหว่างการจัดทำรายละเอียดแผนพลังงานชาติ ที่สอดคล้องกับแนวทางการมุ่งสู่เป้าหมาย “ลดการปลดปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์สุทธิเป็นศูนย์ (Carbon Neutrality) ภายในปี ค.ศ. 2065 – 2070” ซึ่งจะมีผลต่อทิศทางการพัฒนาพลังงานที่สำคัญประกอบด้วย ด้านไฟฟ้า เน้นการเพิ่มสัดส่วนพลังงานทดแทนและพลังงานสะอาดจากโรงไฟฟ้าใหม่ […]

นวัตกรรมพลังงานกับการสร้างเมืองสีเขียว

ปัจจุบันกระแสของโลกจับจ้องอย่างแข็งขันในเรื่องสิ่งแวดล้อม เริ่มจากการลงนามสนธิสัญญา COP21 (21th Conference of Parties) ในปี ค.ศ. 2015 ที่กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส ซึ่งสมาชิกจะร่วมกันลดก๊าซเรือนกระจกลงจากเดิม 20% ในปี ค.ศ. 2030 จนถึงการประกาศของสหประชาชาติ ที่ตั้งเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน หรือที่เรียกว่า Sustainable Development Goals หรือ SDGs ซึ่งเชื่อมโยงมิติทางด้านเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม เข้าด้วยกัน จำนวน 17 ด้าน โดยมีกำหนดระยะเวลา 15 ปี จนถึงปี ค.ศ. 2030 เช่นกัน ผังเมือง Fujisawa SST จากทิศทางดังกล่าว เมื่อประกอบร่วมกับการเติบโตอย่างมากของประชากรเมือง (Urbanization) ทำให้หลายๆ ประเทศริเริ่มโครงการพัฒนาเมืองอัจฉริยะ (Smart City) หรือเมืองยั่งยืน (Sustainable City) ขึ้น ในบทความนี้จะยกตัวอย่างการสร้างเมืองของประเทศญี่ปุ่น ภายหลังจากเกิดพิบัติภัยครั้งใหญ่ในปี […]

“ตามรอยเท้าพ่อ” โรงไฟฟ้าพลังน้ำแม่กำปอง

“ตามรอยเท้าพ่อ” โรงไฟฟ้าพลังน้ำแม่กำปอง…แสงสว่างกลางป่าใหญ่ ด้วยน้ำพระทัย ที่ทรงห่วงใยราษฎร หมู่บ้านร้อยปี “บ้านแม่กำปอง” ตั้งอยู่ในกิ่งอำเภอแม่ออน จังหวัดเชียงใหม่ ได้รับการยอมรับว่าเป็นแหล่งโอโซนอันดับท๊อปๆ ของประเทศ จนกลายเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่ได้รับความนิยมทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติ ถึงแม้ “บ้านแม่กำปอง” จะอยู่กลางหุบเขา ห่างไกลจากตัวเมือง แต่ชาวบ้านที่นี่ ก็แทบจะไม่มีปัญหาเรื่องไฟดับ ไฟฟ้าไม่พอใช้เลย นับตั้งแต่วันที่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช เสด็จพระราชดำเนินเยี่ยมราษฏรแถบนี้ ในปี พ.ศ.2522 พระองค์ทรงเห็นว่า ชาวบ้านไม่มีไฟฟ้าใช้ในการดำรงชีวิตและการประกอบอาชีพ ยิ่งในช่วงกลางคืน ยังต้องอาศัยตะเกียงก๊าดให้แสงสว่างอยู่ ด้วยเหตุนี้ ชาวบ้านจึงได้ทูลขอพระราชทานไฟฟ้าจากพระองค์ท่าน และนั่นกลายมาเป็นจุดเริ่มต้นแห่งแสงสว่างกลางป่ากว้าง แม้จะเป็นเพียงแสงอันน้อยนิด แต่จุดประกายให้เกิดโครงการพัฒนาพลังน้ำหมู่บ้านชนบท จังหวัดเชียงใหม่ กรมพัฒนาพลังงานและพลังงานทดแทน (พพ.) กระทรวงพลังงาน ได้สนับสนุนงบประมาณ ร่วมกับเงินช่วยเหลือขององค์การสหประชาชาติ ในการจัดซื้อเครื่องกำเนิดไฟ และวัสดุอุปกรณ์ก่อสร้าง ก่อตั้งโรงไฟฟ้าพลังน้ำหมู่บ้านแม่กำปองขึ้น โดยให้ชาวบ้านร่วมแรงร่วมใจและหาวัสดุในท้องถิ่นมาร่วมกันก่อสร้างตั้งแต่ฝายกั้นน้ำ ต่อท่อส่งน้ำเข้าเครื่องปั่นไฟ โดยตีมูลค่าแรงงานและวัสดุที่ชาวบ้านนำมามีส่วนร่วมให้เป็นหุ้นในสหกรณ์เพื่อจะบริหารจัดการดำเนินงานและการจำหน่ายไฟฟ้าต่อไป มีการเดินสายไฟ ตั้งเสาไฟฟ้า และต่อเข้ามิเตอร์ของแต่ละหลังคา เริ่มแรกมุ่งให้ชุมชนมีแสงสว่างใช้ในยามค่ำคืน จึงติดตั้งเครื่องกำเนิดไฟฟ้าเพียงขนาด 20 กิโลวัตต์ หลังจากที่การก่อสร้างแล้วเสร็จ ชาวบ้านจึงมีไฟฟ้าใช้ ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2526 […]

1 3 4 5 6