ข่าวสาร-บทความ

พลังงานนิวเคลียร์คืออะไร ? และ สถานการณ์พลังงานนิวเคลียร์ในประเทศไทย

พลังงานนิวเคลียร์เป็นพลังงานรูปหนึ่งที่นักวิทยาศาสตร์ชาวฝรั่งเศสชื่อ อังรีเบกเคอเรล ได้ค้นพบโดยบังเอิญ เมื่อ พ.ศ. 2439 แต่คนทั่วไปเริ่มรู้จักพลังงานนิวเคลียร์หลังจากที่มีการทิ้งระเบิดปรมาณูที่เมืองฮิโรชิมา และนางาซากิ ประเทศญี่ปุ่น เมื่อ พ.ศ. 2488 ในช่วงปลายสงครามโลก ครั้งที่สอง มีผลทำให้สงครามโลกครั้งที่สองยุติ แต่ผลของระเบิดปรมาณูในครั้งนั้นได้ทำลายชีวิตมนุษย์ไปเป็นจำนวนมาก รวมทั้งอาคารบ้านเรือน และสิ่งก่อสร้างอื่น ๆ นอกจากนี้ กัมมันตภาพรังสี ที่เกิดขึ้นจากการระเบิดยังก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของสิ่งแวดล้อมและมีผลต่อผู้รอดชีวิตในระยะยาวอีกด้วย หลังจากที่มนุษย์ได้รู้ถึงอำนาจทำลายของระเบิดปรมาณูแล้ว จึงได้ค้นคว้าวิจัย เพื่อนำพลังงานนิวเคลียร์ มาใช้ประโยชน์ในทางสร้างสรรค์ จนในปัจจุบัน มีหลายประเทศ นำพลังงานนิวเคลียร์ไปใช้ ในการพัฒนาประเทศในด้านต่าง ๆ โดยเฉพาะทางด้านการแพทย์ เกษตร และอุตสาหกรรม จนปัจจุบันนิวเคลียร์ได้เข้าไป มีบทบาท ในชีวิตประจำวันมากขึ้นทุกที แต่ส่วนใหญ่อาจจะยังไม่รู้ สินค้าบางชนิด เช่น กระดาษ ปูนซีเมนต์ กระเบื้อง ยาสีฟัน อาจผลิตโดยใช้ เทคโนโลยีนิวเคลียร์ในการควบคุมคุณภาพ สำลี ผ้าก๊อซ พลาสเตอร์ปิดแผล เข็ม หลอดฉีดยา เหล่านี้เป็นเวชภัณฑ์ ที่ทำให้ปลอดเชื้อ โดยใช้รังสี ซึ่งเป็นรูปแบบหนึ่งของพลังงานนิวเคลียร์ พลังงานนิวเคลียร์คืออะไร ?                     ในบรรดาสิ่งต่าง ๆ […]

ราคาขายปลีกน้ำมันของไทย ถูก-แพง แค่ไหนในอาเซียน ?

ตั้งแต่ต้นปี 2567 ถึงปัจจุบัน ราคาขายปลีกน้ำมันสำเร็จรูปในประเทศไทยมีการปรับขึ้น-ลง เฉลี่ยราว 4 – 6 ครั้งต่อเดือน ตามกลไกราคาในตลาดโลก ซึ่งการเปลี่ยนแปลงของราคาในตลาดการค้าเสรีเช่นนี้ อาจทำให้ผู้ใช้น้ำมันรู้สึกว่าราคาน้ำมันมีการปรับขึ้นเรื่อย ๆ แต่ในความเป็นจริง หากเปรียบเทียบราคาขายปลีกน้ำมันในประเทศไทยกับประเทศอื่น ๆ ในอาเซียน จะเห็นได้ว่าราคาขายปลีกน้ำมันของไทยนั้นอยู่ระดับกลางๆ โดยมีทั้งแพงกว่าและถูกกว่าประเทศอื่นในภูมิภาค ด้วยปัจจัยหลัก คือ แหล่งทรัพยากรน้ำมันดิบของแต่ละประเทศและนโยบายของภาครัฐที่แตกต่างกัน เมื่อเปรียบเทียบราคาน้ำมันเบนซินของไทยกับ 10 ประเทศอาเซียน โดยข้อมูลของสำนักงานนโยบายและแผนพลังงงาน (สนพ.) ณ วันที่ 16 ก.ย. 2567 ประเทศที่มีราคาน้ำมันเบนซินแพงที่สุดเป็นอันดับ 1 ได้แก่ สิงคโปร์ ราคาอยู่ที่ 74.17 บาทต่อลิตร อันดับ 2 ได้แก่ เมียนมา ราคา 50.80 บาทต่อลิตร 3. สปป.ลาว ราคาอยู่ที่ 45.53 บาทต่อลิตร 4. กัมพูชา ที่ 37.71 บาทต่อลิตร […]

ประหยัดพลังงานทำได้ทุกวัน

แม้กรมอุตุนิยมวิทยาจะประกาศว่าประเทศไทยสิ้นสุดฤดูร้อนไปแล้วเมื่อวันที่ 20 พฤษภาคม 2567 ปัจจุบันเข้าสู่ฤดูฝน และหลายๆ บ้านน่าจะเห็นตัวเลขค่าไฟฟ้าที่ลดลงจากช่วงอากาศร้อนจัดเมื่อ 1-2 เดือนที่ผ่านมา แต่อย่าลืมว่า เราเป็นประเทศผู้นำเข้าพลังงานสุทธิ ไม่ว่าจะเป็นน้ำมันดิบที่นำเข้ามากลั่นเป็นน้ำมันสำเร็จรูป หรือ ก๊าซ LNG ที่นำเข้ามาเพื่อเป็นเชื้อเพลิงผลิตไฟฟ้า ดังนั้น จึงอยากจะขอย้ำเตือนไว้เสมอว่า ตราบใดที่เราใช้น้ำมันและไฟฟ้าอย่างประหยัด มีประสิทธิภาพ นอกจากจะช่วยประหยัดเงินในกระเป๋าของตัวเองแล้ว ยังเป็นการช่วยลดการขาดดุลการค้าให้กับประเทศ และช่วยรักษาเสถียรภาพทางเศรษฐกิจของประเทศในภาพรวมด้วย ที่สำคัญคือ การประหยัดพลังงานทำได้ทุกวัน โดยไม่จำเป็นต้องรอแคมเปญกระตุ้น หรือการรณรงค์จากหน่วยงานใดๆ การประหยัดน้ำมัน ทำได้ง่ายๆ คือการวางแผนการเดินทาง การหมั่นตรวจเช็คลมยาง หรือการเดินทางแบบคาร์พูล รถคันเดียว นั่งไปพร้อมกันได้หลายคน ส่วนการประหยัดไฟฟ้า  สูตรสำเร็จ 5 ป. คือ ปิด ปรับ ปลด เปลี่ยน ปลูก ก็ยังใช้ได้ผล ได้แก่ 1. ปิดไฟดวงที่ไม่จำเป็น : ปิดไฟดวงที่ไม่ใช้งาน แม้จะเป็นแค่ช่วงเวลาสั้นๆ ก็ช่วยประหยัดไฟได้มาก 2. ปรับอุณหภูมิเครื่องปรับอากาศให้อยู่ที่ 26 องศา: […]

โซลูชั่นพลังงานสะอาด สู่บ้านพลังงานทดแทน

โซลูชั่นพลังงานสะอาด สู่บ้านพลังงานทดแทน ทุกวันนี้ภาวะโลกร้อนกำลังก่อให้เกิดอันตรายต่อผู้คนและระบบนิเวศอย่างหนัก  เราเห็นธารน้ำแข็งจากขั้วโลกกำลังละลาย  ปะการังตายจากอุณหภูมิที่สูงขึ้น   คลื่นความร้อนโจมตีประเทศเมืองหนาว ทำอย่างไรที่เราจะรักษาสมดุลและลดการแปรปรวนของสภาพอากาศได้  แนวคิดเรื่องการใช้พลังงานสะอาดจึงเป็นเรื่องที่ทั่วโลกให้ความสนใจ  เพราะเป็นพลังงานทดแทนที่ปลอดภัย  เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม  ผลิตได้จากธรรมชาติทั้งแสงอาทิตย์,  ลม,  น้ำ  และชีวมวล  เป็นต้น  พลังงานเหล่านี้สามารถใช้ได้ไม่มีวันหมด  แก้ปัญหามลภาวะ  ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก  ทำให้วงการออกแบบบ้านและอุตสาหกรรมก่อสร้างนำแนวคิดนี้มาทำ  “บ้านพลังงานทดแทน”  ที่ผลิตพลังงานใช้ได้เองพร้อมฟังก์ชั่นล้ำๆ ช่วยลดการปล่อยของเสียจากตัวบ้านออกสู่ชุมชนและสิ่งแวดล้อมได้เป็นอย่างดี หัวใจของบ้านพลังงานทดแทน รักษ์สิ่งแวดล้อม   ทุกขั้นตอนในการก่อสร้าง เริ่มตั้งแต่กระบวนการออกแบบบ้าน  จนถึงการเตรียมพื้นที่  การเลือกใช้วัสดุ  ที่ขั้นตอนการผลิตรวมถึงการขนส่งจะมีค่าการปล่อยก๊าซเรือนกระจกน้อยที่สุด ตลอดจนการตกแต่งภายในก็เน้นที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ลดการใช้พลังงาน  บ้านจะพึ่งพิงธรรมชาติเป็นหลัก  ใช้พลังงานน้อยที่สุดและมีประสิทธิภาพมากกว่าเดิม  มีฟังก์ชั่นนำพลังงานจากธรรมชาติมาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด  เช่น  การติดแผงโซล่าร์เซลล์บนหลังคาบ้านเพื่อผลิตไฟฟ้าใช้, การติดตั้งที่เก็บน้ำฝนเพื่อการอุปโภคบริโภค  เป็นต้น หมุนเวียน  นำของเสียในบ้านกลับมาใช้ให้เกิดประโยชน์  เช่น   มีระบบบำบัดน้ำเสียแล้วนำกลับมาใช้ในชักโครกหรือรดน้ำต้นไม้,   นำเศษอาหารที่เหลือมาหมักเป็นปุ๋ยเอาไปใส่ต้นไม้หรือพืชผักสวนครัว,  มีเครื่องหมักของเสียจากขยะให้เป็นก๊าซชีวมวล (Biogas) แล้วนำมาใช้เป็นเชื้อเพลิงหุงต้มในบ้าน  เป็นต้น หน้าตาของบ้านพลังงานทดแทนเป็นอย่างไร ลองมาดูบ้านที่ได้รับการยอมรับจากทั่วโลกว่าเป็นต้นแบบที่มีดีไซน์ล้ำสมัย  มีเอกลักษณ์โดดเด่น  สามารถอาศัยอยู่ได้จริง พร้อมฟังก์ชันที่สร้างพลังงานทดแทนกันThe Slip House ออกแบบโดย […]

พลังงานทดแทน และการเปลี่ยนผ่านสู่ความยั่งยืนทางพลังงาน

พลังงานทดแทน เมื่อมนุษย์มีความต้องการพลังงานไม่สิ้นสุด โลกของเราขับเคลื่อนด้วยพลังงานรูปแบบต่าง ๆ มานานนับศตวรรษ เพื่อตอบสนองความต้องการขั้นพื้นฐานของมนุษย์ เช่น การให้ความร้อน ความเย็น แสงสว่าง และเพื่อให้พลังงานกับเครื่องใช้ต่าง ๆ ที่วิวัฒนาการขึ้นมาเป็นลำดับ กระทั่งปัจจุบัน ด้วยความก้าวหน้าของภาคอุตสาหกรรมและเทคโนโลยี ทำให้ความต้องการพลังงานทะยานสูงขึ้นอย่างไม่หยุดยั้ง เพื่อตอบสนองความต้องการของทุกชีวิตบนโลก สังเขปวิวัฒนาการพลังงานของมนุษยชาติ นับตั้งแต่มวลมนุษยชาติถือกำเนิดขึ้นบนโลก เป็นช่วงเริ่มต้นของการนำพลังงานมาใช้ในหลากหลายรูปแบบ จากเดิมที่สิ่งมีชีวิตพึ่งพาเพียงพลังงานแสงอาทิตย์และอาหารตามธรรมชาติ มนุษย์เรียนรู้ที่จะนำกิ่งไม้มาเสียดสีจนเกิดความร้อนเพื่อหุงหาอาหาร การใช้พลังงานจากกังหันน้ำ รวมทั้งการแล่นเรือสำเภาข้ามมหาสมุทรได้ด้วยพลังงานลม หรือแม้แต่การล่าวาฬเพราะต้องการน้ำมันสำหรับใช้ในตะเกียงส่องสว่าง และการเริ่มใช้พลังงานจากถ่านหิน จุดเริ่มต้นของการใช้เชื้อเพลิงจากฟอสซิล ที่นำพามนุษย์เข้าสู่โลกของอุตสาหกรรม การค้นพบพลังงานจากของเหลวสีดำใต้พื้นพิภพ ถือเป็นจุดเปลี่ยนสำคัญของโลกพลังงานในยุคต่อมา น้ำมันดิบถูกนำมากลั่นเพื่อใช้แทนพลังงานทุกชนิดบนโลก จากน้ำมันดิบลิตรแรกที่มนุษย์นำมาใช้ สู่ปริมาณน้ำมันดับดิบกว่า 100 ล้านบาเรลต่อวันในปัจจุบัน และยังมีก๊าซธรรมชาติ พลังงานจากเชื้อเพลิงฟอสซิลอีกชนิดที่ถูกนำมาใช้ประโยชน์อีกทาง เหล่านี้ก็เพื่อขับเคลื่อนทั้งด้านอุตสาหกรรม คมนาคมขนส่ง การอุปโภคบริโภค รวมทั้งความเจริญของโลกในทุกด้าน เชื้อเพลิงจากฟอสซิลสามารถนำพามนุษย์ไปได้ไกลเกินคาด ขณะเดียวกัน มนุษย์ก็ลืมคาดคิดถึงผลกระทบการจากใช้พลังงานจากน้ำมันเช่นกัน พลังงานที่อยู่เบื้องหลังภาวะโลกร้อน ขณะที่มนุษยชาติกำลังกอบโกยประโยชน์จากเชื้อเพลิงฟอสซิล ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) ก็ถูกปล่อยออกสู่ชั้นบรรยากาศวันแล้ววันเล่า ก๊าซเหล่านี้เป็นโมเลกุลเล็ก ๆ ที่เกิดขึ้นทุกครั้งที่มีการเผาไหม้เชื้อเพลิงฟอสซิลให้กลายเป็นพลังงาน ปริมาณของมันแปรผันโดยตรงกับปริมาณการผลิตปิโตรเลียม และทวีความเข้มข้นขึ้น จาก […]

ค่าไฟหน้าร้อน ทำไมถึงแพงขึ้น ทั้งที่ยังตรึงค่า Ft ?

เคยสงสัยไหมว่า ทำไมบิลค่าไฟฟ้าครัวเรือนในหน้าร้อนถึงแพงขึ้น ทั้งที่ภาครัฐโดยสำนักงานคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (กกพ.) ยังตรึงอัตราค่าไฟฟ้าโดยอัตโนมัติ หรือค่า Ft ไว้ที่ 39.72 สตางค์ มาตั้งแต่ต้นปี ถึงเดือนสิงหาคม 2567 ทั้งนี้พบว่า สาเหตุมาจากเหตุผลหลัก 2 ปัจจัย ปัจจัยแรก คือ สภาพอากาศที่ร้อนจัด ทำให้ผู้ใช้ไฟฟ้าต้องเปิดเครื่องปรับอากาศ ถึงแม้จะเปิดในจำนวนชั่วโมงที่เท่ากัน แต่ด้วยอุณหภูมิที่แตกต่างกันระหว่างภายในบ้านกับภายนอกบ้านที่มากขึ้น ทำให้เครื่องปรับอากาศกินไฟมากขึ้นด้วย ข้อมูลจากการไฟฟ้านครหลวง (กฟน.) ระบุว่า อุณหภูมิภายในบ้านและนอกบ้านที่แตกต่างกัน 1 องศาเซลเซียส จะทำให้เครื่องปรับอากาศกินไฟมากขึ้น 3% ยกตัวอย่างเช่น หากตั้งอุณหภูมิเครื่องปรับอากาศในห้องไว้ที่ 26 องศาเซลเซียส จะพบว่าในหน้าร้อน เครื่องปรับอากาศจะทำงานหนักมากขึ้นกว่าเดิมมาก เพื่อปรับลดอุณหภูมิจาก 40 องศาเซลเซียส ให้ถึงอุณหภูมิ 26 องศาเซลเซียส ตามที่ตั้งค่าไว้ ซึ่งอุณหภูมิที่ต่างกันถึง 14 องศา จึงเป็นสาเหตุที่ทำให้หน่วยการใช้ไฟฟ้าเพิ่มมากขึ้น ส่งผลให้ค่าไฟฟ้าสูงขึ้นตามไปด้วย     ไม่นับรวมพฤติกรรมการใช้ไฟฟ้าเล็กๆ น้อยๆในช่วงฤดูร้อน ที่ดูเหมือนไม่มีอะไร แต่หากทำสะสมบ่อยๆ อาจส่งผลต่อการใช้หน่วยไฟฟ้าเพิ่มขึ้น […]

พิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือการจัดการฝึกอบรมหลักสูตรการตรวจประเมินในการออกแบบก่อสร้างหรือดัดแปลงอาคารเพื่อการอนุรักษ์พลังงาน

  พพ. จับมือ สจล. เดินหน้าขับเคลื่อนอาคารเพื่อการอนุรักษ์พลังงาน เร่งผลิตผู้ตรวจประเมินการออกแบบก่อสร้างหรือดัดแปลงอาคารเพื่อการอนุรักษ์พลังงาน คาดสามารถรองรับการขยายตัวของอาคารก่อสร้างใหม่ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ   เมื่อวันที่ 22 เมษายน 2567 นายวัฒนพงษ์ คุโรวาท อธิบดีกรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน (พพ.) และ รองศาสตราจารย์ คมสัน มาลีสี อธิการบดีสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง (สจล.) ได้ร่วมลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือการจัดการฝึกอบรมหลักสูตรการตรวจประเมินในการออกแบบก่อสร้างหรือดัดแปลงอาคารเพื่อการอนุรักษ์พลังงาน ณ อาคารอนุรักษ์พลังงานเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดปทุมธานี   โดยปัจจุบันเศรษฐกิจมีการขยายตัวทำให้มีการก่อสร้างอาคารใหม่ที่เพิ่มมากขึ้น จึงยังมีความต้องการผู้ตรวจประเมินการออกแบบก่อสร้างหรือดัดแปลงอาคารเพื่อการอนุรักษ์พลังงานอยู่ พพ.และ สจล. จึงได้ร่วมกันจัดฝึกอบรมหลักสูตรการตรวจประเมินในการออกแบบก่อสร้างหรือดัดแปลงอาคารเพื่อการอนุรักษ์พลังงาน   ตามประกาศกรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน เรื่อง การรับรองผู้ทำหน้าที่ผู้ตรวจประเมินในการออกแบบก่อสร้างหรือดัดแปลงอาคารเพื่อการอนุรักษ์พลังงาน พ.ศ. 2564 เมื่อวันที่ 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2564 โดยให้ภาคเอกชนมีส่วนร่วมในค่าใช้จ่ายเพื่อเป็นการประหยัดงบประมาณของภาครัฐ และเร่งผลิตบุคลากรผู้ตรวจและรับรองการออกแบบก่อสร้างหรือดัดแปลงอาคารเพื่อการอนุรักษ์พลังงานออกสู่ตลาดแรงงานให้เพียงพอ ซึ่งการจัดอบรมจะเป็นการนำหลักสูตรมาตรฐานที่ พพ. มีอยู่มาใช้ในการจัดฝึกอบรม ทั้งนี้ ผู้เข้ารับการฝึกอบรมที่ผ่านหลักสูตรนี้ สามารถมีสิทธิ์เข้ารับการทดสอบโดยใช้ข้อสอบมาตรฐานที่ พพ. กำหนด ซึ่งหากสอบผ่านจะได้รับวุฒิบัตรจาก […]

ไฮโดรเจน พลังงานทางเลือกใหม่ ขับเคลื่อนไทยสู่เป้าหมาย Carbon Neutrality

“ไฮโดรเจน” นับเป็นพลังงานทางเลือกที่ตอบโจทย์ในการลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ด้วยคุณสมบัติของการเป็นแหล่งพลังงานสะอาดที่ไม่มีสี ไม่มีกลิ่น เมื่อเผาไหม้ก็ไม่ทําให้เกิดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ทําให้ไฮโดรเจนได้รับการคาดหมายว่าจะเป็น “พลังงานแห่งอนาคต” ในขณะที่หลายประเทศทั่วโลก เช่น สหรัฐอเมริกา เยอรมนี อังกฤษ และญี่ปุ่น ได้มีการวิจัยและพัฒนาในเรื่องนี้อย่างต่อเนื่อง ส่วนในประเทศไทย เองก็ได้มีการใช้ประโยชน์จากเชื้อเพลิงไฮโดรเจนใน 3 ภาคส่วนหลัก ได้แก่ ภาคอุตสาหกรรม กลุ่มอุตสาหกรรมที่มีการใช้พลังงานความร้อนสูง เช่น อุตสาหกรรมเหล็กและเหล็กกล้า อะลูมิเนียม ซีเมนต์ เคมีภัณฑ์ การกลั่นนํ้ามัน ภาคการผลิตไฟฟ้า ใช้ไฮโดรเจนเป็นเชื้อเพลิงโดยตรง หรือนําไปผสมกับก๊าซธรรมชาติในการผลิตไฟฟ้าด้วยกังหันก๊าซไฮโดรเจน ผ่านกระบวนการเผาไหม้โดยตรง หรือผลิตพลังงานไฟฟ้าจากเทคโนโลยีเซลล์เชื้อเพลิง เช่น โรงไฟฟ้าลําตะคอง ภาคการขนส่ง ยังไม่แพร่หลายในเชิงพาณิชย์ ส่วนใหญ่เป็นโครงการวิจัยและสาธิต ไฮโดรเจนสามารถนํามาใช้ผลิตเชื้อเพลิงสังเคราะห์สําหรับเครื่องยนต์สันดาปภายใน หรือใช้ในรถยนต์ไฟฟ้าแบบเซลล์เชื้อเพลิง จากผลการศึกษาของสำนักงานนโยบายและแผนพลังงานจึงนำมาสู่แนวทางการพัฒนาและส่งเสริมการใช้ไฮโดรเจนของประเทศไทย เพื่อผลักดันให้บรรลุเป้าหมายและสอดคล้องกับยุทธศาสตร์ 4 ด้าน ซึ่งประกอบด้วย (1) พัฒนาตลาดและสร้างแรงจูงใจให้กับผู้ใช้ (2) ส่งเสริมการวิจัยและพัฒนาอุตสาหกรรม (3) พัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน และ (4) ปรับปรุงกฎระเบียบและมาตรฐาน ซึ่งการดําเนินการพัฒนาพลังงานไฮโดรเจนของไทยจะแบ่งออกเป็น 3 […]

1 2 3 6