อาคารฝึกอบรมปฏิบัติการด้านพลังงานทดแทน 2 (อาคารสาธิต 2)
เป็นส่วนหนึ่งของแผนการฝึกอบรมด้านพลังงานทดแทน จัดตั้งขึ้นเมื่อปีพ.ศ.2555-2556 มีจุดประสงค์เพื่อเพิ่มพูนความรู้ ความเข้าใจเรื่องพลังงานทดแทนในระบบฝึกปฏิบัติการผลิตน้ำร้อนพลังงานแสงอาทิตย์ ระบบผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ ระบบผลิตไฟฟ้าจากชีวมวล ด้วยกระบวนการแก๊สซิฟิเคชั่นทั้งในภาคทฤษฎีและปฏิบัติ โดยรายละเอียดประกอบด้วย
- งบประมาณการก่อสร้างอาคาร 7,120,000 บาท
- งบประมาณว่าจ้างที่ปรึกษาออกแบบและผลิตต้นแบบระบบอุปกรณ์ 16,000,000 บาท
ชุดฝึกปฏิบัติการอาคารสาธิต 2
__________
1.ระบบปฏิบัติการผลิตน้ำร้อนพลังงานแสงอาทิตย์
วัตถุประสงค์
- เพื่อเรียนรู้หลักการทำงานของระบบผลิตน้ำร้อนพลังงานแสงอาทิตย์
- เพื่อให้ทราบถึงประสิทธิภาพของระบบผลิตน้ำร้อนจากพลังงานแสงอาทิตย์
- เพื่อให้เข้าใจลักษณะการต่อแผงรับแสงอาทิตย์ทั้งแบบอนุกรมและขนาน มีผลต่อสมรรถนะในการผลิตน้ำร้อน
- เพื่อให้เข้าใจชนิดของแผงรับแสงอาทิตย์มีผลต่อสมรรถนะในการผลิตน้ำร้อน
อุปกรณ์หลักของระบบ ประกอบด้วย
- แผงรับรังสีอาทิตย์แบบแผ่นเรียบ (Flat Plate) จำนวน 12 แผง ขนาดรวม 24 ตารางเมตร
- ถังเก็บน้ำร้อนขนาด 2,500 ลิตร
- เครื่องสูบน้ำร้อนหมุนเวียน วาล์วป้องกันความดันเกิน วาล์วระบายอากาศ วาล์วและอุปกรณ์อื่น ๆ ที่จำเป็นต่อการทำงานของระบบฯ
- เครื่องมือวัดอุณหภูมิ อัตราไหล กำลังไฟฟ้าและความเข้มแสง
- ระบบควบคุม PLC และระบบแสดงผล
2.ระบบผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์
วัตถุประสงค์
- เพื่อเรียนรู้หลักการทำงานของระบบผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์
- เพื่อให้ทราบถึงประสิทธิภาพของแผงรับพลังงานแสงอาทิตย์
- เพื่อให้เข้าใจถึงการสูญเสียที่เกิดขึ้นจริงในระบบ
- เพื่อให้เข้าใจผลของความเข้มแสง มุมการติดตั้งแผง เงาบนแผงที่มีผลต่อ ความสามารถในการผลิตไฟฟ้าของแผงพลังงานแสงอาทิตย์
อุปกรณ์หลักของระบบ ประกอบด้วย
- แผงเซลล์แสงอาทิตย์ ชนิด Mono crytalline จำนวน 15 แผง กำลังไฟฟ้า ติดตั้ง 3.9 kW
- แผงเซลล์แสงอาทิตย์ ชนิด Poly crytalline จำนวน 15 แผง กำลังไฟฟ้า ติดตั้ง 3.6 kW
- แผงเซลล์แสงอาทิตย์ Amorphous จำนวน 20 แผง กำลังไฟฟ้าติดตั้ง 2.84 kW
- Charge Controller / Battery / Inverter
- เครื่องมือวัดอุณหภูมิ ความเข้มแสง กระแสและแรงดันไฟฟ้า
- ระบบประมวลผลและแสดงผล
3.ระบบผลิตไฟฟ้าจากชีวมวลด้วยกระบวนการแก๊สซิฟิเคชั่น
วัตถุประสงค์
- เพื่อเรียนรู้หลักการทำงานของเตาผลิตก๊าซชีวมวลและระบบผลิตไฟฟ้า ด้วยก๊าซชีวมวล
- เพื่อให้ทราบการคำนวณหาประสิทธิภาพของเตาผลิตก๊าซชีวมวลและ ประสิทธิภาพรวมของระบบผลิตไฟฟ้าด้วยก๊าซชีวมวล
- เพื่อให้เข้าใจการใช้งานและการปรับตั้งค่าตัวแปร สำหรับการเผาไหม้ของ หัวเผาได้
อุปกรณ์หลักของระบบ ประกอบด้วย
- ระบบผลิตก๊าซชีวมวล (Biomass Gasifier) แบบ Down Draft ชนิด Double Throat ขนาด 200 กิโลวัตต์ความร้อน (kWth)
- เครื่องยนต์ก๊าซชีวมวลและเครื่องกำเนิดไฟฟ้า (Gas Engine Generator) เป็นเครื่องยนต์ก๊าซชีวมวลมาตรฐานที่ถูกออกแบบระบบเชื้อเพลิงมาสำหรับ ก๊าซชีวมวลโดยเฉพาะ ขนาดกำลังการผลิตไม่น้อยกว่า 10 กิโลวัตต์
- เครื่องยนต์ก๊าซชีวมวลแบบใช้เชื้อเพลิงร่วม (Dual-Fuel Engine) ขนาดกำลังการผลิตไม่น้อยกว่า 20 กิโลวัตต์ จำนวน 1 ชุด
- ชุดสาธิตหัวเผา 5 ชนิด ประกอบด้วย หัวเผาที่ใช้ในครัวเรือน (Household Burner) หัวเผาอัตโนมัติ (Automatic Burner) หัวเผาแบบดึงอากาศมาผสม (Air Induced Burner) หัวเผาความดันต่ำ (Low Pressure Burner) ชุดหัวเผาที่สามารถใช้แก๊สจากกระบวนการ แก๊สซิฟิเคชั่นร่วมกับน้ำมันเชื้อเพลิงอื่น (Dual Fuel Burner)
Views: 2,075