dhrddede@gmail.com

ขอเชิญร่วมงานสัมมนาเครือข่ายอนุรักษ์พลังงาน “เชื่อมทุนสีเขียวพลังงานยั่งยืน (DEDE Green Connect 2025)”

ขอเชิญร่วมงานสัมมนาเครือข่ายอนุรักษ์พลังงาน “เชื่อมทุนสีเขียวพลังงานยั่งยืน (DEDE Green Connect 2025)” ในวันพุธที่ 9 กรกฎาคม 2568 เวลา 08.30 – 16.00 น. ณ Training Room 1 อาคารอนุรักษ์พลังงานเฉลิมพระเกียรติ ต.คลองห้า อ.คลองหลวง จ.ปทุมธานี 1. ลิงก์ลงทะเบียน https://docs.google.com/…/1FAIpQLSdHagcPXMW…/viewform… 2. ลิงก์กำหนดการ https://drive.google.com/…/1jOEctqKje_zKo2h_uwNt… หากมีข้อสงสัยสามารถติดต่อได้ที่ ฝ่ายประสานงานกิจกรรม กองกำกับและอนุรักษ์พลังงาน กลุ่มส่งเสิมประสิทธิภาพการอนุรักษ์พลังงาน กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน (พพ.) โทรศัพท์ 02-223-0021-9 ต่อ 1006 (ภาฆิณ) 1096 (อัจฉริยะ, รัชต์ภาคย์)

REC vs Carbon Credit ต่างกันอย่างไร สรุปครบ – เข้าใจง่าย – พร้อมตัวอย่างจริง

  ธุรกิจยุคใหม่กำลังเผชิญกับแรงกดดันที่เพิ่มขึ้นทั้งจากผู้บริโภค นักลงทุน และหน่วยงานที่ทำหน้าที่กำกับดูแลให้ดำเนินธุรกิจอย่างยั่งยืนและมีความรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อม ใบรับรองการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียน (Renewable Energy Certificate) หรือ REC และคาร์บอนเครดิต Carbon Credit ซึ่งเป็นสิทธิที่เกิดจากการลดปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจก จึงกลายเป็นเครื่องมือสำคัญที่ช่วยให้ธุรกิจบรรลุเป้าหมายด้านการลดการปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์และก๊าซเรือนกระจก ช่วยสร้างความได้เปรียบทางการแข่งขัน วันนี้จะมาถอดรหัสความแตกต่างของเครื่องมือทั้งสองนี้ในการขับเคลื่อนพลังงานสะอาดที่สอดคล้องไปกับนโยบายด้านพลังงานของประเทศที่มุ่งสู่การเป็นสังคมเศรษฐกิจแบบ Net Zero REC (Renewable Energy Certificate) คือ ใบรับรองพลังงานหมุนเวียน ที่ยืนยันว่าไฟฟ้า 1 หน่วย (เมกะวัตต์ชั่วโมง-MWh) ถูกผลิตจากแหล่งพลังงานหมุนเวียน อาทิ แสงอาทิตย์ ลม น้ำ ชีวมวล  โดย REC เป็นกลไกที่ช่วยให้ธุรกิจสามารถ “อ้างสิทธิ์”(Claim) ในการใช้พลังงานสะอาด แม้ไฟฟ้าที่ใช้จริงจะผสมอยู่ในสายส่งเดียวกับไฟฟ้าจากเชื้อเพลิงฟอสซิลก็ตาม จุดประสงค์ เพื่อส่งเสริมการผลิตและการใช้พลังงานสะอาด ช่วยให้องค์กรสามารถอ้างสิทธิ์ได้ว่าใช้ไฟฟ้าที่มาจากพลังงานหมุนเวียน การนำไปใช้งาน ใช้เพื่อลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกที่เกิดจากการใช้ไฟฟ้า ในขอบเขตที่ 2 หรือเรียกว่า Scope 2 Emission กรณีตัวอย่างการใช้งาน – ธุรกิจด้านอิเล็กทรอนิกส์ที่มีโรงงานผลิตใช้พลังงานจำนวนมาก นิยมซื้อ REC เพื่อรายงานต่อบริษัทแม่ในต่างประเทศ – บริษัทโลจิสติกส์ขนาดกลางใช้ REC แทนการลงทุนโรงไฟฟ้าเองเพื่อแสดงความรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อม – […]

โซลาร์เซลล์ เทคโนโลยีการผลิตไฟฟ้าฮิตติดเทรนด์

    “พลังงานแสงอาทิตย์” คือ พลังงานที่กำลังได้รับความสนใจจากผู้คนทั่วโลก โดยเฉพาะในประเทศไทย จากข้อมูลของกูเกิ้ล เทรนด์ (Google Trends) พบว่ามีสถิติผู้ใช้อินเตอร์เน็ตในไทยค้นหาคำว่า ‘Solar cell’ ในกูเกิ้ลมากเป็นอันดับสองของโลกรองจากประเทศจีน ‘แผงเซลล์แสงอาทิตย์ หรือ แผงโซลาร์เซลล์ (Solar panel / Photovoltaics)’ คืออุปกรณ์สำคัญที่มีบทบาทสำคัญอย่างยิ่งยวดในการเก็บเกี่ยวพลังงานจากแสงอาทิตย์ ซึ่งถือเป็นทรัพยากรพลังงานที่มีเหลือล้นบนโลก โดยการแปลงความเข้มของแสงจากดวงอาทิตย์เป็นกระแสไฟฟ้า ในขณะที่แผงเซลล์แสงอาทิตย์มีส่วนในการผลิตกระแสไฟฟ้าไม่ถึงร้อยละ 2 ของการใช้ไฟฟ้าของโลกในปัจจุบัน แต่แผงเซลล์แสงอาทิตย์นั้นมีการขยายตัวอย่างก้าวกระโดดในช่วงทศวรรษที่ผ่านมา เนื่องจากราคาที่ลดลงเรื่อยๆ และความก้าวหน้าของเทคโนโลยีแผงเซลล์แสงอาทิตย์ ทำให้ระบบอุตสาหกรรมและประชาชนทั่วไปเข้าถึงระบบแผงเซลล์แสงอาทิตย์ได้ง่ายขึ้น แผงโซลาร์เซลล์เมื่อหมดอายุการใช้งาน ขยะจากแผงโซลาร์เซลล์ ที่ผ่านมารัฐบาลมีแผนส่งเสริมการผลิตไฟฟ้าจากเซลล์แสงอาทิตย์ให้ได้ 15,574 เมกะวัตต์ ภายในปี พ.ศ.2580 ซึ่งทำให้เกิดซากเซลล์แสงอาทิตย์และอุปกรณ์ประกอบจำนวนมาก ซึ่งประเมินกันว่าจะทำให้มีปริมาณของเสียสูงถึง 6 แสนตัน ผศ.ดร.พิชญ รัชฎาวงศ์ หัวหน้าห้องปฏิบัติการขยะ ภาควิชาวิศวกรรมสิ่งแวดล้อม คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในฐานะหัวหน้าชุดโครงการวิจัยร่วมสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) และการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) เรื่อง “การจัดการแผงเซลล์แสงอาทิตย์ที่หมดความคุ้มค่าในการผลิตไฟฟ้า” เปิดเผยว่า การผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ (โซลาร์เซลล์) ไม่ใช่พลังงานสะอาด 100% เพราะโซลาร์เซลล์ มีอายุการใช้งานเฉลี่ยราวๆ 20 ปี เมื่อหมดอายุขัยก็จะกลายเป็นขยะพิษ […]

พพ. จัดสอบหลักสูตรผู้รับผิดชอบด้านพลังงานสามัญโรงงาน (ผชร.) และหลักสูตรผู้รับผิดชอบด้านพลังงานสามัญอาคาร (ผชอ.) สำหรับผู้ผ่านการอบรมแบบออนไลน์ (e-Learning) ครั้งที่ 2/2568

เมื่อวันที่ 29 พฤษภาคม 2568 กองพัฒนาทรัพยากรบุุคคลด้านพลังงาน กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน (พพ.) จัดสอบหลักสูตรผู้รับผิดชอบด้านพลังงานสามัญโรงงานและหลักสูตรผู้รับผิดชอบด้านพลังงานสามัญอาคาร สำหรับผู้ผ่านการฝึกอบรมแบบออนไลน์ (e-learning) จำนวน 185 คน และให้การต้อนรับผู้เข้าสอบ เยี่ยมชมศูนย์แสดงเทคโนโลยีพลังงาน ภาคบ้านอยู่อาศัย และภาคอาคารธุรกิจ เพื่อเป็นประโยชน์ในการเรียนรู้เกี่ยวกับเทคโนโลยีภายในอาคารอนุรักษ์พลังงานเฉลิมพระเกียรติ ซึ่งเป็นต้นแบบของการอนุรักษ์พลังงานและการบริหารจัดการพลังงานที่มีประสิทธิภาพ

การประชุมคณะทำงานเชื่อมโยงมาตรฐานอาชีพและหลักสูตรผู้รับผิดชอบด้านพลังงาน และหลักสูตรผู้ตรวจสอบและรับรองการจัดการพลังงาน ครั้งที่ 1/2568

การประชุมคณะทำงานเชื่อมโยงมาตรฐานอาชีพและหลักสูตรผู้รับผิดชอบด้านพลังงาน และหลักสูตรผู้ตรวจสอบและรับรองการจัดการพลังงาน ครั้งที่ 1/2568 เมื่อวันอังคารที่ 27 พฤษภาคม 2568 เวลา 9.00-12:00น. ณ สถาบันคุณวุฒิวิชาชีพ นำโดยนางสาวจุลลดา มีจุล ผู้อำนวยการสถาบันคุณวุฒิวิชาชีพ นายนิธิวัชร์ ศิริปริยพงศ์ รองผู้อำนวยการสถาบัน นายอาวุธ เครือเขื่อนเพชร ผู้อำนวยการกองพัฒนาทรัพยากรบุคคลด้านพลังงาน ซึ่งเป็นการประชุม Kick off ภายใต้บันทึกข้อตกลงความร่วมมือในการบูรณาการเพื่อพัฒนาบุคลากรด้านผู้รับผิดชอบด้านพลังงาน สำหรับอาคารและโรงงานควบคุม และหลักสูตรผู้ตรวจสอบ และรับรองการจัดการพลังงาน ด้วยระบบคุณวุฒิวิชาชีพ คณะทำงานได้ร่วมกันเทียบเคียงมาตรฐานอาชีพและคุณวุฒิวิชาชีพกับหลักสูตรผู้รับผิดชอบด้านพลังงานสำหรับอาคารและโรงงานควบคุม และหลักสูตรผู้ตรวจสอบและรับรองการจัดการพลังงานที่กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงานดำเนินการอยู่ เพื่อให้ผู้ผ่านการฝึกอบรมได้รับการรับรองคุณวุฒิวิชาชีพผ่านกระบวนการและหลักเกณฑ์ที่คณะทำงานฯ ตกลงร่วมกัน เป็นการสร้างความเชื่อมั่นให้กับโรงงานควบคุมกว่า 6,000 แห่ง และอาคารควบคุมทั่วประเทศกว่า 3,000 แห่ง อีกทั้งสร้างความมั่นใจให้กับผู้รับผิดชอบด้านพลังงานและผู้ตรวจสอบและรับรองการจัดการพลังงาน ที่ขึ้นทะเบียนกับ พพ. ในการนำประกาศนียบัตรคุณวุฒิวิชาชีพไปใช้ประโยชน์ รวมถึงผู้ที่กำลังอยู่ระหว่างการศึกษาและฝึกอบรมได้เห็นเส้นทางที่ชัดเจนในโอกาสทางอาชีพจากการได้รับคุณวุฒิวิชาชีพ ตามความเป้าหมายในการผลิตกำลังคนด้านพลังงาน เพื่อเสริมสร้างความมั่นคงทางพลังงานของประเทศ ที่เป็นไปตามเจตนารมณ์ของบันทึกข้อตกลงความร่วมมือที่ทั้งสองฝ่ายตกลงร่วมกันได้อย่างเป็นรูปธรรม

1 2 3 14