dhrddede@gmail.com

พพ. จัดสอบหลักสูตรผู้รับผิดชอบด้านพลังงานสามัญโรงงาน (ผชร.) สำหรับผู้ผ่านการอบรมออนไลน์ (e-Learning) ครั้งที่ 3/2566

เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 5 ตุลาคม 2566 ทางกรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน (พพ.) โดย กองพัฒนาทรัพยากรบุคคลด้านพลังงาน (กพบ.) ได้ทำการจัดสอบหลักสูตรผู้รับผิดชอบด้านพลังงานสามัญโรงงาน สำหรับผู้ผ่านการอบรมออนไลน์ (e-Learning) ครั้งที่ 3/2566 ณ อาคารอนุรักษ์พลังงานเฉลิมพระเกียรติ ต.คลองห้า อ.คลองหลวง จ.ปทุมธานี โดยมีผู้ลงทะเบียนเข้าสอบในหลักสูตรนี้ จำนวน 252 ท่าน ผู้ผ่านการสอบสามารถขึ้นทะเบียนเป็นผู้รับผิดชอบด้านพลังงานประจำโรงงานควบคุมนั้น ๆ ได้ และในการสอบครั้งนี้ ทาง พพ. ได้ขอความร่วมมือผู้เข้าสอบทุกท่านให้สวมหน้ากากอนามัยตลอดระยะเวลาในการสอบ ซึ่งได้รับความร่วมมือเป็นอย่างดีจากผู้เข้าสอบทุกท่าน

รู้จัก CCUS เทคโนโลยีดักจับคาร์บอนของวันนี้ ที่จะมาช่วยเปลี่ยนโลกในอนาคต

เทคโนโลยี CCUS มาจาก Carbon Capture Utilization and Storage เทคโนโลยีการดักจับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ การใช้ประโยชน์และการกักเก็บคาร์บอน เป็นเทคโนโลยีที่มีประสิทธิภาพสูงในการลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ออกสู่ชั้นบรรยากาศที่ได้รับการยอมรับในระดับสากล เพื่อมุ่งสู่เป้าหมายความเป็นกลางทางคาร์บอน (Carbon Neutrality)ในอนาคต  ดักจับ เพื่ออะไร ใช้ประโยชน์ได้มากมายจริงหรือ? เนื่องจากปัจจุบัน สภาวะโลกร้อน เป็นเรื่องสำคัญระดับโลกที่องค์การสหประชาชาติเรียกร้องให้ทุกประเทศเร่งลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกเพื่อรักษาระดับอุณหภูมิเฉลี่ยของโลก การลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) จากภาคอุตสาหกรรม เป็นส่วนสำคัญที่จะช่วยลดผลกระทบที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ  ซึ่งความเป็นกลางทางคาร์บอน (Carbon Neutrality)จะไม่สามารถเกิดขึ้นได้เลยถ้าไม่มีเทคโนโลยี CCUS เทคโนโลยีการดักจับ CO2 แล้วนำมากักเก็บไว้ในชั้นหินใต้ดินแบบถาวร (Carbon Capture and Storage: CCS) หรือใช้เป็นวัตถุดิบในกระบวนการผลิตทางอุตสาหกรรมเพื่อให้ได้ผลิตภัณฑ์ที่มีมูลค่าสูงขึ้น (Carbon Capture and Utilization: CCU)  นับเป็นก้าวสำคัญในการจัดการ CO2 ซึ่งเดิมถูกมองว่าเป็นมลพิษ โดยนำมาแปรรูปแล้วนำไปใช้ประโยชน์ด้านต่างๆ นับเป็นอีกหนึ่งเทคโนโลยี ในการนำของเสียมาสร้างเป็นสิ่งที่มีมูลค่าทางด้านการพาณิชย์ ในขณะเดียวกันยังเป็นการขจัดมลภาวะให้กับสภาพแวดล้อมอีกด้วย แล้วประเทศไทย ใช้เทคโนโลยีนี้แพร่หลายแล้วหรือยัง? ทวีปเอเชีย-แปซิฟิก มีการเร่งดำเนินการ และปรับใช้เทคโนโลยี CCUS […]

การผลิตไฟฟ้าที่มั่นคง ไม่เพียงส่งผลแค่มีไฟฟ้าพอใช้ แต่หมายถึงเศรษฐกิจภาพใหญ่ของประเทศ

เมื่อพลังงาน เป็นอีกปัจจัยหลัก ผลักดันเศรษฐกิจของประเทศ ปัจจุบันภาวะเรือนกระจก ภาวะโลกร้อนส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตของพวกเราทุกคน รวมถึงพลังงานซึ่งถือเป็นปัจจัยพื้นฐานสำคัญในการใช้ชีวิต เห็นได้ว่าในทุก ๆ ปี โลกของเราจะต้องเผชิญกับวิกฤตขาดแคลนพลังงาน  ทิศทางพลังงานโลกจึงมุ่งเปลี่ยนผ่านสู่พลังงานสะอาดเพื่อแก้ปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ช่วยรักษาสมดุลทางธรรมชาติไม่ให้ถูกทำลายจากก๊าซพิษต่าง ๆ ที่ทำให้เกิดสภาวะโลกร้อน ช่วยลดผลกระทบต่อระบบนิเวศ และยกระดับคุณภาพชีวิตความเป็นอยู่และสุขภาพของผู้คนให้ดีขึ้นในระยะยาว รวมถึงกระตุ้นการลงทุนให้เกิดการหมุนเวียนทางเศรษฐกิจของประเทศ  ตามแผนการดำเนินงานของกระทรวงพลังงานปี 2566 การเลือกใช้พลังงานสะอาดหรือพลังงานหมุนเวียนมีความสำคัญต่อการพัฒนาเศรษฐกิจควบคู่ไปกับการรักษาสิ่งแวดล้อม และคุณภาพชีวิต   ประเทศเพื่อนบ้าน เผชิญวิกฤตพลังงาน  ล่าสุดสถานการณ์ของประเทศเพื่อนบ้านอย่างประเทศเวียดนาม ที่กำลังเผชิญวิกฤตพลังงานไฟฟ้าขาดแคลนอย่างหนักมาตั้งแต่กลางเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา และส่อแววยืดเยื้อ ถึงขั้นต้องประกาศเวียนดับไฟฟ้าทั่วประเทศเพื่อรับมือกับความต้องการใช้ไฟฟ้าที่เพิ่มสูงขึ้น โดยบางพื้นที่อาจต้องดับไฟฟ้านานกว่า 7 ชั่วโมง สะท้อนถึงปัญหาความมั่นคงระบบไฟฟ้าและคุณภาพไฟฟ้าของเวียดนามที่ส่งผลกระทบต่อภาคการผลิต ความเชื่อมั่นของนักลงทุน และเศรษฐกิจของประเทศ  ปัญหาหลักคือทรัพยากรที่นำมาใช้ในการผลิตไฟฟ้าขาดแคลน และการบริหารจัดการพลังงานหมุนเวียน ที่มีกำลังผลิตติดตั้งถึง 27% ของกำลังผลิตไฟฟ้าทั้งหมด แต่สามารถผลิตไฟฟ้าได้จริงราว 13% เนื่องจากสามารถผลิตไฟฟ้าได้เฉพาะบางช่วงเวลาเท่านั้น ตัวอย่างเช่น การผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์มีเพียงพอต่อความต้องการใช้ไฟฟ้าเฉพาะในช่วงกลางวันเท่านั้น แต่ไม่สามารถกักเก็บไว้จ่ายไฟฟ้าในช่วงที่ความต้องการใช้ไฟฟ้าสูงหรือช่วงที่ขาดแคลนไฟฟ้าได้ เช่นเดียวกับการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานลมที่สามารถผลิตไฟฟ้าได้ดีที่สุดในช่วงเดือนธันวาคม-กุมภาพันธ์ ทำให้เวียดนามยังต้องเผชิญความเสี่ยงขาดแคลนไฟฟ้าแม้จะมีกำลังผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนจำนวนมากอยู่ในระบบ และปฏิเสธไม่ได้ว่าการพึ่งพาการผลิตไฟฟ้าจากโรงไฟฟ้าพลังน้ำและโรงไฟฟ้าพลังงานความร้อนจากถ่านหินและก๊าซธรรมชาติยังมีความจำเป็น วิกฤตขาดแคลนพลังงานไฟฟ้าในเวียดนามกลายเป็นกรณีศึกษาที่บ่งชี้ว่า การบริหารจัดการระบบไฟฟ้าที่มุ่งเน้นที่ค่าไฟฟ้าในระดับต่ำที่สุดเพียงอย่างเดียวอาจไม่ใช่คำตอบของนักลงทุน เพราะการขาดแคลนไฟฟ้าเพียงไม่กี่ชั่วโมงสามารถสร้างความเสียหายทางธุรกิจอย่างมหาศาล   ไม่ใช่แค่มีไฟฟ้าใช้ แต่สร้างความเชื่อมั่นและมั่นใจให้เศรษฐกิจไทยเดินหน้าอย่างมีเสถียรภาพ สำหรับประเทศไทยเอง ก็ได้มีการนำพลังงานหมุนเวียนมาใช้ในการผลิตไฟฟ้ามากขึ้น […]

Renewable Energy : พลังงานแห่งอนาคตที่ไม่มีวันหมดสิ้น

Renewable Energy : พลังงานแห่งอนาคตที่ไม่มีวันหมดสิ้น เทคโนโลยีเกิดใหม่หลายๆ ประเภท เช่น โมบายล์อินเทอร์เน็ต (mobile internet) รถยนต์ไร้คนขับ (autonomous vehicle) และจีโนมิกส์ (genomics) กำลังจะสร้างความเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ให้กับโลกใบนี้ บรรดาเทคโนโลยีใหม่ๆ เหล่านี้ กำลังแพร่กระจายไปในทุกภาคส่วน แต่ก็ใช่ว่าเทคโนโลยีใหม่ทุกประเภทจะก่อให้เกิดความเปลี่ยนแปลงต่อภาคส่วนธุรกิจหรือสังคม มีเพียงแค่บางประเภทเท่านั้นที่มีแนวโน้มจะส่งผลกระทบต่อเทคโนโลยียุคเก่าให้เปลี่ยนจากหน้ามือเป็นหลังมือ หรือที่ปกติเราเรียกกันว่า disruption นั่นเอง รวมถึงเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตของผู้คนไปอย่างสิ้นเชิง ถึงแม้ว่าความก้าวหน้าทางด้านเทคโนโลยีจะมีผลดีช่วยขับเคลื่อนระบบเศรษฐกิจให้เดินไปได้ แต่ในขณะเดียวกันก็ก่อให้เกิดความเปลี่ยนแปลงที่ไม่อาจหลีกเลี่ยงได้ ผู้นำทั้งทางฝั่งรัฐบาล และภาคส่วนธุรกิจไม่เพียงแค่ต้องทำความเข้าใจในเทคโนโลยีใหม่ๆ เหล่านี้ แต่จะต้องเตรียมตัวรับมือกับผลกระทบครั้งใหญ่นี้ให้พร้อมก่อนที่จะสายเกินแก้   รูปที่ 1 พลังงานแสงอาทิตย์ คือ พลังงานแห่งอนาคต ที่มา: https://www.thaisolarenergy.com/index.php/solar-farm-thailand/ หนึ่งในเทคโนโลยีใหม่ที่จะเข้ามามีบทบาทต่อชีวิตประจำวันของทุกคนอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ คือ เทคโนโลยีการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียน หรือ renewable energy นั่นเอง สำหรับ renewable energy นั้นถือเป็นแหล่งพลังงานที่ยั่งยืน เพราะได้มาจากแหล่งพลังงานที่มีปริมาณไม่จำกัด เช่น แสงอาทิตย์ แม่น้ำ ลม […]

พิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือด้านการพัฒนาหลักสูตรและกิจกรรมด้านการอนุรักษ์พลังงานและพลังงานทดแทน สำหรับสถาบันอุดมศึกษา ระหว่าง กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน กับ สถาบันอุดมศึกษา

เมื่อวันจันทร์ที่ 24 กรกฎาคม 2566 ดร.ประเสริฐ สินสุขประเสริฐ อธิบดีกรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน (พพ.) ลงนามความร่วมมือการพัฒนาหลักสูตรและกิจกรรมด้านการอนุรักษ์พลังงานและพลังงานทดแทนสำหรับสถาบันอุดมศึกษา ระหว่าง กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษพลังงาน กับ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ มหาวิทยาลัยนเรศวร และ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ ณ อาคาร 2 กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน การลงนามร่วมกันระหว่าง พพ. และสถาบันอุดมศึกษา 3 แห่ง ในครั้งนี้ เพื่อพัฒนาบุคลากรในระดับอุดมศึกษาที่จะเข้าสู่ตลาดแรงงานในอนาคต ให้มีความพร้อมในการดำเนินการด้านการอนุรักษ์พลังงานและการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพและยั่งยืน ช่วยลดต้นทุนการใช้พลังงานของสถานประกอบการ และลดการใช้พลังงานของประเทศในอนาคต ซึ่งถือว่าเป็นมาตรการสำคัญในการช่วยสนับสนุนนโยบายและเป้าหมายของประเทศในการลดความเข้มข้นด้านพลังงานตามแผนอนุรักษ์พลังงานของประเทศ

1 2 3 4 5 10