dhrddede@gmail.com

การเงินสำหรับธุรกิจสีเขียวเพื่อความยั่งยืน (Green and Sustainable Finance)

ปัจจุบันสิ่งแวดล้อมถือเป็นประเด็นสำคัญที่กำลังส่งผลกระทบทั้งต่อสุขภาพประชาชน และระบบเศรษฐกิจทั่วโลก หลายประเทศให้ความใส่ใจต่อการเปลี่ยนแปลงทางสภาพภูมิอากาศ (Climate Change) ที่มีความรุนแรงมากขึ้น จึงออกนโยบาย และแผนดำเนินการเพื่อมุ่งสู่เป้าหมาย ‘การลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์’ (Net Zero Emission) ขณะที่ผู้บริโภค และธุรกิจก็หันมาใช้สินค้า และบริการที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมเพิ่มขึ้น สถาบันการเงินต่างๆ ถือว่ามีบทบาทสำคัญในเรื่องการเปลี่ยนผ่าน (Net Zero Transition) โดยได้ปรับตัวรองรับเทรนด์นี้โดยออกผลิตภัณฑ์ทางการเงินสีเขียวที่ยั่งยืน (Green and Sustainable Finance) ในรูปแบบต่างๆ เช่น สินเชื่อสีเขียว (Green Loan) ตราสารหนี้สีเขียว (Green Bond) เพื่อสร้างแรงจูงใจให้กับภาคธุรกิจ และอุตสาหกรรมในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก (Green House Gas:  GHG) และเพื่อเปลี่ยนผ่านสู่ ‘เศรษฐกิจสีเขียว’ ที่ดีต่อสิ่งแวดล้อมให้เร็วขึ้น เพื่อการบรรลุเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน (Sustainable Development) และเป้าหมายด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศอย่างเป็นรูปธรรม องค์กร UN Environment Programme (UNEP) ได้กำหนด 5 แนวทางเพื่อใช้เป็นหลักการในการใช้เครื่องมือทางการเงินเพื่อสนับสนุนการพัฒนาด้านสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน ซึ่งประกอบด้วย […]

7 วิธี รีไซเคิลคาร์บอนไดออกไซด์ นำกลับมาใช้ประโยชน์ใหม่

ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (Carbon dioxide) หรือ CO2 ปัจจัยสำคัญที่ก่อให้เกิดภาวะเรือนกระจกและปัญหาโลกร้อน ถูกปลดปล่อยออกมาจากกิจกรรมการผลิตสินค้าต่างๆ ที่ใช้อยู่ในชีวิตประจำวัน ไม่ว่าจะเป็นถ้วยกาแฟที่เราดื่ม รองเท้าที่เราใส่ รถยนต์ที่เราขับ รวมถึงบ้านที่อยู่อาศัย แต่นับเป็นเรื่องดีที่เทคโนโลยีสมัยใหม่สามารถดักจับ CO2 มารีไซเคิลได้หลากหลายวิธี และนำกลับมาใช้ให้เกิดประโยชน์ได้อีกด้วย การดักจับและกักเก็บคาร์บอน หรือ CCS เป็นเทคโนโลยีสำคัญที่จะช่วยลดการปล่อย CO2 จากอุตสาหกรรมที่ขจัดก๊าซคาร์บอนฯ ได้ยาก โดยเอเชียตะวันออกเฉียงใต้  มีศักยภาพเพียงพอที่จะกักเก็บ CO2 ได้ถึง 300,000 ล้านตัน* แต่บางเทคโนโลยีซึ่งกำลังอยู่ในขั้นแรกของการพัฒนา ได้ก้าวไปถึงขั้นการนำ CO2 กลับมาใช้ใหม่      ซึ่งจะเกิดประโยชน์มากกว่าการกักเก็บเอาไว้เฉยๆ โดย CO2 ทั่วโลกราว 230 ล้านตัน** จะถูกนำกลับมาใช้ทุกปีในรูปแบบต่างๆ ถึง 7 วิธี ดังนี้ 1. ด้านอาหารและเครื่องดื่ม สามารถใช้ CO2 เพื่อขจัดคาเฟอีนออกโดยไม่ส่งผลกระทบต่อรสชาติของกาแฟ ซึ่ง CO2 ที่ดักจับมาได้ อาจใช้เติมฟองในเครื่องดื่มอย่างโซดาและเบียร์ และอาจใช้ช่วยป้องกันไม่ให้ไวน์เสีย หรือเพื่อรักษาความสดของอาหารสำเร็จรูปบรรจุห่อได้ด้วย 2. ด้านเสื้อผ้าและเครื่องประดับ […]

พพ. จัดสอบหลักสูตรผู้รับผิดชอบด้านพลังงานสามัญโรงงาน (ผชร.) สำหรับผู้ผ่านการอบรมออนไลน์ (E-Learning) ครั้งที่ 2/2566

เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 8 มิถุนายน 2566 ทางกรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน (พพ.) โดย กองพัฒนาทรัพยากรบุคคลด้านพลังงาน (กพบ.) ได้ทำการจัดสอบหลักสูตรผู้รับผิดชอบด้านพลังงานสามัญโรงงาน สำหรับผู้ผ่านการอบรมออนไลน์ (E-Learning) ครั้งที่ 2/2566 ณ อาคารอนุรักษ์พลังงานเฉลิมพระเกียรติ ต.คลองห้า อ.คลองหลวง จ.ปทุมธานี โดยมีผู้ลงทะเบียนเข้าสอบในหลักสูตรนี้ จำนวน 354 ท่าน เมื่อสอบผ่านสามารถแต่งตั้งเป็นผู้รับผิดชอบด้านพลังงานประจำโรงงานควบคุมนั้นๆได้ และในการสอบครั้งนี้ ทาง พพ. ได้ขอความร่วมมือผู้เข้าสอบทุกท่านให้สวมหน้ากากอนามัยตลอดระยะเวลาในการสอบ ซึ่งได้รับความร่วมมือเป็นอย่างดีจากผู้เข้าสอบทุกท่าน

พพ. จัดสอบหลักสูตรผู้รับผิดชอบด้านพลังงานสามัญโรงงาน (ผชร.) สำหรับผู้ผ่านการอบรมออนไลน์ (E-Learning) ครั้งที่ 1/2566

เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 9 กุมภาพันธ์ 2566 ทางกรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน (พพ.) โดย กองพัฒนาทรัพยากรบุคคลด้านพลังงาน (กพบ.) ได้ทำการจัดสอบหลักสูตรผู้รับผิดชอบด้านพลังงานสามัญโรงงาน สำหรับผู้ผ่านการอบรมออนไลน์ (E-Learning) ครั้งที่ 1/2566 ณ อาคารอนุรักษ์พลังงานเฉลิมพระเกียรติ ต.คลองห้า อ.คลองหลวง จ.ปทุมธานี โดยมีผู้เข้าสอบในหลักสูตรนี้ประมาณ 200 ท่าน เมื่อสอบผ่านสามารถแต่งตั้งเป็นผู้รับผิดชอบด้านพลังงานประจำโรงงานควบคุมนั้นๆได้ และในการสอบครั้งนี้ ทาง พพ. ได้ขอความร่วมมือผู้เข้าสอบทุกท่านให้สวมหน้ากากอนามัยตลอดระยะเวลาในการสอบ ซึ่งได้รับความร่วมมือเป็นอย่างดีจากผู้เข้าสอบทุกท่าน

พลังงานความร้อนใต้พิภพ การนำเอาพลังงานความร้อนมาใช้

     พลังงานความร้อนใต้พิภพ หรือมีชื่อเรียกอีก ชื่อคือ พลังงานอุณหธรณี เป็นการที่เราเจาะนำพลังงานความร้อนที่อยู่ในใต้ดิน ซึ่งเราต้องเจาะให้ถึงแกนกลางของโลกที่มีอุณหภูมิสูงถึง 5,000 องศาเซลเซียส ซึ่งทำให้น้ำที่ถูกเก็บไว้ในโพรงของชั้นหิน จนกลายเป็นไอน้ำดันขึ้นมาสูงพื้นดินลอยขึ้นมาสูงชั้นบรรยากาศ แล้วจะทำให้กลายเป็นเมฆ แล้วก็ตกลงมาเป็นฝน จึงได้เกิดเป็นพลังงานหมุนเวียน นิยมใช้ในการผลิตกระแสไฟฟ้า ตอนนี้มี 24 ประเทศที่ผลิตไฟฟ้าด้วยพลังงานความร้อนใต้พิภพ แหล่งพลังงานความร้อนใต้พิภพที่พบในโลกแบ่งเป็นลักษณะใหญ่ ๆ ได้ 3 ลักษณะ คือ แหล่งที่เป็นไอน้ำส่วนใหญ่ (Steam Dominated) เป็นแหล่งกักเก็บความร้อนที่ประกอบด้วยไอน้ำมากกว่า 95% โดยทั่วไปมักจะเป็นแหล่งที่ใกล้กับหินหลอมเหลวร้อนที่อยู่ตื้น ๆ  อุณหภูมิของไอน้ำร้อนจะสูงกว่า 240 องศาเซลเซียสขึ้นไป แหล่งที่เป็นไอน้ำส่วนใหญ่นี้จะพบน้อยมากในโลกเรา แต่สามารถนำมาใช้ผลิตกระแสไฟฟ้าได้มากที่สุด เช่น The Geyser Field  ในมลรัฐแคลิฟอร์เนีย ประเทศสหรัฐอเมริกา และ Larderello ในประเทศอิตาลี เป็นต้น แหล่งที่เป็นน้ำร้อนส่วนใหญ่ (Hot Water Dominated) เป็นแหล่งกักเก็บสะสมความร้อนที่ประกอบไปด้วย น้ำร้อนเป็นส่วนใหญ่ อุณหภูมิน้ำร้อนจะมีตั้งแต่ 100 องศาเซลเซียสขึ้นไป ระบบนี้จะพบมากที่สุดในโลก เช่นที่ Cerro Prieto ในประเทศเม็กซิโก และ Hatchobaru ในประเทศญี่ปุ่น เป็นต้น แหล่งหินร้อนแห้ง  (Hot Dry Rock)  เป็นแหล่งสะสมความร้อนที่เป็นหินเนื้อแน่นแต่ไม่มีน้ำร้อนหรือไอน้ำไหลหมุนเวียนอยู่ ดังนั้น ถ้าจะนำมาใช้จำเป็นต้องอัดน้ำเย็นลงไปทางหลุมเจาะให้น้ำได้รับความร้อนจากหินร้อนโดยไหลหมุนเวียนภายในรอยแตกที่กระทำขึ้นจากนั้นก็ทำการสูบน้ำร้อนนี้ขึ้นมาทางหลุมเจาะอีกหลุมหนึ่ง  ซึ่งเจาะลงไปให้ตัดกับรอยแตกดังกล่าว […]

1 2 3 4 5 6 10