ข่าวสาร-บทความ

พลังงานความร้อนใต้พิภพ การนำเอาพลังงานความร้อนมาใช้

     พลังงานความร้อนใต้พิภพ หรือมีชื่อเรียกอีก ชื่อคือ พลังงานอุณหธรณี เป็นการที่เราเจาะนำพลังงานความร้อนที่อยู่ในใต้ดิน ซึ่งเราต้องเจาะให้ถึงแกนกลางของโลกที่มีอุณหภูมิสูงถึง 5,000 องศาเซลเซียส ซึ่งทำให้น้ำที่ถูกเก็บไว้ในโพรงของชั้นหิน จนกลายเป็นไอน้ำดันขึ้นมาสูงพื้นดินลอยขึ้นมาสูงชั้นบรรยากาศ แล้วจะทำให้กลายเป็นเมฆ แล้วก็ตกลงมาเป็นฝน จึงได้เกิดเป็นพลังงานหมุนเวียน นิยมใช้ในการผลิตกระแสไฟฟ้า ตอนนี้มี 24 ประเทศที่ผลิตไฟฟ้าด้วยพลังงานความร้อนใต้พิภพ แหล่งพลังงานความร้อนใต้พิภพที่พบในโลกแบ่งเป็นลักษณะใหญ่ ๆ ได้ 3 ลักษณะ คือ แหล่งที่เป็นไอน้ำส่วนใหญ่ (Steam Dominated) เป็นแหล่งกักเก็บความร้อนที่ประกอบด้วยไอน้ำมากกว่า 95% โดยทั่วไปมักจะเป็นแหล่งที่ใกล้กับหินหลอมเหลวร้อนที่อยู่ตื้น ๆ  อุณหภูมิของไอน้ำร้อนจะสูงกว่า 240 องศาเซลเซียสขึ้นไป แหล่งที่เป็นไอน้ำส่วนใหญ่นี้จะพบน้อยมากในโลกเรา แต่สามารถนำมาใช้ผลิตกระแสไฟฟ้าได้มากที่สุด เช่น The Geyser Field  ในมลรัฐแคลิฟอร์เนีย ประเทศสหรัฐอเมริกา และ Larderello ในประเทศอิตาลี เป็นต้น แหล่งที่เป็นน้ำร้อนส่วนใหญ่ (Hot Water Dominated) เป็นแหล่งกักเก็บสะสมความร้อนที่ประกอบไปด้วย น้ำร้อนเป็นส่วนใหญ่ อุณหภูมิน้ำร้อนจะมีตั้งแต่ 100 องศาเซลเซียสขึ้นไป ระบบนี้จะพบมากที่สุดในโลก เช่นที่ Cerro Prieto ในประเทศเม็กซิโก และ Hatchobaru ในประเทศญี่ปุ่น เป็นต้น แหล่งหินร้อนแห้ง  (Hot Dry Rock)  เป็นแหล่งสะสมความร้อนที่เป็นหินเนื้อแน่นแต่ไม่มีน้ำร้อนหรือไอน้ำไหลหมุนเวียนอยู่ ดังนั้น ถ้าจะนำมาใช้จำเป็นต้องอัดน้ำเย็นลงไปทางหลุมเจาะให้น้ำได้รับความร้อนจากหินร้อนโดยไหลหมุนเวียนภายในรอยแตกที่กระทำขึ้นจากนั้นก็ทำการสูบน้ำร้อนนี้ขึ้นมาทางหลุมเจาะอีกหลุมหนึ่ง  ซึ่งเจาะลงไปให้ตัดกับรอยแตกดังกล่าว […]

พิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ “การจัดฝึกอบรมหลักสูตรผู้รับผิดชอบด้านพลังงาน” ระหว่าง พพ. กับ หน่วยงานและสถาบันอุดมศึกษา

เมื่อวันศุกร์ที่ 28 เมษายน 2566 ดร.ประเสริฐ สินสุขประเสริฐ อธิบดีกรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน (พพ.)    เป็นประธานในพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือระหว่าง พพ. กับ หน่วยงานและสถาบันอุดมศึกษาในการจัดฝึกอบรมหลักสูตรผู้รับผิดชอบด้านพลังงาน โดยมีนางมัณลิกา สมพลานนท์ ผู้อำนวยการกองพัฒนาทรัพยากรบุคคลด้านพลังงาน (กพบ.) กล่าวรายงานและวัตถุประสงค์ของความร่วมมือในครั้งนี้ เป็นการจัดฝึกอบรมหลักสูตรผู้รับผิดชอบด้านพลังงานในรูปแบบออนไซต์ (on-site training) ให้กับบุคลากรของโรงงานควบคุมและอาคารควบคุม โดยหน่วยงานและสถาบันอุดมศึกษา จำนวน 4 แห่ง ประกอบด้วย สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี มหาวิทยาลัยรามคำแหง และมูลนิธิอนุรักษ์พลังงานแห่งประเทศไทย ณ อาคารอนุรักษ์พลังงานเฉลิมพระเกียรติฯ อำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี ซึ่งการจัดฝึกอบรมหลักสูตรผู้รับผิดชอบด้านพลังงานดังกล่าว จะช่วยส่งเสริมให้โรงงานควบคุมและอาคารควบคุม จัดทำระบบการจัดการพลังงานตามกฎหมายเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ รายละเอียดการจัดอบรมหลักสูตรผู้รับผิดชอบด้านพลังงาน  

พลังงานน้ำ พลังงานที่สำคัญและนำมาใช้ได้อย่างไม่มีที่สิ้นสุด

พลังงานน้ำ เป็นพลังงานรูปแบบหนึ่ง ที่เกิดจากแสงอาทิตย์ให้ความร้อนจนทำให้น้ำเกิดเป็นไอน้ำที่ลอยตัวสูงขึ้น (พลังงานศักย์) เมื่อไอน้ำเย็นตัวลงจะทำให้ตกลงมาเนื่องจากแรงดึงดูดของโลก โดยผู้คนคิดค้นได้สร้างสิ่งที่อาศัยแรงขับเคลื่อนโดยใช้น้ำ ปัจจุบันพลังน้ำได้พัฒนาใช้ในการผลิตไฟฟ้า นอกจากนี้พลังงานน้ำได้ถูกนำมาใช้ในกรมชลประทาน ใช้ในการสี ทอผ้า และโรงเลื่อย ซึ่งมนุษย์ได้นำมาใช้ประโยชน์มานานแล้ว โดยคิดค้นกังหันน้ำ (Water Wheel) เพื่อนำมาใช้งานต่างๆหลายประเภท เช่น การโม่แป้งจากเมล็ดต่างๆ ประโยชน์ของการใช้พลังน้ำ ซึ่งมีหลายอย่างมีดังนี้ เป็นพลังงานทดแทนที่สามารถหมุนเวียนนำกลับมาใช้ใหม่ได้เรื่อยๆ นั้นก็คือเมื่อเราใช้น้ำไปแล้วเราก็จะปล่อยกลับไปสู่แหล่งน้ำหรือทะเล สามารถผลิตกระแสไฟฟ้าได้รวดเร็ว โดยใช้คู่กับเครื่องกลพลังน้ำ และยังสามารถควบคุมปริมานการผลิตพลังงานได้ตามที่เราต้องการ ที่สำคัญเครื่องกลพลังน้ำจะมีความสึกหรอน้อยกว่าประเภทอื่นๆจึงทำให้มีอายุการใช้งานนานขึ้นตามไปด้วย เมื่อเราใช้น้ำในการผลิตพลังงานแล้ว สามารถใช้ไปใช้ประโยชน์ได้อีกมากมาย ที่มา : https://www.gloucestermaritimecenter.org

7 วิธีประหยัดพลังงาน ทางออกง่าย ๆ ในการประหยัดค่าใช้จ่ายในบ้าน

ไม่ว่าจะเป็นฤดูไหนในเมืองไทยก็ขึ้นชื่อได้ว่าเป็นฤดูร้อน และด้วยอาการศที่ร้อนนี้เอง ทำให้เราต้องใช้เครื่องใช้ไฟฟ้าในบ้าน อย่างเครื่องปรับอากาศ หรือแอร์ และพัดลม มากขึ้นตลอดทั้งวัน เมื่อเครื่องใช้ไฟฟ้าเหล่านี้ ต้องทำงานหนักขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งช่วงที่หลาย ๆ คน ต้องทำงานที่บ้าน หรือ Work from Home ยิ่งส่งผลโดยตรงต่อค่าไฟฟ้าที่สูงขึ้นตามไปด้วย เมื่อค่าใช้จ่ายเพิ่มเช่นนี้ จะมีวิธีที่ช่วยประหยัดได้บ้าง ลองมาดู 7 วิธีประหยัดพลังงานในบ้าน ที่คุณสามารถทำได้ง่าย ๆ เพื่อลดค่าใช้จ่ายในบ้านได้ที่นี่ 1. ตั้งเวลาเปิด-ปิดแอร์ แม้ว่าการเปิดแอร์จะช่วยให้คุณเย็นสบายไปถึงใจ แต่การให้แอร์ทำงานตลอดวัน-ตลอดคืน เวลาคุณไม่ได้ออกไปไหน แอร์ร้องไห้ได้คงน้ำตานองห้องอยู่ไม่น้อย และที่สำคัญคุณเองก็อาจมีน้ำตาตกในเมื่อบิลค่าไฟมาถึง รู้หรือไม่ว่าการปิดแอร์แม้จะเพียง 2-3 ชั่วโมงก็สามารถช่วยประหยัดพลังงานได้ แต่ทางที่ดี หากคุณต้องออกไปข้างนอก อาจจะตั้งเวลาให้แอร์เริ่มทำงานครึ่งชั่วโมงก่อนที่คุณจะกลับมาถึงบ้าน เพราะว่าหากคุณกลับมาถึงแบบร้อน ๆ แล้วเร่งแอร์เต็มอัตราศึก นอกจากจะไม่เย็นอย่างที่หวังแล้ว ยังเป็นการสิ้นเปลืองพลังงานเป็นพิเศษอีกด้วย เพราะทุกองศาที่คุณลดลงนั้นจะเพิ่มค่าไฟถึง 7% เลยทีเดียว 2. ตรวจสภาพแอร์เป็นประจำทุกปี หากคุณมีแอร์เก่า (อายุ 10-20 ปี) มีความเป็นไปได้สูงมากที่แอร์รุ่นนี้จะกินไฟมากกว่าแอร์รุ่นใหม่ ๆ ถึง […]

ใช้ความรักนำทาง สู่ชีวิตที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม

กลิ่นของความรักยังกรุ่นอยู่ตลอดเดือนกุมภาพันธ์ หากจะกล่าวถึงเรื่องของความรักแล้ว ความรักย่อมมีหลายรูปแบบ รักแบบพ่อแม่รักลูก รักแบบคู่รัก รักแบบคนรักสัตว์ ซึ่งความรักหากเกิดขึ้นแล้วล้วนมีแต่ความงดงาม และด้วยอานุภาพแห่งความรักที่เปี่ยมไปด้วยเมตตาย่อมจะทำให้โลกพลิกฟื้นไปในทิศทางที่ดี เฉกเช่นเดียวกับที่ มหาตมะ คานที หรือ แม่ชี เทเรซา ได้มอบความรักดังกล่าวให้กับโลกใบนี้ ความรักย่อมเกิดกับตัวเราก่อน เริ่มจากความเข้าใจและเห็นคุณค่าของตัวเองแผขยายไปยังการมองเห็นคุณค่าสิ่งอื่นๆรอบตัวซึ่งหากทุกคนมีความสามารถของการเรียนรู้และเห็นคุณค่าสิ่งรอบตัวในระดับสูงขึ้นเรื่อยๆ นั้นก็หมายความว่า การปฏิบัติตัวต่อตนเองและสิ่งอื่นๆรอบตัวจะเป็นในทิศทางของความทะนุถนอม ระมัดระวัง และนำไปสู่การพัฒนาให้สภาพแวดล้อมรอบตัวให้ดีขึ้นได้ เริ่มจากการรักตัวเองให้เป็น แนวทางการรักตัวเองสู่การรักสิ่งรอบตัว เชื่อมั่นในศักยภาพการเรียนรู้ของตัวเองที่จะพัฒนาให้มีทักษะจำเป็นที่จะทำให้ตนและสิ่งรอบตัวอยู่รอด การเห็นคุณค่าของตัวเอง รักตัวเองให้เป็น หมายความว่า เราจะไม่คิดหรือทำสิ่งใดๆที่เป็นการทำร้ายตัวเอง ไม่ว่าจะเป็นการเลือกกิ นอยู่ และใช้ผลิตภัณฑ์ต่างๆ การแบ่งปันและส่งต่อความดี คือ สิ่งที่เราควรจะทำประจำ เพราะหากตัวเองทำแล้วดี ทำแล้วเกิดการเปลี่ยนแปลงนั้นก็หมายความว่าควรจะมีการส่งต่อไปด้วยความปรารถนาให้สิ่งต่างๆที่อยู่รอบตัวดีขึ้นด้วย โดยรูปแบบการส่งต่อ อาจจะไม่เป็นสิ่งของหรือเงินทอง แต่เพียงความคิดดีๆ กำลังใจดีๆ ข้อเสนอแนะดีๆ กระบวนการของการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมจากความรักไปสู่ชีวิตที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม รับรู้ เปิดใจให้กว้างที่เต็มเปี่ยมไปด้วยความรักเพื่อสัมผัสกับความเป็นจริงของโลกที่เปลี่ยนไป ไม่ใช้ความเกลียดชังตัดสิน ทำลายกำแพงอัตตาเพื่อพบกับการรับรู้ที่แท้จริง เข้าใจ ใช้ความรักทำความเข้าใจให้ถ่องแท้ว่าระบบนิเวศเปราะบางเพียงใด เราเป็นผู้บริโภคที่อยู่บนยอดพีระมิดของสายใยอาหาร หากเราไม่เข้าใจและไปทำลายฐานพีระมิดด้วยความไม่เข้าใจแบบไร้ความรัก เท่ากับว่าทำร้ายตัวเอง ตระหนักเห็นคุณค่า เมื่อรับรู้จนเกิดความเข้าใจแล้ว จะนำไปสู่การเห็นคุณค่า และยิ่งจะกลายเป็นว่ารักในสิ่งนั้นมากขึ้น เกิดความรักและหวงแหน เมื่อเดินทางมาถึงขั้นตอนนี้แล้ว ความรักจะกลายร่างเป็นความหวงแหน อยากทะนุถนอม ใช้อย่างระมัดระวัง เกรงว่าจะส่งผลกระทบ ปรับพฤติกรรมสู่วิถีชีวิตที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ความรักได้นำทางมาสู้เรื่องของการฝังในระบบคิด […]

ฉายภาพ 4 มิติรับยุคพลังงานสะอาด

ในสถานการณ์ที่ทั่วโลกเผชิญวิกฤตราคาพลังงานจากสถานการณ์สงครามรัสเซีย – ยูเครน ทำให้การเปลี่ยนผ่านด้านพลังงาน (Energy Transition) เพื่อให้สอดรับกับเทรนด์เทคโนโลยีด้านพลังงานสะอาดถูกกระชับพื้นที่เข้ามาเร็วยิ่งขึ้นเพื่อแสวงหาพลังงานทดแทนเชื้อเพลิงฟอสซิลที่มีความผันผวน ทิศทางของโลกจึงมุ่งสู่สังคมไร้คาร์บอน โดยประเทศไทยได้วางเป้าหมายมุ่งสู่ความเป็นกลางทางคาร์บอน (Carbon Neutrality) ภายในปี ค.ศ. 2050 และลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกเป็นศูนย์ (Net Zero Emissions) ในปี ค.ศ. 2065 ในปี 2566 คาดการณ์ว่าสถานการณ์พลังงานจะยังคงผันผวนต่อเนื่องจากปีที่แล้ว กระทรวงพลังงานต้องปรับบทบาทองค์กรก้าวสู่ยุคเปลี่ยนผ่านด้านพลังงานดังกล่าว โดยนอกจากจะต้องสร้างความมั่นคงด้านพลังงานแล้ว ยังต้องเปลี่ยนแปลงเชิงนโยบายและการดำเนินการหลายด้านเพื่อขับเคลื่อนประเทศเข้าสู่ความเป็นกลางทางคาร์บอน ทั้งการส่งเสริมการผลิตพลังงานสะอาดให้เป็นไปตามเป้าหมาย การปรับตัวเพื่อรองรับและส่งเสริมการผลิตและการใช้ยานยนต์ไฟฟ้า (EV) พร้อมๆ ไปกับติดตามและบริหารจัดการสถานการณ์ราคาพลังงาน เพื่อลดผลกระทบต่อประชาชนและผู้ประกอบการ รวมทั้งสร้างพันธมิตรและร่วมมือกับทุกภาคส่วนขับเคลื่อนการพัฒนา เพื่อให้เกิดการลงทุนธุรกิจพลังงานใหม่ๆ ตามเป้าหมาย ทั้งนี้ แผนงานสำคัญด้านพลังงานเพื่อตอบโจทย์สังคมยุคไร้คาร์บอน ได้ถูกจัดวางผ่าน 4 มิติ ดังนี้ มิติที่ 1 พลังงานสร้างความมั่นคงสู่สังคมคาร์บอนต่ำ –> แผนพลังงานชาติและแผนพลังงานรายสาขาใหม่ (แผน PDP 2022/EEP2022/AEDP2022/Oil Plan 2022/Gas Plan 2022) เน้นการส่งเสริมพลังงานสะอาด […]

ถ้าโลกนี้ไม่มีพลังงานทดแทนจะเป็นอย่างไร

ลองคิดดูครับว่า ถ้าโลกนี้ไม่มีพลังงานทดแทนจะเป็นอย่างไร สิ่งแรกที่ผมนึกถึงเลยก็คือ แหล่งทรัพยากรธรรมชาติจะหมดเร็วมาก และทำให้ส่งผลกระทบทุกอย่าง ไม่ว่าจะเป็นอากาศ ซึ่งไม่นานนักก็จะไม่มีให้ใช้กันครับ ไม่ว่าจะเป็นไฟฟ้าที่ทุกวันนี้ มีการเปลี่ยนพลังงานอย่างอื่นมาทดแทน ไม่ว่าจะเป็นกระแสน้ำ ที่สามารถเอามาเปลี่ยนเป็นไฟฟ้าได้อย่างมหาศาล ยิ่งเป็นเขื่อนด้วยแล้ว โดยหลักการที่เขาใช้ก็เหมือนกับการปั่นจักรยาน ซึ่งบอกได้เลยว่ามันเป็นเรื่องที่ธรรมชาติสร้างมาอยู่แล้ว เพียงแค่เรานำกังหันให้โดนน้ำที่ไหลมาอยู่แล้ว โดยที่ไม่ได้เปลี่ยนให้กระแสน้ำเปลี่ยนแปลงเลย เพราะถ้าปล่อยไปเฉย ๆ ก็จะไม่ได้ประโยชน์อะไรเลย นอกจากน้ำแล้ว พลังธรรมชาติอย่างลมเองก็เช่นกัน ซึ่งต่างกันที่สถานที่ติดตั้งเท่านั้น โดยผู้เชี่ยวชาญเรื่องนี้จะคำนวณขนาดและน้ำหนักของตัวปั่นไฟว่าสามารถรองรับกับแรงได้มากขนาดไหน และสร้างให้เหมาะสมเพื่อให้ได้พลังงานมากที่สุดนั่นเอง ที่จริงแล้วหลักการเปลี่ยนพลังงานดังกล่าวมีหลักการ เพียงแค่ให้ได้ความร้อนนั่นเอง โดยจะมีตัวเก็บประจุไฟฟ้าเอาไว้เพื่อแจกจ่ายตามบ้านเรือนครับ ดังนั้น พลังงานที่ธรรมชาติมีเยอะที่สุดคือ พลังงานแสงอาทิตย์ครับ โดยใช้แผงโซล่าเซลล์ ยิ่งโลกเราทุกวันนี้ที่ชั้นบรรยากาศที่น้อยลง ทำให้แสงอาทิตย์ตกกระทบกับพื้นโลกได้เร็วขึ้น ดังนั้น การเก็บพลังงานประเภทนี้จึงได้รับความนิยม แต่ในประเทศไทยนั้น การทำแบบนี้ไม่ใช่จะทำได้ทุกคนครับ ต้องขอสัมปทานจากเจ้าหน้าที่เสียก่อน ซึ่งเป็นจุดหนึ่งที่ผมเห็นว่าประเทศของเราขาดการพัฒนาในเรื่องของความคิดอย่างมาก เพราะในต่างประเทศมีการให้ใช้อย่างเสรี ถึงขั้นมีรถไฟฟ้าโซล่าเซลล์เกิดขึ้นแล้ว ส่งผลให้ประเทศไทยไม่สามารถสร้างคนที่มีความคิดสร้างสรรค์สิ่งใหม่ ๆ ได้ นั่นเอง   ที่มา : https://www.gloucestermaritimecenter.org

พิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ “การจัดการฝึกอบรมหลักสูตรผู้ตรวจประเมินการจัดการพลังงานภายในองค์กร”” ระหว่าง พพ. กับ หน่วยงานและสถาบันอุดมศึกษา

เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 20 ตุลาคม 2565 กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน (พพ.) โดย ดร.ประเสริฐ สินสุขประเสริฐ อธิบดีกรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน (พพ.) ประธานในพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MOU) การจัดฝึกอบรมหลักสูตร “ผู้ตรวจประเมินการจัดการพลังงานภายในองค์กร” (Internal Audit) โดยมีสถาบันการศึกษาและหน่วยงานร่วมทำบันทึกข้อตกลงกับ 4 แห่ง ประกอบด้วย สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าลาดกระบัง มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี มหาวิทยาลัยรามคำแหง และ มูลนิธิอนุรักษ์อนุรักษ์พลังงานแห่งประเทศไทย            

1 2 3 4 5 6