บทความ

พิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ “การจัดฝึกอบรมหลักสูตรผู้รับผิดชอบด้านพลังงาน” ระหว่าง พพ. กับ หน่วยงานและสถาบันอุดมศึกษา

เมื่อวันศุกร์ที่ 28 เมษายน 2566 ดร.ประเสริฐ สินสุขประเสริฐ อธิบดีกรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน (พพ.)    เป็นประธานในพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือระหว่าง พพ. กับ หน่วยงานและสถาบันอุดมศึกษาในการจัดฝึกอบรมหลักสูตรผู้รับผิดชอบด้านพลังงาน โดยมีนางมัณลิกา สมพลานนท์ ผู้อำนวยการกองพัฒนาทรัพยากรบุคคลด้านพลังงาน (กพบ.) กล่าวรายงานและวัตถุประสงค์ของความร่วมมือในครั้งนี้ เป็นการจัดฝึกอบรมหลักสูตรผู้รับผิดชอบด้านพลังงานในรูปแบบออนไซต์ (on-site training) ให้กับบุคลากรของโรงงานควบคุมและอาคารควบคุม โดยหน่วยงานและสถาบันอุดมศึกษา จำนวน 4 แห่ง ประกอบด้วย สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี มหาวิทยาลัยรามคำแหง และมูลนิธิอนุรักษ์พลังงานแห่งประเทศไทย ณ อาคารอนุรักษ์พลังงานเฉลิมพระเกียรติฯ อำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี ซึ่งการจัดฝึกอบรมหลักสูตรผู้รับผิดชอบด้านพลังงานดังกล่าว จะช่วยส่งเสริมให้โรงงานควบคุมและอาคารควบคุม จัดทำระบบการจัดการพลังงานตามกฎหมายเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ รายละเอียดการจัดอบรมหลักสูตรผู้รับผิดชอบด้านพลังงาน  

พลังงานน้ำ พลังงานที่สำคัญและนำมาใช้ได้อย่างไม่มีที่สิ้นสุด

พลังงานน้ำ เป็นพลังงานรูปแบบหนึ่ง ที่เกิดจากแสงอาทิตย์ให้ความร้อนจนทำให้น้ำเกิดเป็นไอน้ำที่ลอยตัวสูงขึ้น (พลังงานศักย์) เมื่อไอน้ำเย็นตัวลงจะทำให้ตกลงมาเนื่องจากแรงดึงดูดของโลก โดยผู้คนคิดค้นได้สร้างสิ่งที่อาศัยแรงขับเคลื่อนโดยใช้น้ำ ปัจจุบันพลังน้ำได้พัฒนาใช้ในการผลิตไฟฟ้า นอกจากนี้พลังงานน้ำได้ถูกนำมาใช้ในกรมชลประทาน ใช้ในการสี ทอผ้า และโรงเลื่อย ซึ่งมนุษย์ได้นำมาใช้ประโยชน์มานานแล้ว โดยคิดค้นกังหันน้ำ (Water Wheel) เพื่อนำมาใช้งานต่างๆหลายประเภท เช่น การโม่แป้งจากเมล็ดต่างๆ ประโยชน์ของการใช้พลังน้ำ ซึ่งมีหลายอย่างมีดังนี้ เป็นพลังงานทดแทนที่สามารถหมุนเวียนนำกลับมาใช้ใหม่ได้เรื่อยๆ นั้นก็คือเมื่อเราใช้น้ำไปแล้วเราก็จะปล่อยกลับไปสู่แหล่งน้ำหรือทะเล สามารถผลิตกระแสไฟฟ้าได้รวดเร็ว โดยใช้คู่กับเครื่องกลพลังน้ำ และยังสามารถควบคุมปริมานการผลิตพลังงานได้ตามที่เราต้องการ ที่สำคัญเครื่องกลพลังน้ำจะมีความสึกหรอน้อยกว่าประเภทอื่นๆจึงทำให้มีอายุการใช้งานนานขึ้นตามไปด้วย เมื่อเราใช้น้ำในการผลิตพลังงานแล้ว สามารถใช้ไปใช้ประโยชน์ได้อีกมากมาย ที่มา : https://www.gloucestermaritimecenter.org

7 วิธีประหยัดพลังงาน ทางออกง่าย ๆ ในการประหยัดค่าใช้จ่ายในบ้าน

ไม่ว่าจะเป็นฤดูไหนในเมืองไทยก็ขึ้นชื่อได้ว่าเป็นฤดูร้อน และด้วยอาการศที่ร้อนนี้เอง ทำให้เราต้องใช้เครื่องใช้ไฟฟ้าในบ้าน อย่างเครื่องปรับอากาศ หรือแอร์ และพัดลม มากขึ้นตลอดทั้งวัน เมื่อเครื่องใช้ไฟฟ้าเหล่านี้ ต้องทำงานหนักขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งช่วงที่หลาย ๆ คน ต้องทำงานที่บ้าน หรือ Work from Home ยิ่งส่งผลโดยตรงต่อค่าไฟฟ้าที่สูงขึ้นตามไปด้วย เมื่อค่าใช้จ่ายเพิ่มเช่นนี้ จะมีวิธีที่ช่วยประหยัดได้บ้าง ลองมาดู 7 วิธีประหยัดพลังงานในบ้าน ที่คุณสามารถทำได้ง่าย ๆ เพื่อลดค่าใช้จ่ายในบ้านได้ที่นี่ 1. ตั้งเวลาเปิด-ปิดแอร์ แม้ว่าการเปิดแอร์จะช่วยให้คุณเย็นสบายไปถึงใจ แต่การให้แอร์ทำงานตลอดวัน-ตลอดคืน เวลาคุณไม่ได้ออกไปไหน แอร์ร้องไห้ได้คงน้ำตานองห้องอยู่ไม่น้อย และที่สำคัญคุณเองก็อาจมีน้ำตาตกในเมื่อบิลค่าไฟมาถึง รู้หรือไม่ว่าการปิดแอร์แม้จะเพียง 2-3 ชั่วโมงก็สามารถช่วยประหยัดพลังงานได้ แต่ทางที่ดี หากคุณต้องออกไปข้างนอก อาจจะตั้งเวลาให้แอร์เริ่มทำงานครึ่งชั่วโมงก่อนที่คุณจะกลับมาถึงบ้าน เพราะว่าหากคุณกลับมาถึงแบบร้อน ๆ แล้วเร่งแอร์เต็มอัตราศึก นอกจากจะไม่เย็นอย่างที่หวังแล้ว ยังเป็นการสิ้นเปลืองพลังงานเป็นพิเศษอีกด้วย เพราะทุกองศาที่คุณลดลงนั้นจะเพิ่มค่าไฟถึง 7% เลยทีเดียว 2. ตรวจสภาพแอร์เป็นประจำทุกปี หากคุณมีแอร์เก่า (อายุ 10-20 ปี) มีความเป็นไปได้สูงมากที่แอร์รุ่นนี้จะกินไฟมากกว่าแอร์รุ่นใหม่ ๆ ถึง […]

ใช้ความรักนำทาง สู่ชีวิตที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม

กลิ่นของความรักยังกรุ่นอยู่ตลอดเดือนกุมภาพันธ์ หากจะกล่าวถึงเรื่องของความรักแล้ว ความรักย่อมมีหลายรูปแบบ รักแบบพ่อแม่รักลูก รักแบบคู่รัก รักแบบคนรักสัตว์ ซึ่งความรักหากเกิดขึ้นแล้วล้วนมีแต่ความงดงาม และด้วยอานุภาพแห่งความรักที่เปี่ยมไปด้วยเมตตาย่อมจะทำให้โลกพลิกฟื้นไปในทิศทางที่ดี เฉกเช่นเดียวกับที่ มหาตมะ คานที หรือ แม่ชี เทเรซา ได้มอบความรักดังกล่าวให้กับโลกใบนี้ ความรักย่อมเกิดกับตัวเราก่อน เริ่มจากความเข้าใจและเห็นคุณค่าของตัวเองแผขยายไปยังการมองเห็นคุณค่าสิ่งอื่นๆรอบตัวซึ่งหากทุกคนมีความสามารถของการเรียนรู้และเห็นคุณค่าสิ่งรอบตัวในระดับสูงขึ้นเรื่อยๆ นั้นก็หมายความว่า การปฏิบัติตัวต่อตนเองและสิ่งอื่นๆรอบตัวจะเป็นในทิศทางของความทะนุถนอม ระมัดระวัง และนำไปสู่การพัฒนาให้สภาพแวดล้อมรอบตัวให้ดีขึ้นได้ เริ่มจากการรักตัวเองให้เป็น แนวทางการรักตัวเองสู่การรักสิ่งรอบตัว เชื่อมั่นในศักยภาพการเรียนรู้ของตัวเองที่จะพัฒนาให้มีทักษะจำเป็นที่จะทำให้ตนและสิ่งรอบตัวอยู่รอด การเห็นคุณค่าของตัวเอง รักตัวเองให้เป็น หมายความว่า เราจะไม่คิดหรือทำสิ่งใดๆที่เป็นการทำร้ายตัวเอง ไม่ว่าจะเป็นการเลือกกิ นอยู่ และใช้ผลิตภัณฑ์ต่างๆ การแบ่งปันและส่งต่อความดี คือ สิ่งที่เราควรจะทำประจำ เพราะหากตัวเองทำแล้วดี ทำแล้วเกิดการเปลี่ยนแปลงนั้นก็หมายความว่าควรจะมีการส่งต่อไปด้วยความปรารถนาให้สิ่งต่างๆที่อยู่รอบตัวดีขึ้นด้วย โดยรูปแบบการส่งต่อ อาจจะไม่เป็นสิ่งของหรือเงินทอง แต่เพียงความคิดดีๆ กำลังใจดีๆ ข้อเสนอแนะดีๆ กระบวนการของการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมจากความรักไปสู่ชีวิตที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม รับรู้ เปิดใจให้กว้างที่เต็มเปี่ยมไปด้วยความรักเพื่อสัมผัสกับความเป็นจริงของโลกที่เปลี่ยนไป ไม่ใช้ความเกลียดชังตัดสิน ทำลายกำแพงอัตตาเพื่อพบกับการรับรู้ที่แท้จริง เข้าใจ ใช้ความรักทำความเข้าใจให้ถ่องแท้ว่าระบบนิเวศเปราะบางเพียงใด เราเป็นผู้บริโภคที่อยู่บนยอดพีระมิดของสายใยอาหาร หากเราไม่เข้าใจและไปทำลายฐานพีระมิดด้วยความไม่เข้าใจแบบไร้ความรัก เท่ากับว่าทำร้ายตัวเอง ตระหนักเห็นคุณค่า เมื่อรับรู้จนเกิดความเข้าใจแล้ว จะนำไปสู่การเห็นคุณค่า และยิ่งจะกลายเป็นว่ารักในสิ่งนั้นมากขึ้น เกิดความรักและหวงแหน เมื่อเดินทางมาถึงขั้นตอนนี้แล้ว ความรักจะกลายร่างเป็นความหวงแหน อยากทะนุถนอม ใช้อย่างระมัดระวัง เกรงว่าจะส่งผลกระทบ ปรับพฤติกรรมสู่วิถีชีวิตที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ความรักได้นำทางมาสู้เรื่องของการฝังในระบบคิด […]

ฉายภาพ 4 มิติรับยุคพลังงานสะอาด

ในสถานการณ์ที่ทั่วโลกเผชิญวิกฤตราคาพลังงานจากสถานการณ์สงครามรัสเซีย – ยูเครน ทำให้การเปลี่ยนผ่านด้านพลังงาน (Energy Transition) เพื่อให้สอดรับกับเทรนด์เทคโนโลยีด้านพลังงานสะอาดถูกกระชับพื้นที่เข้ามาเร็วยิ่งขึ้นเพื่อแสวงหาพลังงานทดแทนเชื้อเพลิงฟอสซิลที่มีความผันผวน ทิศทางของโลกจึงมุ่งสู่สังคมไร้คาร์บอน โดยประเทศไทยได้วางเป้าหมายมุ่งสู่ความเป็นกลางทางคาร์บอน (Carbon Neutrality) ภายในปี ค.ศ. 2050 และลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกเป็นศูนย์ (Net Zero Emissions) ในปี ค.ศ. 2065 ในปี 2566 คาดการณ์ว่าสถานการณ์พลังงานจะยังคงผันผวนต่อเนื่องจากปีที่แล้ว กระทรวงพลังงานต้องปรับบทบาทองค์กรก้าวสู่ยุคเปลี่ยนผ่านด้านพลังงานดังกล่าว โดยนอกจากจะต้องสร้างความมั่นคงด้านพลังงานแล้ว ยังต้องเปลี่ยนแปลงเชิงนโยบายและการดำเนินการหลายด้านเพื่อขับเคลื่อนประเทศเข้าสู่ความเป็นกลางทางคาร์บอน ทั้งการส่งเสริมการผลิตพลังงานสะอาดให้เป็นไปตามเป้าหมาย การปรับตัวเพื่อรองรับและส่งเสริมการผลิตและการใช้ยานยนต์ไฟฟ้า (EV) พร้อมๆ ไปกับติดตามและบริหารจัดการสถานการณ์ราคาพลังงาน เพื่อลดผลกระทบต่อประชาชนและผู้ประกอบการ รวมทั้งสร้างพันธมิตรและร่วมมือกับทุกภาคส่วนขับเคลื่อนการพัฒนา เพื่อให้เกิดการลงทุนธุรกิจพลังงานใหม่ๆ ตามเป้าหมาย ทั้งนี้ แผนงานสำคัญด้านพลังงานเพื่อตอบโจทย์สังคมยุคไร้คาร์บอน ได้ถูกจัดวางผ่าน 4 มิติ ดังนี้ มิติที่ 1 พลังงานสร้างความมั่นคงสู่สังคมคาร์บอนต่ำ –> แผนพลังงานชาติและแผนพลังงานรายสาขาใหม่ (แผน PDP 2022/EEP2022/AEDP2022/Oil Plan 2022/Gas Plan 2022) เน้นการส่งเสริมพลังงานสะอาด […]

1 4 5 6 7 8 10