ข่าวสาร-บทความ

พพ. จัดสอบหลักสูตรผู้รับผิดชอบด้านพลังงานสามัญโรงงาน (ผชร.) สำหรับผู้ผ่านการอบรมออนไลน์ (e-Learning) ครั้งที่ 3/2566

เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 5 ตุลาคม 2566 ทางกรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน (พพ.) โดย กองพัฒนาทรัพยากรบุคคลด้านพลังงาน (กพบ.) ได้ทำการจัดสอบหลักสูตรผู้รับผิดชอบด้านพลังงานสามัญโรงงาน สำหรับผู้ผ่านการอบรมออนไลน์ (e-Learning) ครั้งที่ 3/2566 ณ อาคารอนุรักษ์พลังงานเฉลิมพระเกียรติ ต.คลองห้า อ.คลองหลวง จ.ปทุมธานี โดยมีผู้ลงทะเบียนเข้าสอบในหลักสูตรนี้ จำนวน 252 ท่าน ผู้ผ่านการสอบสามารถขึ้นทะเบียนเป็นผู้รับผิดชอบด้านพลังงานประจำโรงงานควบคุมนั้น ๆ ได้ และในการสอบครั้งนี้ ทาง พพ. ได้ขอความร่วมมือผู้เข้าสอบทุกท่านให้สวมหน้ากากอนามัยตลอดระยะเวลาในการสอบ ซึ่งได้รับความร่วมมือเป็นอย่างดีจากผู้เข้าสอบทุกท่าน

รู้จัก CCUS เทคโนโลยีดักจับคาร์บอนของวันนี้ ที่จะมาช่วยเปลี่ยนโลกในอนาคต

เทคโนโลยี CCUS มาจาก Carbon Capture Utilization and Storage เทคโนโลยีการดักจับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ การใช้ประโยชน์และการกักเก็บคาร์บอน เป็นเทคโนโลยีที่มีประสิทธิภาพสูงในการลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ออกสู่ชั้นบรรยากาศที่ได้รับการยอมรับในระดับสากล เพื่อมุ่งสู่เป้าหมายความเป็นกลางทางคาร์บอน (Carbon Neutrality)ในอนาคต  ดักจับ เพื่ออะไร ใช้ประโยชน์ได้มากมายจริงหรือ? เนื่องจากปัจจุบัน สภาวะโลกร้อน เป็นเรื่องสำคัญระดับโลกที่องค์การสหประชาชาติเรียกร้องให้ทุกประเทศเร่งลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกเพื่อรักษาระดับอุณหภูมิเฉลี่ยของโลก การลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) จากภาคอุตสาหกรรม เป็นส่วนสำคัญที่จะช่วยลดผลกระทบที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ  ซึ่งความเป็นกลางทางคาร์บอน (Carbon Neutrality)จะไม่สามารถเกิดขึ้นได้เลยถ้าไม่มีเทคโนโลยี CCUS เทคโนโลยีการดักจับ CO2 แล้วนำมากักเก็บไว้ในชั้นหินใต้ดินแบบถาวร (Carbon Capture and Storage: CCS) หรือใช้เป็นวัตถุดิบในกระบวนการผลิตทางอุตสาหกรรมเพื่อให้ได้ผลิตภัณฑ์ที่มีมูลค่าสูงขึ้น (Carbon Capture and Utilization: CCU)  นับเป็นก้าวสำคัญในการจัดการ CO2 ซึ่งเดิมถูกมองว่าเป็นมลพิษ โดยนำมาแปรรูปแล้วนำไปใช้ประโยชน์ด้านต่างๆ นับเป็นอีกหนึ่งเทคโนโลยี ในการนำของเสียมาสร้างเป็นสิ่งที่มีมูลค่าทางด้านการพาณิชย์ ในขณะเดียวกันยังเป็นการขจัดมลภาวะให้กับสภาพแวดล้อมอีกด้วย แล้วประเทศไทย ใช้เทคโนโลยีนี้แพร่หลายแล้วหรือยัง? ทวีปเอเชีย-แปซิฟิก มีการเร่งดำเนินการ และปรับใช้เทคโนโลยี CCUS […]

การผลิตไฟฟ้าที่มั่นคง ไม่เพียงส่งผลแค่มีไฟฟ้าพอใช้ แต่หมายถึงเศรษฐกิจภาพใหญ่ของประเทศ

เมื่อพลังงาน เป็นอีกปัจจัยหลัก ผลักดันเศรษฐกิจของประเทศ ปัจจุบันภาวะเรือนกระจก ภาวะโลกร้อนส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตของพวกเราทุกคน รวมถึงพลังงานซึ่งถือเป็นปัจจัยพื้นฐานสำคัญในการใช้ชีวิต เห็นได้ว่าในทุก ๆ ปี โลกของเราจะต้องเผชิญกับวิกฤตขาดแคลนพลังงาน  ทิศทางพลังงานโลกจึงมุ่งเปลี่ยนผ่านสู่พลังงานสะอาดเพื่อแก้ปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ช่วยรักษาสมดุลทางธรรมชาติไม่ให้ถูกทำลายจากก๊าซพิษต่าง ๆ ที่ทำให้เกิดสภาวะโลกร้อน ช่วยลดผลกระทบต่อระบบนิเวศ และยกระดับคุณภาพชีวิตความเป็นอยู่และสุขภาพของผู้คนให้ดีขึ้นในระยะยาว รวมถึงกระตุ้นการลงทุนให้เกิดการหมุนเวียนทางเศรษฐกิจของประเทศ  ตามแผนการดำเนินงานของกระทรวงพลังงานปี 2566 การเลือกใช้พลังงานสะอาดหรือพลังงานหมุนเวียนมีความสำคัญต่อการพัฒนาเศรษฐกิจควบคู่ไปกับการรักษาสิ่งแวดล้อม และคุณภาพชีวิต   ประเทศเพื่อนบ้าน เผชิญวิกฤตพลังงาน  ล่าสุดสถานการณ์ของประเทศเพื่อนบ้านอย่างประเทศเวียดนาม ที่กำลังเผชิญวิกฤตพลังงานไฟฟ้าขาดแคลนอย่างหนักมาตั้งแต่กลางเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา และส่อแววยืดเยื้อ ถึงขั้นต้องประกาศเวียนดับไฟฟ้าทั่วประเทศเพื่อรับมือกับความต้องการใช้ไฟฟ้าที่เพิ่มสูงขึ้น โดยบางพื้นที่อาจต้องดับไฟฟ้านานกว่า 7 ชั่วโมง สะท้อนถึงปัญหาความมั่นคงระบบไฟฟ้าและคุณภาพไฟฟ้าของเวียดนามที่ส่งผลกระทบต่อภาคการผลิต ความเชื่อมั่นของนักลงทุน และเศรษฐกิจของประเทศ  ปัญหาหลักคือทรัพยากรที่นำมาใช้ในการผลิตไฟฟ้าขาดแคลน และการบริหารจัดการพลังงานหมุนเวียน ที่มีกำลังผลิตติดตั้งถึง 27% ของกำลังผลิตไฟฟ้าทั้งหมด แต่สามารถผลิตไฟฟ้าได้จริงราว 13% เนื่องจากสามารถผลิตไฟฟ้าได้เฉพาะบางช่วงเวลาเท่านั้น ตัวอย่างเช่น การผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์มีเพียงพอต่อความต้องการใช้ไฟฟ้าเฉพาะในช่วงกลางวันเท่านั้น แต่ไม่สามารถกักเก็บไว้จ่ายไฟฟ้าในช่วงที่ความต้องการใช้ไฟฟ้าสูงหรือช่วงที่ขาดแคลนไฟฟ้าได้ เช่นเดียวกับการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานลมที่สามารถผลิตไฟฟ้าได้ดีที่สุดในช่วงเดือนธันวาคม-กุมภาพันธ์ ทำให้เวียดนามยังต้องเผชิญความเสี่ยงขาดแคลนไฟฟ้าแม้จะมีกำลังผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนจำนวนมากอยู่ในระบบ และปฏิเสธไม่ได้ว่าการพึ่งพาการผลิตไฟฟ้าจากโรงไฟฟ้าพลังน้ำและโรงไฟฟ้าพลังงานความร้อนจากถ่านหินและก๊าซธรรมชาติยังมีความจำเป็น วิกฤตขาดแคลนพลังงานไฟฟ้าในเวียดนามกลายเป็นกรณีศึกษาที่บ่งชี้ว่า การบริหารจัดการระบบไฟฟ้าที่มุ่งเน้นที่ค่าไฟฟ้าในระดับต่ำที่สุดเพียงอย่างเดียวอาจไม่ใช่คำตอบของนักลงทุน เพราะการขาดแคลนไฟฟ้าเพียงไม่กี่ชั่วโมงสามารถสร้างความเสียหายทางธุรกิจอย่างมหาศาล   ไม่ใช่แค่มีไฟฟ้าใช้ แต่สร้างความเชื่อมั่นและมั่นใจให้เศรษฐกิจไทยเดินหน้าอย่างมีเสถียรภาพ สำหรับประเทศไทยเอง ก็ได้มีการนำพลังงานหมุนเวียนมาใช้ในการผลิตไฟฟ้ามากขึ้น […]

Renewable Energy : พลังงานแห่งอนาคตที่ไม่มีวันหมดสิ้น

Renewable Energy : พลังงานแห่งอนาคตที่ไม่มีวันหมดสิ้น เทคโนโลยีเกิดใหม่หลายๆ ประเภท เช่น โมบายล์อินเทอร์เน็ต (mobile internet) รถยนต์ไร้คนขับ (autonomous vehicle) และจีโนมิกส์ (genomics) กำลังจะสร้างความเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ให้กับโลกใบนี้ บรรดาเทคโนโลยีใหม่ๆ เหล่านี้ กำลังแพร่กระจายไปในทุกภาคส่วน แต่ก็ใช่ว่าเทคโนโลยีใหม่ทุกประเภทจะก่อให้เกิดความเปลี่ยนแปลงต่อภาคส่วนธุรกิจหรือสังคม มีเพียงแค่บางประเภทเท่านั้นที่มีแนวโน้มจะส่งผลกระทบต่อเทคโนโลยียุคเก่าให้เปลี่ยนจากหน้ามือเป็นหลังมือ หรือที่ปกติเราเรียกกันว่า disruption นั่นเอง รวมถึงเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตของผู้คนไปอย่างสิ้นเชิง ถึงแม้ว่าความก้าวหน้าทางด้านเทคโนโลยีจะมีผลดีช่วยขับเคลื่อนระบบเศรษฐกิจให้เดินไปได้ แต่ในขณะเดียวกันก็ก่อให้เกิดความเปลี่ยนแปลงที่ไม่อาจหลีกเลี่ยงได้ ผู้นำทั้งทางฝั่งรัฐบาล และภาคส่วนธุรกิจไม่เพียงแค่ต้องทำความเข้าใจในเทคโนโลยีใหม่ๆ เหล่านี้ แต่จะต้องเตรียมตัวรับมือกับผลกระทบครั้งใหญ่นี้ให้พร้อมก่อนที่จะสายเกินแก้   รูปที่ 1 พลังงานแสงอาทิตย์ คือ พลังงานแห่งอนาคต ที่มา: https://www.thaisolarenergy.com/index.php/solar-farm-thailand/ หนึ่งในเทคโนโลยีใหม่ที่จะเข้ามามีบทบาทต่อชีวิตประจำวันของทุกคนอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ คือ เทคโนโลยีการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียน หรือ renewable energy นั่นเอง สำหรับ renewable energy นั้นถือเป็นแหล่งพลังงานที่ยั่งยืน เพราะได้มาจากแหล่งพลังงานที่มีปริมาณไม่จำกัด เช่น แสงอาทิตย์ แม่น้ำ ลม […]

การเงินสำหรับธุรกิจสีเขียวเพื่อความยั่งยืน (Green and Sustainable Finance)

ปัจจุบันสิ่งแวดล้อมถือเป็นประเด็นสำคัญที่กำลังส่งผลกระทบทั้งต่อสุขภาพประชาชน และระบบเศรษฐกิจทั่วโลก หลายประเทศให้ความใส่ใจต่อการเปลี่ยนแปลงทางสภาพภูมิอากาศ (Climate Change) ที่มีความรุนแรงมากขึ้น จึงออกนโยบาย และแผนดำเนินการเพื่อมุ่งสู่เป้าหมาย ‘การลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์’ (Net Zero Emission) ขณะที่ผู้บริโภค และธุรกิจก็หันมาใช้สินค้า และบริการที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมเพิ่มขึ้น สถาบันการเงินต่างๆ ถือว่ามีบทบาทสำคัญในเรื่องการเปลี่ยนผ่าน (Net Zero Transition) โดยได้ปรับตัวรองรับเทรนด์นี้โดยออกผลิตภัณฑ์ทางการเงินสีเขียวที่ยั่งยืน (Green and Sustainable Finance) ในรูปแบบต่างๆ เช่น สินเชื่อสีเขียว (Green Loan) ตราสารหนี้สีเขียว (Green Bond) เพื่อสร้างแรงจูงใจให้กับภาคธุรกิจ และอุตสาหกรรมในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก (Green House Gas:  GHG) และเพื่อเปลี่ยนผ่านสู่ ‘เศรษฐกิจสีเขียว’ ที่ดีต่อสิ่งแวดล้อมให้เร็วขึ้น เพื่อการบรรลุเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน (Sustainable Development) และเป้าหมายด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศอย่างเป็นรูปธรรม องค์กร UN Environment Programme (UNEP) ได้กำหนด 5 แนวทางเพื่อใช้เป็นหลักการในการใช้เครื่องมือทางการเงินเพื่อสนับสนุนการพัฒนาด้านสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน ซึ่งประกอบด้วย […]

7 วิธี รีไซเคิลคาร์บอนไดออกไซด์ นำกลับมาใช้ประโยชน์ใหม่

ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (Carbon dioxide) หรือ CO2 ปัจจัยสำคัญที่ก่อให้เกิดภาวะเรือนกระจกและปัญหาโลกร้อน ถูกปลดปล่อยออกมาจากกิจกรรมการผลิตสินค้าต่างๆ ที่ใช้อยู่ในชีวิตประจำวัน ไม่ว่าจะเป็นถ้วยกาแฟที่เราดื่ม รองเท้าที่เราใส่ รถยนต์ที่เราขับ รวมถึงบ้านที่อยู่อาศัย แต่นับเป็นเรื่องดีที่เทคโนโลยีสมัยใหม่สามารถดักจับ CO2 มารีไซเคิลได้หลากหลายวิธี และนำกลับมาใช้ให้เกิดประโยชน์ได้อีกด้วย การดักจับและกักเก็บคาร์บอน หรือ CCS เป็นเทคโนโลยีสำคัญที่จะช่วยลดการปล่อย CO2 จากอุตสาหกรรมที่ขจัดก๊าซคาร์บอนฯ ได้ยาก โดยเอเชียตะวันออกเฉียงใต้  มีศักยภาพเพียงพอที่จะกักเก็บ CO2 ได้ถึง 300,000 ล้านตัน* แต่บางเทคโนโลยีซึ่งกำลังอยู่ในขั้นแรกของการพัฒนา ได้ก้าวไปถึงขั้นการนำ CO2 กลับมาใช้ใหม่      ซึ่งจะเกิดประโยชน์มากกว่าการกักเก็บเอาไว้เฉยๆ โดย CO2 ทั่วโลกราว 230 ล้านตัน** จะถูกนำกลับมาใช้ทุกปีในรูปแบบต่างๆ ถึง 7 วิธี ดังนี้ 1. ด้านอาหารและเครื่องดื่ม สามารถใช้ CO2 เพื่อขจัดคาเฟอีนออกโดยไม่ส่งผลกระทบต่อรสชาติของกาแฟ ซึ่ง CO2 ที่ดักจับมาได้ อาจใช้เติมฟองในเครื่องดื่มอย่างโซดาและเบียร์ และอาจใช้ช่วยป้องกันไม่ให้ไวน์เสีย หรือเพื่อรักษาความสดของอาหารสำเร็จรูปบรรจุห่อได้ด้วย 2. ด้านเสื้อผ้าและเครื่องประดับ […]

พพ. จัดสอบหลักสูตรผู้รับผิดชอบด้านพลังงานสามัญโรงงาน (ผชร.) สำหรับผู้ผ่านการอบรมออนไลน์ (E-Learning) ครั้งที่ 2/2566

เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 8 มิถุนายน 2566 ทางกรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน (พพ.) โดย กองพัฒนาทรัพยากรบุคคลด้านพลังงาน (กพบ.) ได้ทำการจัดสอบหลักสูตรผู้รับผิดชอบด้านพลังงานสามัญโรงงาน สำหรับผู้ผ่านการอบรมออนไลน์ (E-Learning) ครั้งที่ 2/2566 ณ อาคารอนุรักษ์พลังงานเฉลิมพระเกียรติ ต.คลองห้า อ.คลองหลวง จ.ปทุมธานี โดยมีผู้ลงทะเบียนเข้าสอบในหลักสูตรนี้ จำนวน 354 ท่าน เมื่อสอบผ่านสามารถแต่งตั้งเป็นผู้รับผิดชอบด้านพลังงานประจำโรงงานควบคุมนั้นๆได้ และในการสอบครั้งนี้ ทาง พพ. ได้ขอความร่วมมือผู้เข้าสอบทุกท่านให้สวมหน้ากากอนามัยตลอดระยะเวลาในการสอบ ซึ่งได้รับความร่วมมือเป็นอย่างดีจากผู้เข้าสอบทุกท่าน

พลังงานความร้อนใต้พิภพ การนำเอาพลังงานความร้อนมาใช้

     พลังงานความร้อนใต้พิภพ หรือมีชื่อเรียกอีก ชื่อคือ พลังงานอุณหธรณี เป็นการที่เราเจาะนำพลังงานความร้อนที่อยู่ในใต้ดิน ซึ่งเราต้องเจาะให้ถึงแกนกลางของโลกที่มีอุณหภูมิสูงถึง 5,000 องศาเซลเซียส ซึ่งทำให้น้ำที่ถูกเก็บไว้ในโพรงของชั้นหิน จนกลายเป็นไอน้ำดันขึ้นมาสูงพื้นดินลอยขึ้นมาสูงชั้นบรรยากาศ แล้วจะทำให้กลายเป็นเมฆ แล้วก็ตกลงมาเป็นฝน จึงได้เกิดเป็นพลังงานหมุนเวียน นิยมใช้ในการผลิตกระแสไฟฟ้า ตอนนี้มี 24 ประเทศที่ผลิตไฟฟ้าด้วยพลังงานความร้อนใต้พิภพ แหล่งพลังงานความร้อนใต้พิภพที่พบในโลกแบ่งเป็นลักษณะใหญ่ ๆ ได้ 3 ลักษณะ คือ แหล่งที่เป็นไอน้ำส่วนใหญ่ (Steam Dominated) เป็นแหล่งกักเก็บความร้อนที่ประกอบด้วยไอน้ำมากกว่า 95% โดยทั่วไปมักจะเป็นแหล่งที่ใกล้กับหินหลอมเหลวร้อนที่อยู่ตื้น ๆ  อุณหภูมิของไอน้ำร้อนจะสูงกว่า 240 องศาเซลเซียสขึ้นไป แหล่งที่เป็นไอน้ำส่วนใหญ่นี้จะพบน้อยมากในโลกเรา แต่สามารถนำมาใช้ผลิตกระแสไฟฟ้าได้มากที่สุด เช่น The Geyser Field  ในมลรัฐแคลิฟอร์เนีย ประเทศสหรัฐอเมริกา และ Larderello ในประเทศอิตาลี เป็นต้น แหล่งที่เป็นน้ำร้อนส่วนใหญ่ (Hot Water Dominated) เป็นแหล่งกักเก็บสะสมความร้อนที่ประกอบไปด้วย น้ำร้อนเป็นส่วนใหญ่ อุณหภูมิน้ำร้อนจะมีตั้งแต่ 100 องศาเซลเซียสขึ้นไป ระบบนี้จะพบมากที่สุดในโลก เช่นที่ Cerro Prieto ในประเทศเม็กซิโก และ Hatchobaru ในประเทศญี่ปุ่น เป็นต้น แหล่งหินร้อนแห้ง  (Hot Dry Rock)  เป็นแหล่งสะสมความร้อนที่เป็นหินเนื้อแน่นแต่ไม่มีน้ำร้อนหรือไอน้ำไหลหมุนเวียนอยู่ ดังนั้น ถ้าจะนำมาใช้จำเป็นต้องอัดน้ำเย็นลงไปทางหลุมเจาะให้น้ำได้รับความร้อนจากหินร้อนโดยไหลหมุนเวียนภายในรอยแตกที่กระทำขึ้นจากนั้นก็ทำการสูบน้ำร้อนนี้ขึ้นมาทางหลุมเจาะอีกหลุมหนึ่ง  ซึ่งเจาะลงไปให้ตัดกับรอยแตกดังกล่าว […]

1 2 3 4 5