ไฮโดรเจน พลังงานทางเลือกใหม่ ขับเคลื่อนไทยสู่เป้าหมาย Carbon Neutrality
“ไฮโดรเจน” นับเป็นพลังงานทางเลือกที่ตอบโจทย์ในการลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ด้วยคุณสมบัติของการเป็นแหล่งพลังงานสะอาดที่ไม่มีสี ไม่มีกลิ่น เมื่อเผาไหม้ก็ไม่ทําให้เกิดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ทําให้ไฮโดรเจนได้รับการคาดหมายว่าจะเป็น “พลังงานแห่งอนาคต” ในขณะที่หลายประเทศทั่วโลก เช่น สหรัฐอเมริกา เยอรมนี อังกฤษ และญี่ปุ่น ได้มีการวิจัยและพัฒนาในเรื่องนี้อย่างต่อเนื่อง ส่วนในประเทศไทย เองก็ได้มีการใช้ประโยชน์จากเชื้อเพลิงไฮโดรเจนใน 3 ภาคส่วนหลัก ได้แก่ ภาคอุตสาหกรรม กลุ่มอุตสาหกรรมที่มีการใช้พลังงานความร้อนสูง เช่น อุตสาหกรรมเหล็กและเหล็กกล้า อะลูมิเนียม ซีเมนต์ เคมีภัณฑ์ การกลั่นนํ้ามัน ภาคการผลิตไฟฟ้า ใช้ไฮโดรเจนเป็นเชื้อเพลิงโดยตรง หรือนําไปผสมกับก๊าซธรรมชาติในการผลิตไฟฟ้าด้วยกังหันก๊าซไฮโดรเจน ผ่านกระบวนการเผาไหม้โดยตรง หรือผลิตพลังงานไฟฟ้าจากเทคโนโลยีเซลล์เชื้อเพลิง เช่น โรงไฟฟ้าลําตะคอง ภาคการขนส่ง ยังไม่แพร่หลายในเชิงพาณิชย์ ส่วนใหญ่เป็นโครงการวิจัยและสาธิต ไฮโดรเจนสามารถนํามาใช้ผลิตเชื้อเพลิงสังเคราะห์สําหรับเครื่องยนต์สันดาปภายใน หรือใช้ในรถยนต์ไฟฟ้าแบบเซลล์เชื้อเพลิง จากผลการศึกษาของสำนักงานนโยบายและแผนพลังงานจึงนำมาสู่แนวทางการพัฒนาและส่งเสริมการใช้ไฮโดรเจนของประเทศไทย เพื่อผลักดันให้บรรลุเป้าหมายและสอดคล้องกับยุทธศาสตร์ 4 ด้าน ซึ่งประกอบด้วย (1) พัฒนาตลาดและสร้างแรงจูงใจให้กับผู้ใช้ (2) ส่งเสริมการวิจัยและพัฒนาอุตสาหกรรม (3) พัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน และ (4) ปรับปรุงกฎระเบียบและมาตรฐาน ซึ่งการดําเนินการพัฒนาพลังงานไฮโดรเจนของไทยจะแบ่งออกเป็น 3 […]
ทำไม“ประหยัดพลังงาน” ช่วยชาติได้ ?
เศรษฐกิจโลกที่เริ่มฟื้นตัวจากการยกเลิกมาตรการคุมเข้มโควิด-19 ในหลายประเทศ รวมถึงประเทศไทยที่อยู่ระหว่างการปรับโควิด-19 เป็นโรคประจำถิ่น ภาคอุตสาหกรรมและภาคธุรกิจต่าง ๆ จึงกลับมาดำเนินธุรกิจตามปกติอีกครั้งส่งผลให้ความต้องการใช้พลังงานทั่วโลกสูงขึ้น ราคาพลังงานจึงขยับสูงขึ้นเป็นเงาตามตัวไปด้วย แต่แล้วความขัดแย้งระหว่างรัสเซียกับยูเครนที่ปะทุขึ้นเปรียบเสมือนมรสุมลูกใหญ่ที่ซัดเข้ามาซ้ำเติมวิกฤตด้านพลังงานโลกให้สั่นคลอนอีกระลอกหนึ่ง จนราคาพลังงานในตลาดโลกเกิดความผันผวนและมีราคาสูงเป็นประวัติการณ์ ในขณะที่ประเทศไทยจำเป็นต้องนำเข้าพลังงานจากต่างประเทศ ทั้งน้ำมันดิบ และก๊าซธรรมชาติ เนื่องจากแหล่งพลังงานในประเทศมีไม่เพียงพอจึงได้รับผลกระทบจากวิกฤตราคาพลังงานอย่างหนัก แม้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องจะพยายามแก้ไขปัญหา ปรับแผนการบริหารจัดการเชื้อเพลิงของประเทศเพื่อลดต้นทุน แต่บรรเทาผลกระทบได้เพียงบางส่วนเท่านั้น ทำให้ภาครัฐผู้กำหนดนโยบายจำเป็นต้องขอความร่วมมือจากภาคประชาชนให้มาประหยัดพลังงานช่วยชาติฝ่าวิกฤตพลังงานอีกทางหนึ่ง ประหยัดพลังงานช่วยชาติ ลดการนำเข้าเชื้อเพลิงราคาสูง การประหยัดพลังงานถือเป็นวิธีแก้ปัญหาที่ก่อให้เกิดผลดีต่อทุกฝ่าย โดยเฉพาะประชาชนผู้ใช้ไฟฟ้าที่จะได้ประโยชน์สูงสุดในการช่วยลดรายจ่ายของครอบครัว ขณะเดียวกันก็ส่งผลพลอยได้ทำให้ปริมาณการใช้พลังงานในภาพรวมของประเทศลดลงจึงช่วยลดความเสี่ยงในการขาดแคลนพลังงานของประเทศ ส่งผลให้การนำเข้าน้ำมันและก๊าซธรรมชาติ (LNG) ที่มีราคาแพงจากต่างประเทศลดลงตามไปด้วย โดยเฉพาะภาคการผลิตไฟฟ้าที่ต้นทุนส่วนใหญ่คือค่าเชื้อเพลิงการสั่งเดินเครื่องโรงไฟฟ้านั้นจะเริ่มจากโรงไฟฟ้าที่มีต้นทุนต่ำสุดไปถึงโรงไฟฟ้าที่มีต้นทุนสูงสุด ดังนั้นหากการใช้ไฟฟ้าลดลง การผลิตไฟฟ้าในระบบก็ไม่ต้องเดินเครื่องโรงไฟฟ้าที่ใช้ LNG เป็นเชื้อเพลิงซึ่งมีต้นทุนสูงในขณะนี้เข้ามาในระบบ ส่งผลให้ต้นทุนค่าเอฟทีในภาพรวมลดลงและเป็นประโยชน์ต่อค่าไฟฟ้า ดังนั้นการช่วยประหยัดพลังงานคนไม้คนละมือของคนไทยทุกคนจึงเปรียบเสมือนการหยอดกระปุกออมสินที่ทำให้ประเทศไทยลดการพึ่งพาการนำเข้าเชื้อเพลิงจากต่างประเทศและมีเสถียรภาพทางพลังงานเพิ่มขึ้น ประหยัดพลังงาน ประหยัดเงิน เริ่มง่าย ๆ ได้ที่ตัวเรา การประหยัดพลังงานจึงเป็นเครื่องมือสำคัญที่ทั่วโลกยึดถือปฏิบัติในยามที่เกิดวิกฤตพลังงาน เพราะเป็นวิธีง่าย ๆ ที่ทุกคนในประเทศสามารถปฏิบัติได้ อาทิ ปรับเปลี่ยนนิสัยที่ทำให้สิ้นเปลืองพลังงาน เช่น ปิดสวิตซ์และถอดปลั๊กเครื่องใช้ไฟฟ้าทันทีเมื่อเลิกใช้งาน ปรับอุณหภูมิเครื่องปรับอากาศให้สูงขึ้นหรือไม่ต่ำกว่า 26 องศาเซลเซียส ล้างเครื่องปรับอากาศเป็นประจำทุก 6 เดือน ซักผ้าหรือรีดผ้าครั้งละมาก ๆลดการเปิด-ปิดประตูตู้เย็นทิ้งไว้นานเกินความจำเป็นและไม่ใส่ของแน่นตู้จนเกินไป เลือกเครื่องใช้ไฟฟ้าที่มีประสิทธิภาพสูงประหยัดไฟ โดยสังเกตจากฉลากประหยัดไฟฟ้าเบอร์ 5 ติดดาว และดูแลอุปกรณ์ไฟฟ้าให้อยู่ในสภาพดีพร้อมใช้งานอยู่เสมอ […]
2567 ปีแห่งความท้าทายการสร้างความมั่นคงทางพลังงาน
ในปีที่ผ่านมากระทรวงพลังงาน และรัฐบาล พยายามหาหนทางลดค่าใช้จ่ายในเรื่องราคาพลังงาน ไม่ว่าจะเป็นค่าไฟฟ้า ค่าน้ำมันเชื้อเพลิง และค่าก๊าซหุงต้ม จนสามารถช่วยลดภาระค่าครองชีพของพี่น้องประชาชนลงได้ อย่างไรก็ตาม ในปี 2567 นี้ ยังมีเรื่องที่ท้าทายกว่าให้รัฐบาล กระทรวงพลังงาน และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องด้านพลังงาน ต้องเร่งดำเนินการหาทางออกให้เร็วที่สุด ซึ่งก็คือ การแสวงหาแหล่งพลังงานใหม่ๆ และการรักษาระดับการผลิตปิโตรเลียมให้ได้ปริมาณตามเป้าหมายและแผนที่วางไว้ เพราะการเริ่มต้นสำรวจหาแหล่งปิโตรเลียมไปจนถึงขั้นตอนการผลิตจะใช้ระยะเวลายาวนานหลายปี ประกอบกับแหล่งปิโตรเลียม ทั้งแหล่งก๊าซธรรมชาติ และแหล่งน้ำมันดิบในปัจจุบัน เกือบทั้งหมดเป็นแหล่งที่มีการผลิตขึ้นมาใช้ประโยชน์เป็นเวลานานหลายสิบปีแล้ว ทำให้มีปริมาณสำรองลดน้อยลงทุกปี ปี 2567 จึงถือเป็นปีแห่งความท้าทายในการสร้างความมั่นคงทางพลังงานของประเทศไทยอย่างแท้จริง เรื่องแรกก็คือ การสำรวจและผลิตปิโตรเลียมรอบที่ 25 ในแปลงพื้นที่บนบก โดยสิ่งสำคัญอย่างหนึ่งที่ต้องดำเนินการคือการแสวงหาแนวทางดำเนินงานอย่างบูรณาการร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง โดยเฉพาะในเรื่องรายละเอียดของการกำหนดพื้นที่สำหรับเปิดให้ยื่นขอสิทธิเพื่อการสำรวจและผลิตปิโตรเลียม และขั้นตอนการยื่นคำขอเข้าใช้พื้นที่ให้มีความชัดเจน เช่น การดำเนินกิจกรรมบนบกที่บางแปลงสัมปทานจำเป็นต้องมีการขออนุญาตใช้พื้นที่เพื่อเข้าทำการสำรวจหรือผลิตในพื้นที่ที่อยู่ภายใต้การกำกับดูแลของหน่วยงานเจ้าของพื้นที่ ได้แก่ กรมป่าไม้ กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่าและพันธุ์พืช นิคมสร้างตนเองสำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม (ส.ป.ก.) เป็นต้น ทั้งนี้เพื่อให้สามารถดำเนินการรองรับการเปิดให้ยื่นขอสิทธิสำรวจและผลิตปิโตรเลียมบนบกหรือ Bidding round รอบ 25 ได้ โดยกรมมีแผนจะเสนอรัฐบาลชุดนี้เพื่อดำเนินการต่อไป เพื่อให้เกิดประโยชน์ต่อประเทศในการสร้างความมั่นคงด้านพลังงาน ลดการพึ่งพาการนำเข้าจากต่างประเทศ สร้างรายได้และกระตุ้นการหมุนเวียนในเศรษฐกิจของประเทศเพิ่มขึ้น เรื่องที่สอง เรื่องการเจรจาข้อพิพาทพื้นที่อ้างสิทธิทับซ้อนทางทะเลกับรัฐบาลประเทศกัมพูชา เพื่อสร้างความตกลงระหว่างประเทศในเรื่องผลประโยชน์และความมั่นคงด้านพลังงาน หากการเจรจามีความคืบหน้า และมีแนวทางที่ชัดเจนก็จะทำให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องในเรื่องนี้ดำเนินการเรื่องต่าง ๆ ต่อไปได้ อีกหนึ่งความท้าทาย ในปี 2567 ที่กระทรวงพลังงาน โดยกรมเชื้อเพลิงธรรมชาติ ต้องดำเนินการคือการเร่งติดตามการกำกับดูแลการผลิตก๊าซธรรมชาติจากแหล่งเอราวัณ ให้สามารถกลับมาผลิตในปริมาณที่กำหนดไว้ตามแผนงานได้โดยเร็วที่สุด นอกจากความมั่นคงด้านพลังงานจากการแสวงหาแหล่งพลังงานเพิ่มเติมแล้ว ความท้าทายอีกเรื่องหนึ่งที่กรมเชื้อเพลิงธรรมชาติ ตระหนักและดำเนินการควบคู่ไปเสมอคือการคำนึงถึงการดูแลสิ่งแวดล้อม และในปี 2567 การดำเนินงานในเรื่องเกี่ยวกับการพัฒนาเทคโนโลยีการดักจับ การใช้ประโยชน์ และการกักเก็บคาร์บอน (CCUS) ก็เป็นอีกงานหนึ่งที่กรมจะผลักดันให้เห็นผลมากขึ้น เพื่อให้สอดคล้องกับนโยบายการลดก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ ในปี ค.ศ. 2065 โดยขณะนี้ก็ได้มีโครงการนำร่องด้านการกักเก็บ Co2 ในพื้นที่แหล่งก๊าซธรรมชาติอาทิตย์ และนอกจากนั้นก็ยังจำเป็นจะต้องมีการกำหนดหลักเกณฑ์และแนวทางในการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีดังกล่าวให้มีความชัดเจน รวมทั้งอาจต้องมีการร่วมมือระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการหามาตรการจูงใจด้านการค้าและการลงทุนเกี่ยวกับเทคโนโลยีดังกล่าว เพื่อให้การดำเนินงานเกิดประสิทธิภาพสูงสุด แม้ว่าภารกิจสำคัญในการสร้างความมั่นคงทางพลังงานจะไม่อาจสำเร็จลุล่วงทุกขั้นตอนภายในเวลาเพียงปีเดียว แต่หากสร้างความชัดเจน และกำหนดทิศทาง กรอบความร่วมมือกับทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องได้ จะช่วยให้การดำเนินงานในขั้นตอนต่างๆ ในลำดับถัดไป สามารถเดินหน้าโครงการต่างๆ […]
โลกป่วย เพราะช่องโหว่ในโอโซน🧐
“มองไม่เห็น แต่มีอยู่จริง” ประโยคสั้นๆ ที่ไม่ได้หมายถึง “สิ่งเร้นลับ” แต่บอกเล่าถึงความสำคัญของบรรยากาศโลก ที่นอกจากจะเป็นอากาศให้เราหายใจกันในทุกๆ วันแล้ว บรรยากาศของโลกยังมีความสำคัญต่อสิ่งมีชีวิตอย่างยิ่ง นอกจากจะช่วยทำให้เกิดกระบวนการต่างๆ ที่จำเป็นต่อการดำรงชีวิต เช่น การหายใจ การได้ยินเสียง ฯลฯ แล้ว ยังช่วยปรับอุณหภูมิของโลกให้เหมาะกับการดำรงชีวิตอีกด้วย 🌏 บรรยากาศของโลก แบ่งเป็นชั้นบรรยากาศต่างๆ และหนึ่งในนั้นคือ สตราโทสเฟียร์ (Stratosphere) ซึ่งเป็นชั้นบรรยากาศของโลกชั้นที่ 2 สูงขึ้นจากพื้นดินประมาณ 10-50 กิโลเมตร เป็นชั้นที่เครื่องบินมักบินอยู่ พวกมันมีอากาศเบาบาง แต่ถือว่ามีก๊าซโอโซนมากที่สุด และคอยดูดซับรังสีอัลตราไวโอเลต หรือ ยูวี (UV) จากดวงอาทิตย์ทั้งสองประเภทหลักที่อันตราย คือ UVA และ UVB ได้ถึง 98% แต่รู้หรือไม่ว่า ชั้นโอโซนที่สำคัญนี้กลับมีสัดส่วนเพียง 0.00006% ของชั้นบรรยากาศโลกทั้งหมดเท่านั้น และกำลังค่อยๆ บางลง รวมถึงมีช่องโหว่ของชั้นบรรยากาศเกิดขึ้นในหลายแห่งทั่วโลก 👉แล้วอะไรจะเกิดขึ้นถ้าชั้นโอโซนโลกที่คอยดูดซับรังสี UVA และ UVB หายไป?!! ลองมาจินตนาการถึงความน่ากลัวของรังสีเหล่านี้ […]
ความแตกต่างระหว่างระบบขายไฟ Net Billing และ Net Metering
ตามมติ ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี ในช่วงกลางปีที่ผ่านมา ได้รับทราบผลการศึกษาเรื่อง การส่งเสริมการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์แบบติดตั้งบนหลังคา (Solar Rooftop) ระบบหักลบจากหน่วยไฟฟ้าที่ประชาชนใช้ไฟฟ้าในเดือนถัดไป (Net Metering) และเห็นชอบว่ายังไม่สามารถใช้ได้ในประเทศไทย โดยให้คงการคิดค่าไฟฟ้าแบบ Net Billing ที่ให้ประชาชนนำกระแสไฟฟ้าที่เหลือจากที่ผลิตได้ขายให้การไฟฟ้าฝ่ายจำหน่าย คือ การไฟฟ้านครหลวง (กฟน.) และการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟภ.) ในอัตรารับซื้อ 2.20 บาท/หน่วย เหตุผลหลักมาจากข้อจำกัดที่ยังไม่มีระเบียบและข้อกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับมูลค่าฐานภาษีที่จะรองรับวิธีคำนวณ รวมทั้งปัญหาด้านเทคนิคของระบบโครงข่ายไฟฟ้า และที่สำคัญคือ กระทบต่อประชาชนผู้ใช้ไฟฟ้าทั่วประเทศ ที่ต้องรับภาระจากต้นทุนการรับซื้อไฟฟ้าที่สูงขึ้น โดยเฉพาะผู้มีรายได้น้อยและบ้านอยู่อาศัยที่ไม่สามารถติดตั้งได้ วันนี้จึงอยากชวนมาทำความรู้จักกับระบบขายไฟฟ้าของโครงการ Solar Rooftop ที่กล่าวถึงทั้งระบบ Net Billing และระบบ Net Metering ว่ามีความแตกต่างกันอย่างไร Net Billing คือ ระบบการคำนวณค่าไฟฟ้าแบบคิดแยกระหว่างค่าซื้อไฟฟ้าจากการไฟฟ้าเข้าสู่บ้าน กับ ค่าขายไฟฟ้าที่ผลิตจากโซลาร์เซลล์ให้การไฟฟ้า และนำเงินค่าขายไฟฟ้ามาหักลบกัน โดยหน่วยเครดิตซึ่งหมายถึงหน่วยเก็บสะสมไฟฟ้าที่ผลิตได้เกินจะอยู่ในรูปแบบ “หน่วยเงิน” ซึ่งราคารับซื้อไฟฟ้าจะขึ้นอยู่กับการกำหนดนโยบายของภาครัฐ มีข้อดีด้านความยืดหยุ่นในการปรับราคาค่าไฟฟ้าที่ไหลเข้าสู่ระบบโครงข่ายเพื่อให้เข้ากับสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงในอนาคตได้ง่าย เป็นกลไกช่วยบริหารต้นทุนการรับซื้อไฟฟ้าของผู้ให้บริการไฟฟ้าในพื้นที่นั้นๆ ระบบ Net Billing ราคาค่าไฟฟ้าที่ขายคืนเข้าระบบโครงข่ายไฟฟ้าในหลายประเทศมักกำหนดให้ต่ำกว่าอัตราค่าไฟฟ้าขายปลีกของการไฟฟ้าซึ่งรวมถึงไทยด้วย ปัจจุบันอัตรารับซื้อไฟฟ้าเข้าระบบอยู่ที่ […]
ทบทวนการชดเชยเชื้อเพลิงชีวภาพ ยังมีเวลาถึงปี 2569
หากไม่มีอะไรเปลี่ยนแปลง วันที่ 24 กันยายน พ.ศ. 2567 กองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงจะต้องยกเลิกการอุดหนุนเชื้อเพลิงชีวภาพหลังจากได้ขยายระยะเวลาดำเนินการจ่ายเงินชดเชยราคาน้ำมันเชื้อเพลิงที่มีส่วนผสมของเชื้อเพลิงชีวภาพออกไป 2 ปี เหตุผลของการอุดหนุนนี้เพื่อจูงใจให้เกิดการใช้น้ำมันเชื้อเพลิงที่มีส่วนผสมของเชื้อเพลิงชีวภาพ (ไบโอดีเซล และเอทานอล) โดยอาศัยกลไกกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงในการชดเชยส่วนต่างราคาขายปลีก และเป็นการช่วยเหลือเกษตรกรให้มีรายได้จากการขายพืชผลทางการเกษตร อาทิ ปาล์มน้ำมัน อ้อย มันสำปะหลัง บทบาทอีกด้านหนึ่งของกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงตามพระราชบัญญัติกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง พ.ศ. 2562 ในบทเฉพาะกาลมาตรา 55 คือการลดการจ่ายเงินชดเชยราคาน้ำมันเชื้อเพลิงที่มีส่วนผสมของเชื้อเพลิงชีวภาพภายใน 3 ปีหลังจากกฎหมายบังคับใช้ หรือภายในวันที่ 24 กันยายน พ.ศ. 2565 แต่สามารถขยายเวลาต่อได้อีกไม่เกิน 2 ครั้ง ครั้งละไม่เกิน 2 ปี และได้ขยายระยะเวลาครั้งแรกไปแล้ว และจะสิ้นสุดระยะเวลาในวันที่ 24 กันยายน พ.ศ.2567 หรือในปีหน้า ซึ่งเมื่อใกล้ถึงระยะเวลาดังกล่าวคงจะต้องมีการพิจารณาสถานการณ์ของเชื้อเพลิงชีวภาพว่ามีทิศทางอย่างไร ในระหว่างนี้ สำนักงานกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง (สกนช.) ได้ติดตามข้อมูลของอุตสาหกรรมเชื้อเพลิงชีวภาพเพื่อประเมินสถานการณ์และดูความพร้อมของภาคอุตสาหกรรมเชื้อเพลิงชีวภาพหากต้องยกเลิกการชดเชยราคาน้ำมันเชื้อเพลิงที่มีส่วนผสมของเชื้อเพลิงชีวภาพว่ามีศักยภาพในการปรับตัวมากน้อยเพียงใด โดยจากการได้พบปะแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับผู้ผลิตไบโอดีเซลและเอทานอล ได้เห็นแนวโน้มว่าอุตสาหกรรมไบโอดีเซลที่ใช้ผลผลิตทางการเกษตรจากปาล์มน้ำมันเป็นวัตถุดิบหลักยังพัฒนาต่อยอดไปสู่อุตสาหกรรมอื่นๆ ได้ไม่หลากหลายนัก โดยยังคงพึ่งพิงนโยบายและมาตรการสนับสนุนจากภาครัฐเป็นหลัก ทั้งจากนโยบายพลังงานทดแทน มาตรการเพิ่มสัดส่วนไบโอดีเซลในน้ำมันดีเซล หน่วยงานที่เกี่ยวข้องจึงต้องเข้ามาช่วยสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับปาล์มน้ำมันมากขึ้น ในขณะที่อุตสาหกรรมเอทานอลถือว่ามีศักยภาพพัฒนาไปสู่อุตสาหกรรมได้หลากหลายกว่า อาทิ อุตสาหกรรมไบโอพลาสติก ยาและเครื่องสำอาง […]
งานครบรอบ 20 ปี อาคารอนุรักษ์พลังงานเฉลิมพระเกียรติ สู่ปีแห่ง คน เครื่องจักร และระบบการจัดการพลังงานอัจฉริยะ เพื่อมุ่งสู่ความเป็นกลางทางคาร์บอน (Carbon Neutrality)
คลิป 20 ปี อาคารอนุรักษ์พลังงานเฉลิมพระเกียรติ พิธีเปิด เสวนา(1) เสวนา(2) เมื่อวันศุกร์ที่ 17 พฤศจิกายน 2566 นายพีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน เป็นประธานใน “งานครบรอบ 20 ปี อาคารอนุรักษ์พลังงานเฉลิมพระเกียรติ สู่ปีแห่ง คน เครื่องจักร และระบบการจัดการพลังงานอัจฉริยะ เพื่อมุ่งสู่ความเป็นกลางทางคาร์บอน (Carbon Neutrality)” เปิดเผยว่า อาคารอนุรักษ์พลังงานเฉลิมพระเกียรติ แห่งนี้นับเป็นความภูมิใจของกระทรวงพลังงานในการเป็นต้นแบบอาคารด้านการอนุรักษ์พลังงานของประเทศไทยแห่งแรก ๆ และเป็นอาคารสำหรับจัดฝึกอบรมด้านการอนุรักษ์พลังงานให้กับบุคลากรของโรงงานและอาคารควบคุม และนอกข่ายควบคุม หรือเอสเอ็มอี ซึ่งปัจจุบันถือเป็นกลุ่มที่มีการใช้พลังงานสูง รวมถึงส่งเสริมการใช้เครื่องจักร อุปกรณ์ที่มีเทคโนโลยีที่ทันสมัยด้วยมาตรการด้านกฎหมาย การเงิน มาตรการจูงใจแล้ว ด้านการพัฒนาบุคลากร ซึ่งถือเป็นปัจจัยหลักในการจัดการพลังงานภายในองค์กรมายาวนานกว่า 20 ปี ซึ่งตลอดระยะเวลาที่ผ่านมาอาคารแห่งนี้ได้สร้างคุณประโยชน์ทางด้านการอนุรักษ์พลังงาน และพลังงานทดแทนให้คนหลาย ๆ รุ่น รวมทั้งได้แสดงให้เห็นถึงศักยภาพและเผยแพร่ความสำเร็จด้านการอนุรักษ์พลังงาน ตลอดจนการใช้พลังงานทดแทนผ่านเทคโนโลยีและนวัตกรรมใหม่ ๆ มาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด ทั้งในภาคอุตสาหกรรม อาคารธุรกิจ และครัวเรือน
พลังงานสะอาด ทางเลือก ทางรอดของอนาคต🌍
ความรุนแรงของภาวะโลกรวน หรือ Climate Change ที่ทวีความปั่นป่วนในทุกประเทศทั่วโลกนั้น ส่งผลให้สภาพภูมิอากาศในแต่ละฤดูกาลเกิดการเปลี่ยนแปลงแบบสุดขั้ว อย่างช่วงหน้าร้อนของเมืองไทยปีนี้ก็มีดัชนีความร้อนสูงสุดเป็นประวัติการณ์ ทั้งยังทุบสถิติปริมาณการใช้ไฟฟ้าสูงสุดในรอบหลายปีของประเทศไทยอีกด้วย !!⚡ ☀️พระอาทิตย์ที่ร้อนแรงแบบไม่ลดราวาศอก จนใครๆ ต่างก็บ่นว่า ร้อนจนละลาย แต่หนาวจะตายเมื่อเห็นบิลค่าไฟฟ้าที่มีราคาแพงลิบลิ่ว ซึ่งขณะเดียวกันก็ทำให้ประชาชนคนไทยเริ่มหันมาตื่นตัวและให้ความสนใจเรื่องของพลังงานแสงอาทิตย์ ซึ่งเป็นพลังงานสะอาดที่ไม่ต้องซื้อหา และสามารถนำมาใช้ให้เกิดประโยชน์ได้ในทุกภาคส่วนของสังคม เริ่มจาก ภาคครัวเรือน ที่สามารถติดตั้งแผงโซลาร์เซลล์บนหลังคาบ้าน รวมถึงการใช้อุปกรณ์ที่ใช้พลังงานแสงอาทิตย์ เช่น โซลาร์พาวเวอร์แบงก์ แบตเตอรี่สำรองไฟแบบพกพาที่มีการติดตั้งแผงโซลาร์เซลล์ไว้ด้วย เพื่อช่วยแบ่งเบาภาระค่าไฟได้ในระยะยาว ในขณะที่ ภาคชุมชนเมือง ก็สามารถติดตั้งโซลาร์เซลล์ให้กับอุปกรณ์ต่างๆ ในพื้นที่สถานะ เช่น ไฟถนน ป้ายบอกทาง กล้องวงจรปิด เพื่อความปลอดภัยของประชาชนและยังช่วยให้ประเทศชาติประหยัด รวมทั้งช่วยกันส่งเสริมการใช้ยานยนต์ไฟฟ้า ซึ่งระบบขนส่งสาธารณะก็มีการใช้ยานพาหนะที่ขับเคลื่อนด้วยพลังงานสะอาดมาให้บริการ เช่น เรือไฟฟ้า ที่ให้บริการในเส้นทางเดินเรือคลองผดุงกรุงเกษม ไม่เพียงช่วยประหยัดพลังงาน ยังช่วยลดมลพิษทางน้ำและทางอากาศในระยะยาว อีกทั้งมีส่วนช่วยคืนความยั่งยืน สร้างคุณภาพชีวิตที่ดีให้แก่คนในชุมชนและนักท่องเที่ยว รวมถึงสนับสนุนการใช้รถเมล์ EV ที่มีการนำรถเมล์ที่ใช้แล้ว 20 ปี ของขสมก. มาดัดแปลงให้เป็น EV BUS ที่ส่งผลดีต่อสิ่งแวดล้อม ลดก๊าซเรือนกระจก […]