dhrddede@gmail.com

พิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ “การพัฒนาหลักสูตรและกิจกรรมด้านการอนุรักษ์พลังงานและพลังงานทดแทน” ระหว่าง พพ. กับ หน่วยงานและสถาบันอุดมศึกษา

เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 24 กุมภาพันธ์ 2565 กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน (พพ.) โดย ดร.ประเสริฐ สินสุขประเสริฐ อธิบดีกรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน ประธานในพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ “การพัฒนาหลักสูตรและกิจกรรมด้านการอนุรักษ์พลังงานและพลังงานทดแทน” ระหว่าง พพ. กับ หน่วยงานและสถาบันอุดมศึกษา จำนวน 6 แห่ง ได้แก่ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี มหาวิทยาลัยรามคำแหง และมูลนิธิอนุรักษ์พลังงานแห่งประเทศไทย ณ อาคารอนุรักษ์พลังงานเฉลิมพระเกียรติ อ.คลองหลวง จ.ปทุมธานี

การงดออกบัตรประจำตัวผู้รับผิดชอบด้านพลังงาน

กพบ. ของดให้บริการออกบัตรประจำตัวผู้รับผิดชอบด้านพลังงานและต่ออายุ สำหรับบุคลากรด้านพลังงานที่ปฏิบัติหน้าที่เป็นผู้รับผิดชอบด้านพลังงานในโรงงานควบคุมและอาคารควบคุม ทั้งในระดับสามัญและอาวุโส ทั้งนี้ บุคลากรที่ปฏิบัติหน้าที่เป็นผู้รับผิดชอบด้านพลังงาน สามารถปฏิบัติหน้าที่ตามกฎหมายกำหนดได้ตามปกติ โดยไม่ได้รับผลกระทบจากการงดให้บริการออกบัตรประจำตัวผู้รับผิดชอบด้านพลังงาน และการต่ออายุแต่อย่างใด โดยในขณะนี้ พพ. อยู่ในระหว่างการปรับปรุงรายละเอียดของกฎระเบียบ หรือข้อกฎหมายต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องเรื่องบัตรประจำตัวผู้รับผิดชอบด้านพลังงาน หากแล้วเสร็จ พพ. จะให้บริการออกบัตรประจำตัวผู้รับผิดชอบด้านพลังงานต่อไป จึงขออภัยมา ณ ที่นี้

การอนุรักษ์พลังงาน

พลังงาน คือ ความสามารถที่จะทำงานได้โดยอาศัยแรงงานที่มีอยู่แล้วตามธรรมชาติโดยตรง และที่มนุษย์ใช้ความรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีดัดแปลงมาจากพลังงานตามธรรมชาติ พลังงานเป็นสิ่งจำเป็นของมนุษย์ในโลกปัจจุบัน และทวีความสำคัญขึ้นเมื่อโลกยิ่งพัฒนามากยิ่งขึ้น การผลิตพลังงานค่อย ๆ เปลี่ยนไปเป็นการผลิตพลังงานที่ต้องอาศัยเทคโนโลยีในการผลิตมากยิ่งขึ้น แหล่งพลังงานมีหลากหลายทั้งพลังงานที่ได้จากการผลิตโดยมนุษย์ และพลังที่ได้จากธรรมชาติ สามารถแบ่งแหล่งพลังงานที่มนุษย์นำมาใช้ประโยชน์ได้ เป็น พลังงานจากซากฟอสซิล มวลชีวภาพ พลังงานน้ำ พลังงานลม พลังงานความร้อนใต้พิภพ พลังงานแสงอาทิตย์ พลังงานไฟฟ้าและพลังงานนิวเคลียร์ การใช้พลังงานต้องคำนึงถึงการประโยชน์ที่ได้รับ และผู้ใช้ต้องเห็นความสำคัญของพลังงานซึ่งในปัจจุบันเรากำลังเผชิญกับปัญหาราคาพลังงานที่เพิ่มสูงขึ้น การใช้พลังงานต้องรู้คุณค่า และมีประสิทธิภาพ จะต้องมีการวางแผน และควบคุมการใช้อย่างเต็มประสิทธิภาพและเกิดประโยชน์สูงสุดมีการลดการสูญเสียพลังงานทุกขั้นตอน มีการตรวจสอบและดูแลการใช้เครื่องใช้ไฟฟ้าตลอดเวลา เพื่อลดการรั่วไหลของพลังงาน หรือที่เรียกว่า การอนุรักษ์พลังงาน แนวทางในการอนุรักษ์พลังงานหรือการใช้พลังงานเชิงอนุรักษ์ การใช้พลังงานทดแทนโดยเฉพาะพลังงานที่ได้จากธรรมชาติ เช่น พลังงานแสงอาทิตย์ พลังงานลม พลังงานน้ำ และอื่น ๆ การเลือกใช้เครื่องมือและอุปกรณ์ที่มีประสิทธิภาพสูง เช่น เครื่องใช้ไฟฟ้าเบอร์ 5 หลอดผอมประหยัดไฟ เป็นต้น การเพิ่มประสิทธิภาพเชื้อเพลิง เช่น การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างทำให้เชื้อเพลิงให้พลังงานได้มากขึ้น การหมุนเวียนกลับมาใช้ใหม่ โดยการนำวัสดุที่ชำรุดนำมาซ่อมใช้ใหม่ การลดการทิ้งขยะที่ไม่จำเป็นหรือการหมุนเวียนกลับมาผลิตใหม่ (Recycle)

1 6 7 8 9 10