dhrddede@gmail.com

พิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือการจัดการฝึกอบรมหลักสูตรการตรวจประเมินในการออกแบบก่อสร้างหรือดัดแปลงอาคารเพื่อการอนุรักษ์พลังงาน

  พพ. จับมือ สจล. เดินหน้าขับเคลื่อนอาคารเพื่อการอนุรักษ์พลังงาน เร่งผลิตผู้ตรวจประเมินการออกแบบก่อสร้างหรือดัดแปลงอาคารเพื่อการอนุรักษ์พลังงาน คาดสามารถรองรับการขยายตัวของอาคารก่อสร้างใหม่ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ   เมื่อวันที่ 22 เมษายน 2567 นายวัฒนพงษ์ คุโรวาท อธิบดีกรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน (พพ.) และ รองศาสตราจารย์ คมสัน มาลีสี อธิการบดีสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง (สจล.) ได้ร่วมลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือการจัดการฝึกอบรมหลักสูตรการตรวจประเมินในการออกแบบก่อสร้างหรือดัดแปลงอาคารเพื่อการอนุรักษ์พลังงาน ณ อาคารอนุรักษ์พลังงานเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดปทุมธานี   โดยปัจจุบันเศรษฐกิจมีการขยายตัวทำให้มีการก่อสร้างอาคารใหม่ที่เพิ่มมากขึ้น จึงยังมีความต้องการผู้ตรวจประเมินการออกแบบก่อสร้างหรือดัดแปลงอาคารเพื่อการอนุรักษ์พลังงานอยู่ พพ.และ สจล. จึงได้ร่วมกันจัดฝึกอบรมหลักสูตรการตรวจประเมินในการออกแบบก่อสร้างหรือดัดแปลงอาคารเพื่อการอนุรักษ์พลังงาน   ตามประกาศกรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน เรื่อง การรับรองผู้ทำหน้าที่ผู้ตรวจประเมินในการออกแบบก่อสร้างหรือดัดแปลงอาคารเพื่อการอนุรักษ์พลังงาน พ.ศ. 2564 เมื่อวันที่ 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2564 โดยให้ภาคเอกชนมีส่วนร่วมในค่าใช้จ่ายเพื่อเป็นการประหยัดงบประมาณของภาครัฐ และเร่งผลิตบุคลากรผู้ตรวจและรับรองการออกแบบก่อสร้างหรือดัดแปลงอาคารเพื่อการอนุรักษ์พลังงานออกสู่ตลาดแรงงานให้เพียงพอ ซึ่งการจัดอบรมจะเป็นการนำหลักสูตรมาตรฐานที่ พพ. มีอยู่มาใช้ในการจัดฝึกอบรม ทั้งนี้ ผู้เข้ารับการฝึกอบรมที่ผ่านหลักสูตรนี้ สามารถมีสิทธิ์เข้ารับการทดสอบโดยใช้ข้อสอบมาตรฐานที่ พพ. กำหนด ซึ่งหากสอบผ่านจะได้รับวุฒิบัตรจาก […]

ไฮโดรเจน พลังงานทางเลือกใหม่ ขับเคลื่อนไทยสู่เป้าหมาย Carbon Neutrality

“ไฮโดรเจน” นับเป็นพลังงานทางเลือกที่ตอบโจทย์ในการลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ด้วยคุณสมบัติของการเป็นแหล่งพลังงานสะอาดที่ไม่มีสี ไม่มีกลิ่น เมื่อเผาไหม้ก็ไม่ทําให้เกิดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ทําให้ไฮโดรเจนได้รับการคาดหมายว่าจะเป็น “พลังงานแห่งอนาคต” ในขณะที่หลายประเทศทั่วโลก เช่น สหรัฐอเมริกา เยอรมนี อังกฤษ และญี่ปุ่น ได้มีการวิจัยและพัฒนาในเรื่องนี้อย่างต่อเนื่อง ส่วนในประเทศไทย เองก็ได้มีการใช้ประโยชน์จากเชื้อเพลิงไฮโดรเจนใน 3 ภาคส่วนหลัก ได้แก่ ภาคอุตสาหกรรม กลุ่มอุตสาหกรรมที่มีการใช้พลังงานความร้อนสูง เช่น อุตสาหกรรมเหล็กและเหล็กกล้า อะลูมิเนียม ซีเมนต์ เคมีภัณฑ์ การกลั่นนํ้ามัน ภาคการผลิตไฟฟ้า ใช้ไฮโดรเจนเป็นเชื้อเพลิงโดยตรง หรือนําไปผสมกับก๊าซธรรมชาติในการผลิตไฟฟ้าด้วยกังหันก๊าซไฮโดรเจน ผ่านกระบวนการเผาไหม้โดยตรง หรือผลิตพลังงานไฟฟ้าจากเทคโนโลยีเซลล์เชื้อเพลิง เช่น โรงไฟฟ้าลําตะคอง ภาคการขนส่ง ยังไม่แพร่หลายในเชิงพาณิชย์ ส่วนใหญ่เป็นโครงการวิจัยและสาธิต ไฮโดรเจนสามารถนํามาใช้ผลิตเชื้อเพลิงสังเคราะห์สําหรับเครื่องยนต์สันดาปภายใน หรือใช้ในรถยนต์ไฟฟ้าแบบเซลล์เชื้อเพลิง จากผลการศึกษาของสำนักงานนโยบายและแผนพลังงานจึงนำมาสู่แนวทางการพัฒนาและส่งเสริมการใช้ไฮโดรเจนของประเทศไทย เพื่อผลักดันให้บรรลุเป้าหมายและสอดคล้องกับยุทธศาสตร์ 4 ด้าน ซึ่งประกอบด้วย (1) พัฒนาตลาดและสร้างแรงจูงใจให้กับผู้ใช้ (2) ส่งเสริมการวิจัยและพัฒนาอุตสาหกรรม (3) พัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน และ (4) ปรับปรุงกฎระเบียบและมาตรฐาน ซึ่งการดําเนินการพัฒนาพลังงานไฮโดรเจนของไทยจะแบ่งออกเป็น 3 […]

ทำไม“ประหยัดพลังงาน” ช่วยชาติได้ ?

เศรษฐกิจโลกที่เริ่มฟื้นตัวจากการยกเลิกมาตรการคุมเข้มโควิด-19 ในหลายประเทศ รวมถึงประเทศไทยที่อยู่ระหว่างการปรับโควิด-19 เป็นโรคประจำถิ่น ภาคอุตสาหกรรมและภาคธุรกิจต่าง ๆ จึงกลับมาดำเนินธุรกิจตามปกติอีกครั้งส่งผลให้ความต้องการใช้พลังงานทั่วโลกสูงขึ้น ราคาพลังงานจึงขยับสูงขึ้นเป็นเงาตามตัวไปด้วย แต่แล้วความขัดแย้งระหว่างรัสเซียกับยูเครนที่ปะทุขึ้นเปรียบเสมือนมรสุมลูกใหญ่ที่ซัดเข้ามาซ้ำเติมวิกฤตด้านพลังงานโลกให้สั่นคลอนอีกระลอกหนึ่ง จนราคาพลังงานในตลาดโลกเกิดความผันผวนและมีราคาสูงเป็นประวัติการณ์ ในขณะที่ประเทศไทยจำเป็นต้องนำเข้าพลังงานจากต่างประเทศ ทั้งน้ำมันดิบ และก๊าซธรรมชาติ เนื่องจากแหล่งพลังงานในประเทศมีไม่เพียงพอจึงได้รับผลกระทบจากวิกฤตราคาพลังงานอย่างหนัก แม้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องจะพยายามแก้ไขปัญหา ปรับแผนการบริหารจัดการเชื้อเพลิงของประเทศเพื่อลดต้นทุน แต่บรรเทาผลกระทบได้เพียงบางส่วนเท่านั้น ทำให้ภาครัฐผู้กำหนดนโยบายจำเป็นต้องขอความร่วมมือจากภาคประชาชนให้มาประหยัดพลังงานช่วยชาติฝ่าวิกฤตพลังงานอีกทางหนึ่ง ประหยัดพลังงานช่วยชาติ ลดการนำเข้าเชื้อเพลิงราคาสูง การประหยัดพลังงานถือเป็นวิธีแก้ปัญหาที่ก่อให้เกิดผลดีต่อทุกฝ่าย โดยเฉพาะประชาชนผู้ใช้ไฟฟ้าที่จะได้ประโยชน์สูงสุดในการช่วยลดรายจ่ายของครอบครัว ขณะเดียวกันก็ส่งผลพลอยได้ทำให้ปริมาณการใช้พลังงานในภาพรวมของประเทศลดลงจึงช่วยลดความเสี่ยงในการขาดแคลนพลังงานของประเทศ ส่งผลให้การนำเข้าน้ำมันและก๊าซธรรมชาติ (LNG) ที่มีราคาแพงจากต่างประเทศลดลงตามไปด้วย โดยเฉพาะภาคการผลิตไฟฟ้าที่ต้นทุนส่วนใหญ่คือค่าเชื้อเพลิงการสั่งเดินเครื่องโรงไฟฟ้า​นั้นจะเริ่มจากโรงไฟฟ้าที่มีต้นทุนต่ำสุดไปถึงโรงไฟฟ้าที่มีต้นทุนสูงสุด ดังนั้นหากการใช้ไฟฟ้าลดลง การผลิตไฟฟ้าในระบบก็ไม่ต้องเดินเครื่องโรงไฟฟ้าที่ใช้ LNG เป็นเชื้อเพลิงซึ่งมีต้นทุนสูงในขณะนี้เข้ามาในระบบ ส่งผลให้ต้นทุนค่าเอฟทีในภาพรวมลดลงและเป็นประโยชน์ต่อค่าไฟฟ้า ดังนั้นการช่วยประหยัดพลังงานคนไม้คนละมือของคนไทยทุกคนจึงเปรียบเสมือนการหยอดกระปุกออมสินที่ทำให้ประเทศไทยลดการพึ่งพาการนำเข้าเชื้อเพลิงจากต่างประเทศและมีเสถียรภาพทางพลังงานเพิ่มขึ้น ประหยัดพลังงาน ประหยัดเงิน เริ่มง่าย ๆ ได้ที่ตัวเรา การประหยัดพลังงานจึงเป็นเครื่องมือสำคัญที่ทั่วโลกยึดถือปฏิบัติในยามที่เกิดวิกฤตพลังงาน เพราะเป็นวิธีง่าย ๆ ที่ทุกคนในประเทศสามารถปฏิบัติได้ อาทิ ปรับเปลี่ยนนิสัยที่ทำให้สิ้นเปลืองพลังงาน เช่น ปิดสวิตซ์และถอดปลั๊กเครื่องใช้ไฟฟ้าทันทีเมื่อเลิกใช้งาน ปรับอุณหภูมิเครื่องปรับอากาศให้สูงขึ้นหรือไม่ต่ำกว่า 26 องศาเซลเซียส ล้างเครื่องปรับอากาศเป็นประจำทุก 6 เดือน ซักผ้าหรือรีดผ้าครั้งละมาก ๆลดการเปิด-ปิดประตูตู้เย็นทิ้งไว้นานเกินความจำเป็นและไม่ใส่ของแน่นตู้จนเกินไป เลือกเครื่องใช้ไฟฟ้าที่มีประสิทธิภาพสูงประหยัดไฟ โดยสังเกตจากฉลากประหยัดไฟฟ้าเบอร์ 5 ติดดาว และดูแลอุปกรณ์ไฟฟ้าให้อยู่ในสภาพดีพร้อมใช้งานอยู่เสมอ […]

2567 ปีแห่งความท้าทายการสร้างความมั่นคงทางพลังงาน

ในปีที่ผ่านมากระทรวงพลังงาน และรัฐบาล พยายามหาหนทางลดค่าใช้จ่ายในเรื่องราคาพลังงาน ไม่ว่าจะเป็นค่าไฟฟ้า ค่าน้ำมันเชื้อเพลิง และค่าก๊าซหุงต้ม จนสามารถช่วยลดภาระค่าครองชีพของพี่น้องประชาชนลงได้   ​อย่างไรก็ตาม ในปี 2567 นี้ ยังมีเรื่องที่ท้าทายกว่าให้รัฐบาล กระทรวงพลังงาน และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องด้านพลังงาน ต้องเร่งดำเนินการหาทางออกให้เร็วที่สุด ซึ่งก็คือ การแสวงหาแหล่งพลังงานใหม่ๆ และการรักษาระดับการผลิตปิโตรเลียมให้ได้ปริมาณตามเป้าหมายและแผนที่วางไว้ เพราะการเริ่มต้นสำรวจหาแหล่งปิโตรเลียมไปจนถึงขั้นตอนการผลิตจะใช้ระยะเวลายาวนานหลายปี ประกอบกับแหล่งปิโตรเลียม ทั้งแหล่งก๊าซธรรมชาติ และแหล่งน้ำมันดิบในปัจจุบัน เกือบทั้งหมดเป็นแหล่งที่มีการผลิตขึ้นมาใช้ประโยชน์เป็นเวลานานหลายสิบปีแล้ว ทำให้มีปริมาณสำรองลดน้อยลงทุกปี   ปี 2567 จึงถือเป็นปีแห่งความท้าทายในการสร้างความมั่นคงทางพลังงานของประเทศไทยอย่างแท้จริง   เรื่องแรกก็คือ การสำรวจและผลิตปิโตรเลียมรอบที่ 25 ในแปลงพื้นที่บนบก โดยสิ่งสำคัญอย่างหนึ่งที่ต้องดำเนินการคือการแสวงหาแนวทางดำเนินงานอย่างบูรณาการร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง โดยเฉพาะในเรื่องรายละเอียดของการกำหนดพื้นที่สำหรับเปิดให้ยื่นขอสิทธิเพื่อการสำรวจและผลิตปิโตรเลียม และขั้นตอนการยื่นคำขอเข้าใช้พื้นที่ให้มีความชัดเจน เช่น การดำเนินกิจกรรมบนบกที่บางแปลงสัมปทานจำเป็นต้องมีการขออนุญาตใช้พื้นที่เพื่อเข้าทำการสำรวจหรือผลิตในพื้นที่ที่อยู่ภายใต้การกำกับดูแลของหน่วยงานเจ้าของพื้นที่ ได้แก่ กรมป่าไม้ กรมอุทยานแห่งชาติ  สัตว์ป่าและพันธุ์พืช นิคมสร้างตนเองสำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม (ส.ป.ก.) เป็นต้น ทั้งนี้เพื่อให้สามารถดำเนินการรองรับการเปิดให้ยื่นขอสิทธิสำรวจและผลิตปิโตรเลียมบนบกหรือ Bidding round รอบ 25 ได้ โดยกรมมีแผนจะเสนอรัฐบาลชุดนี้เพื่อดำเนินการต่อไป เพื่อให้เกิดประโยชน์ต่อประเทศในการสร้างความมั่นคงด้านพลังงาน ลดการพึ่งพาการนำเข้าจากต่างประเทศ สร้างรายได้และกระตุ้นการหมุนเวียนในเศรษฐกิจของประเทศเพิ่มขึ้น   เรื่องที่สอง เรื่องการเจรจาข้อพิพาทพื้นที่อ้างสิทธิทับซ้อนทางทะเลกับรัฐบาลประเทศกัมพูชา เพื่อสร้างความตกลงระหว่างประเทศในเรื่องผลประโยชน์และความมั่นคงด้านพลังงาน หากการเจรจามีความคืบหน้า และมีแนวทางที่ชัดเจนก็จะทำให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องในเรื่องนี้ดำเนินการเรื่องต่าง ๆ ต่อไปได้   อีกหนึ่งความท้าทาย ในปี 2567 ที่กระทรวงพลังงาน โดยกรมเชื้อเพลิงธรรมชาติ ต้องดำเนินการคือการเร่งติดตามการกำกับดูแลการผลิตก๊าซธรรมชาติจากแหล่งเอราวัณ ให้สามารถกลับมาผลิตในปริมาณที่กำหนดไว้ตามแผนงานได้โดยเร็วที่สุด นอกจากความมั่นคงด้านพลังงานจากการแสวงหาแหล่งพลังงานเพิ่มเติมแล้ว ความท้าทายอีกเรื่องหนึ่งที่กรมเชื้อเพลิงธรรมชาติ ตระหนักและดำเนินการควบคู่ไปเสมอคือการคำนึงถึงการดูแลสิ่งแวดล้อม และในปี 2567 การดำเนินงานในเรื่องเกี่ยวกับการพัฒนาเทคโนโลยีการดักจับ การใช้ประโยชน์ และการกักเก็บคาร์บอน (CCUS) ก็เป็นอีกงานหนึ่งที่กรมจะผลักดันให้เห็นผลมากขึ้น เพื่อให้สอดคล้องกับนโยบายการลดก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ ในปี ค.ศ. 2065 โดยขณะนี้ก็ได้มีโครงการนำร่องด้านการกักเก็บ Co2 ในพื้นที่แหล่งก๊าซธรรมชาติอาทิตย์ และนอกจากนั้นก็ยังจำเป็นจะต้องมีการกำหนดหลักเกณฑ์และแนวทางในการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีดังกล่าวให้มีความชัดเจน รวมทั้งอาจต้องมีการร่วมมือระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการหามาตรการจูงใจด้านการค้าและการลงทุนเกี่ยวกับเทคโนโลยีดังกล่าว เพื่อให้การดำเนินงานเกิดประสิทธิภาพสูงสุด   แม้ว่าภารกิจสำคัญในการสร้างความมั่นคงทางพลังงานจะไม่อาจสำเร็จลุล่วงทุกขั้นตอนภายในเวลาเพียงปีเดียว แต่หากสร้างความชัดเจน และกำหนดทิศทาง กรอบความร่วมมือกับทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องได้ จะช่วยให้การดำเนินงานในขั้นตอนต่างๆ ในลำดับถัดไป สามารถเดินหน้าโครงการต่างๆ […]

โลกป่วย เพราะช่องโหว่ในโอโซน🧐

“มองไม่เห็น แต่มีอยู่จริง” ประโยคสั้นๆ ที่ไม่ได้หมายถึง “สิ่งเร้นลับ” แต่บอกเล่าถึงความสำคัญของบรรยากาศโลก ที่นอกจากจะเป็นอากาศให้เราหายใจกันในทุกๆ วันแล้ว บรรยากาศของโลกยังมีความสำคัญต่อสิ่งมีชีวิตอย่างยิ่ง นอกจากจะช่วยทำให้เกิดกระบวนการต่างๆ ที่จำเป็นต่อการดำรงชีวิต เช่น การหายใจ การได้ยินเสียง ฯลฯ แล้ว ยังช่วยปรับอุณหภูมิของโลกให้เหมาะกับการดำรงชีวิตอีกด้วย 🌏 บรรยากาศของโลก แบ่งเป็นชั้นบรรยากาศต่างๆ และหนึ่งในนั้นคือ สตราโทสเฟียร์ (Stratosphere) ซึ่งเป็นชั้นบรรยากาศของโลกชั้นที่ 2 สูงขึ้นจากพื้นดินประมาณ 10-50 กิโลเมตร เป็นชั้นที่เครื่องบินมักบินอยู่ พวกมันมีอากาศเบาบาง แต่ถือว่ามีก๊าซโอโซนมากที่สุด และคอยดูดซับรังสีอัลตราไวโอเลต หรือ ยูวี (UV) จากดวงอาทิตย์ทั้งสองประเภทหลักที่อันตราย คือ UVA และ UVB ได้ถึง 98% แต่รู้หรือไม่ว่า ชั้นโอโซนที่สำคัญนี้กลับมีสัดส่วนเพียง 0.00006% ของชั้นบรรยากาศโลกทั้งหมดเท่านั้น และกำลังค่อยๆ บางลง รวมถึงมีช่องโหว่ของชั้นบรรยากาศเกิดขึ้นในหลายแห่งทั่วโลก 👉แล้วอะไรจะเกิดขึ้นถ้าชั้นโอโซนโลกที่คอยดูดซับรังสี UVA และ UVB หายไป?!! ลองมาจินตนาการถึงความน่ากลัวของรังสีเหล่านี้ […]

1 2 3 4 5 12