dhrddede@gmail.com

เปิดโลกพลังงานสะอาด ทางเลือกที่ยั่งยืนเพื่อสิ่งแวดล้อมที่ดีกว่า

ในปัจจุบัน การใช้พลังงานเป็นปัจจัยสำคัญในการดำเนินชีวิต ไม่ว่าจะเป็นการใช้ไฟฟ้าในบ้าน การขับเคลื่อนยานพาหนะ หรือการดำเนินธุรกิจต่าง ๆ อย่างไรก็ตาม การใช้พลังงานจากฟอสซิล เช่น น้ำมัน ถ่านหิน และก๊าซธรรมชาติ อาจส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมก่อให้เกิดมลพิษทางอากาศ ภาวะโลกร้อน และปัญหามลพิษทางน้ำ พลังงานสะอาด จึงเป็นทางเลือกที่ยั่งยืนที่สามารถช่วยลดผลกระทบเหล่านี้ได้ แล้ว พลังงานสะอาดคืออะไร มีอะไรบ้าง บทความนี้มีคำตอบ พลังงานสะอาดมีอะไรบ้าง พลังงานสะอาด หมายถึง พลังงานที่ผลิตจากแหล่งพลังงานที่ไม่สร้างมลพิษต่อสิ่งแวดล้อม และมีการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในระดับต่ำหรือไม่มีเลย แหล่งพลังงานสะอาด ได้แก่ พลังงานแสงอาทิตย์ พลังงานลม พลังงานน้ำ และพลังงานชีวมวล พลังงานเหล่านี้ไม่เพียงแต่ช่วยลดการปล่อยมลพิษ แต่ยังเป็นแหล่งพลังงานที่ยั่งยืนและไม่หมดไปตามกาลเวลา ประโยชน์ของพลังงานสะอาด พลังงานสะอาดไม่เพียงแต่ช่วยลดผลกระทบที่เกิดจากการใช้พลังงานฟอสซิล แต่ยังมีประโยชน์ในด้านอื่น ๆ ที่ครอบคลุมถึงด้านเศรษฐกิจ สุขภาพ และความยั่งยืนของสังคมในระยะยาว อาทิ 1. ลดมลพิษทางอากาศ การใช้พลังงานสะอาดช่วยลดการปล่อยสารพิษและก๊าซเรือนกระจกที่เป็นสาเหตุของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และมีผลกระทบต่อสุขภาพของประชากร 2. ลดการพึ่งพาพลังงานฟอสซิล การหันมาใช้พลังงานสะอาดช่วยลดการพึ่งพาน้ำมันและถ่านหินที่มีปริมาณจำกัดและมีความผันผวนทางด้านราคา 3. สร้างงานและกระตุ้นเศรษฐกิจ อุตสาหกรรมพลังงานสะอาดสร้างงานในหลายภาคส่วน ไม่ว่าจะเป็น การติดตั้งและบำรุงรักษาแผงโซลาร์เซลล์ หรือกังหันลม นอกจากนี้ยังส่งเสริมการพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรมใหม่ ๆ 4. ความมั่นคงทางพลังงาน […]

พิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ “การบูรณาการเพื่อพัฒนาบุคลากร ด้านผู้รับผิดชอบด้านพลังงานสำหรับอาคารและโรงงานควบคุม และหลักสูตรผู้ตรวจสอบและรับรองการจัดการพลังงาน ด้วยระบบคุณวุฒิวิชาชีพ”

วันที่ 10 มีนาคม 2568 นางสาวนันธิกา ทังสุพานิช อธิบดีกรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน (พพ.) และ                นางสาวจุลลดา มีจุล ผู้อำนวยการสถาบันคุณวุฒิวิชาชีพ (องค์กรมหาชน) ร่วมลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ                  “การบูรณาการเพื่อพัฒนาบุคลากร ด้านผู้รับผิดชอบด้านพลังงานสำหรับอาคารและโรงงานควบคุม และหลักสูตรผู้ตรวจสอบและรับรองการจัดการพลังงาน ด้วยระบบคุณวุฒิวิชาชีพ” ณ ห้องประชุม อาคารอนุรักษ์พลังงานเฉลิมพระเกียรติ ตำบลคลองห้า อำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี

เรื่องควรรู้เกี่ยวกับกับโรงไฟฟ้านิวเคลียร์

ประเด็นเรื่อง ‘พลังงาน’ เป็นหัวข้อที่มีการถกและพูดถึงกันอย่างแพร่หลายในเวทีโลก ในประเทศที่พัฒนาแล้ว ภาคพลังงานถือเป็นภาคส่วนที่สำคัญที่สุดในการปล่อยก๊าซเรือนกระจก เพราะมักจะเป็นภาคส่วนที่ปล่อยเป็นอันดับต้น ๆ ของประเทศ ในขณะที่โลกกำลังวุ่นวายกับ Climate Change การลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจึงเป็นวาระสำคัญ และมีการกำหนดเป้าหมายกันอย่างเป็นนัยสำคัญในแต่ละประเทศ สิ่งที่เราต้องการเห็นคือการเปลี่ยนผ่านจากการใช้พลังงานแบบเดิม ไปสู่พลังงานทดแทนที่สะอาดและปลอดภัย ในโพสต์นี้ เราขอหยิบเอา ‘พลังงานนิวเคลียร์’ หนึ่งในทางเลือกที่มีศักยภาพในปัจจุบัน และประเทศไทยเองก็มีแผนที่จะสร้างโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งในการผลักดันแผนพัฒนากำลังการผลิตไฟฟ้าพลังงาน (PDP) หรือ แผนที่ว่าด้วยการจัดการหาพลังงานไฟฟ้าของประเทศ ในระยะยาว 15-20 ปี ‘ความปลอดภัย’ น่าจะเป็นท็อปคำศัพท์ที่เด้งมาในหัวของทุกคนที่กำลังอ่าน ว่าประเทศไทยจะไหวเหรอ ? ซึ่งก็ต้องบอกว่าเป็นข้อกังวลที่สมเหตุสมผล เพราะเหตุการณ์ที่สำคัญอย่างเชอร์โนบิลและฟุกุชิมะได้ทิ้งรอยประทับไว้ในสายตาของสาธารณชนทั่วโลก อย่างไรก็ตาม เหตุการณ์เหล่านี้เป็นเหมือน Outlier ในอุตสาหกรรมที่ก้าวหน้าอย่างมากในด้านความปลอดภัยในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา โรงไฟฟ้านิวเคลียร์สมัยใหม่ถูกสร้างขึ้นด้วยเทคโนโลยีขั้นสูง ควบคู่มากับมาตรการด้านความปลอดภัยที่เข้มข้นเข้มงวด มีการป้องกันหลายชั้น เช่น มีโดมกักเก็บที่ทำด้วยเหล็กและคอนกรีต เพื่อให้มั่นใจว่าแม้ในสภาวะที่รุนแรง รังสีก็ยังคงไม่รั่วไหลออกมา เครื่องปฏิกรณ์ในปัจจุบันมีระบบปิดโดยอัตโนมัติโดยที่ไม่ต้องมีคนเข้าไปแทรกแซงหากมีสิ่งผิดปกติเกิดขึ้น ในด้านสิ่งแวดล้อม ต้องบอกว่าพลังงานนิวเคลียร์เป็นทางเลือกที่สะอาด ไม่เหมือนถ่านหินหรือก๊าซธรรมชาติ เพราะโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ไม่มีการเผาอะไรเลย ดังนั้นจึงไม่มีการปล่อยมลพิษออกสู่อากาศ พลังงานนิวเคลียร์ไม่เพียงแต่ช่วยต่อสู้กับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศเท่านั้น แต่ยังเป็นพลังงานที่เสถียรภาพ สามารถให้ไฟฟ้าที่คงที่ได้ตลอด […]

V2G เทคโนโลยีเปลี่ยนโลกพลังงาน จาก EV สู่แหล่งพลังงานสำรอง

ในยุคที่การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและการค้นหาแหล่งพลังงานที่ยั่งยืนกลายเป็นประเด็นสำคัญ ยานยนต์ไฟฟ้า (Electric Vehicle: EV) กลายเป็นเทคโนโลยีที่ตอบโจทย์ทั้งการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก แต่ในขณะเดียวกัน EV ยังมีศักยภาพที่น่าสนใจในการทำหน้าที่เป็น “แบตเตอรี่เคลื่อนที่” หรือ Vehicle-to-Grid (V2G) เป็นแหล่งพลังงานสำรองให้กับบ้านและชุมชน ซึ่งสามารถนำไฟฟ้าที่สะสมในแบตเตอรี่กลับมาใช้ได้เมื่อจำเป็น ไม่ว่าจะเป็นในช่วงไฟฟ้าดับหรือในช่วงที่มีความต้องการพลังงานสูง เทคโนโลยี Vehicle-to-Grid (V2G) คืออะไร? V2G คือระบบที่ช่วยให้ยานยนต์ไฟฟ้าชาร์จไฟจากโครงข่ายไฟฟ้าและส่งพลังงานกลับสู่ Grid ได้เมื่อจำเป็น โดยใช้เทคโนโลยีการชาร์จไฟสองทิศทาง (Bi-directional Charging) ทำให้ EV ทำหน้าที่เป็นแหล่งสำรองพลังงานสำหรับระบบไฟฟ้าได้ เทคโนโลยีนี้ช่วยเพิ่มความเสถียรและประสิทธิภาพการจ่ายไฟฟ้า ในช่วงที่ระบบไฟฟ้ามีความต้องการใช้สูง หรือในกรณีฉุกเฉิน เช่น ไฟฟ้าดับ นอกจากนี้ยังนำมาใช้เพื่อลดค่าใช้จ่ายไฟฟ้าในบ้านได้ เนื่องจากสามารถดึงพลังงานจากแบตเตอรี่ EV มาใช้แทนการดึงพลังงานจากระบบโครงข่ายไฟฟ้า (Grid) ในช่วงที่ค่าไฟฟ้าแพงได้ การใช้ V2G ในระดับสากล ในหลายประเทศได้เริ่มทดลองและใช้งานเทคโนโลยี Vehicle-to-Grid (V2G) และ Vehicle-to-Home (V2H) เพื่อเสริมความยืดหยุ่นด้านพลังงานและลดค่าไฟฟ้า โดยมีการใช้ EV เป็นแหล่งพลังงานสำรองในหลายรูปแบบ ตัวอย่างที่น่าสนใจคือ ญี่ปุ่น และ ออสเตรเลีย ซึ่งต่างก็พยายามพัฒนาเทคโนโลยีนี้เพื่อประโยชน์ในเชิงพาณิชย์และชุมชนในประเทศ […]

เชื้อเพลิงฟอสซิล vs พลังงานสะอาด อะไรคือความสมดุลด้านพลังงาน

ในช่วงที่โลกกำลังหันมาให้ความสำคัญกับการนำพลังงานสะอาดมาใช้มากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นพลังงานแสงอาทิตย์ พลังงานลม ระบบกักเก็บพลังงาน และพลังงานที่มาจากไฮโดรเจน เพื่อจะช่วยลดผลกระทบจากปัญหาโลกร้อนให้ได้มากที่สุด หลายคนอาจจะคิดว่าการใช้เชื้อเพลิงจากฟอสซิลอย่างน้ำมันและก๊าซธรรมชาติจะมีความสำคัญลดลง แต่จากสถิติการใช้พลังงานแล้ว น้ำมันและก๊าซฯ ยังเป็นแหล่งพลังงานหลักของโลก โดยยังครองสัดส่วนกว่า 80% ของการใช้พลังงานทั่วโลก1 นั่นก็เพราะว่าการผลิตน้ำมันและก๊าซฯ ในโลก มีมายาวนานกว่า 2 ศตวรรษ มีการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานรองรับตั้งแต่การผลิตไปจนถึงการขนส่งไปถึงผู้ใช้ จนสามารถผลิตและใช้งานได้อย่างต่อเนื่อง จึงมีเสถียรภาพมากกว่าพลังงานสะอาด ซึ่งส่วนใหญ่มาจากพลังงานหมุนเวียน อย่าง ลม แสงอาทิตย์ และน้ำ แม้จะเป็นแหล่งพลังงานที่มีการปล่อยคาร์บอนน้อย ไปจนถึงไม่มีเลย แต่ก็มีข้อจำกัดเรื่องความไม่สม่ำเสมอในการผลิต เพราะต้องขึ้นอยู่กับสภาพอากาศและเวลา ข้อจำกัดด้านพื้นที่และภูมิประเทศ เพราะการติดตั้งโครงสร้างพื้นฐาน เช่น แผงโซลาร์เซลล์หรือกังหันลมต้องใช้พื้นที่ขนาดใหญ่ และภูมิประเทศที่เอื้ออำนวยรวมทั้งแสงแดดและลมที่ต้องแรงมากเพียงพอ ยังไม่นับรวมข้อจำกัดในการจัดเก็บพลังงานไว้ใช้ในช่วงที่ไม่สามารถผลิตพลังงานได้ด้วย ด้วยเหตุผลข้างต้น นอกจากน้ำมันและก๊าซฯ จะยังเป็นแหล่งพลังงานที่มีเสถียรภาพมากกว่าพลังงานสะอาดแล้ว ยังเป็นเชื้อเพลิงที่คนส่วนใหญ่เข้าถึงการใช้งานได้ โดยไม่ต้องแบกภาระค่าครองชีพมากเกินไป โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อพลังงานนั้นเป็นเชื้อเพลิงตั้งต้นของการผลิตไฟฟ้า เราจึงยังไม่สามารถเปลี่ยนไปใช้พลังงานสะอาดได้ทั้งหมดในทันที และยังจำเป็นต้องพึ่งพาน้ำมันและก๊าซฯ เป็นพลังงานหลักต่อไปอีกระยะหนึ่ง สิ่งที่กระทรวงพลังงานให้ความสำคัญเป็นอันดับแรก คือ ความมั่นคงด้านพลังงาน เพราะถ้าต้องการใช้พลังงานแต่เปิดไฟแล้วไฟไม่มา จะเป็นปัญหาใหญ่มากสำหรับภาคครัวเรือน ภาคธุรกิจและภาคอุตสาหกรรม ซึ่งสถานการณ์ของประเทศไทยวันนี้ถือว่าเรายังมีเสถียรภาพด้านพลังงาน ถึงจะไม่ต้องลุ้นว่าเปิดไฟแล้วไฟจะติดไหม แต่ปัจจุบัน ไทยยังเป็นประเทศนำเข้าพลังงานมากกว่าส่งออก […]

1 2 3 13