บทความ

REC vs Carbon Credit ต่างกันอย่างไร สรุปครบ – เข้าใจง่าย – พร้อมตัวอย่างจริง

  ธุรกิจยุคใหม่กำลังเผชิญกับแรงกดดันที่เพิ่มขึ้นทั้งจากผู้บริโภค นักลงทุน และหน่วยงานที่ทำหน้าที่กำกับดูแลให้ดำเนินธุรกิจอย่างยั่งยืนและมีความรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อม ใบรับรองการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียน (Renewable Energy Certificate) หรือ REC และคาร์บอนเครดิต Carbon Credit ซึ่งเป็นสิทธิที่เกิดจากการลดปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจก จึงกลายเป็นเครื่องมือสำคัญที่ช่วยให้ธุรกิจบรรลุเป้าหมายด้านการลดการปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์และก๊าซเรือนกระจก ช่วยสร้างความได้เปรียบทางการแข่งขัน วันนี้จะมาถอดรหัสความแตกต่างของเครื่องมือทั้งสองนี้ในการขับเคลื่อนพลังงานสะอาดที่สอดคล้องไปกับนโยบายด้านพลังงานของประเทศที่มุ่งสู่การเป็นสังคมเศรษฐกิจแบบ Net Zero REC (Renewable Energy Certificate) คือ ใบรับรองพลังงานหมุนเวียน ที่ยืนยันว่าไฟฟ้า 1 หน่วย (เมกะวัตต์ชั่วโมง-MWh) ถูกผลิตจากแหล่งพลังงานหมุนเวียน อาทิ แสงอาทิตย์ ลม น้ำ ชีวมวล  โดย REC เป็นกลไกที่ช่วยให้ธุรกิจสามารถ “อ้างสิทธิ์”(Claim) ในการใช้พลังงานสะอาด แม้ไฟฟ้าที่ใช้จริงจะผสมอยู่ในสายส่งเดียวกับไฟฟ้าจากเชื้อเพลิงฟอสซิลก็ตาม จุดประสงค์ เพื่อส่งเสริมการผลิตและการใช้พลังงานสะอาด ช่วยให้องค์กรสามารถอ้างสิทธิ์ได้ว่าใช้ไฟฟ้าที่มาจากพลังงานหมุนเวียน การนำไปใช้งาน ใช้เพื่อลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกที่เกิดจากการใช้ไฟฟ้า ในขอบเขตที่ 2 หรือเรียกว่า Scope 2 Emission กรณีตัวอย่างการใช้งาน – ธุรกิจด้านอิเล็กทรอนิกส์ที่มีโรงงานผลิตใช้พลังงานจำนวนมาก นิยมซื้อ REC เพื่อรายงานต่อบริษัทแม่ในต่างประเทศ – บริษัทโลจิสติกส์ขนาดกลางใช้ REC แทนการลงทุนโรงไฟฟ้าเองเพื่อแสดงความรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อม – […]

โซลาร์เซลล์ เทคโนโลยีการผลิตไฟฟ้าฮิตติดเทรนด์

    “พลังงานแสงอาทิตย์” คือ พลังงานที่กำลังได้รับความสนใจจากผู้คนทั่วโลก โดยเฉพาะในประเทศไทย จากข้อมูลของกูเกิ้ล เทรนด์ (Google Trends) พบว่ามีสถิติผู้ใช้อินเตอร์เน็ตในไทยค้นหาคำว่า ‘Solar cell’ ในกูเกิ้ลมากเป็นอันดับสองของโลกรองจากประเทศจีน ‘แผงเซลล์แสงอาทิตย์ หรือ แผงโซลาร์เซลล์ (Solar panel / Photovoltaics)’ คืออุปกรณ์สำคัญที่มีบทบาทสำคัญอย่างยิ่งยวดในการเก็บเกี่ยวพลังงานจากแสงอาทิตย์ ซึ่งถือเป็นทรัพยากรพลังงานที่มีเหลือล้นบนโลก โดยการแปลงความเข้มของแสงจากดวงอาทิตย์เป็นกระแสไฟฟ้า ในขณะที่แผงเซลล์แสงอาทิตย์มีส่วนในการผลิตกระแสไฟฟ้าไม่ถึงร้อยละ 2 ของการใช้ไฟฟ้าของโลกในปัจจุบัน แต่แผงเซลล์แสงอาทิตย์นั้นมีการขยายตัวอย่างก้าวกระโดดในช่วงทศวรรษที่ผ่านมา เนื่องจากราคาที่ลดลงเรื่อยๆ และความก้าวหน้าของเทคโนโลยีแผงเซลล์แสงอาทิตย์ ทำให้ระบบอุตสาหกรรมและประชาชนทั่วไปเข้าถึงระบบแผงเซลล์แสงอาทิตย์ได้ง่ายขึ้น แผงโซลาร์เซลล์เมื่อหมดอายุการใช้งาน ขยะจากแผงโซลาร์เซลล์ ที่ผ่านมารัฐบาลมีแผนส่งเสริมการผลิตไฟฟ้าจากเซลล์แสงอาทิตย์ให้ได้ 15,574 เมกะวัตต์ ภายในปี พ.ศ.2580 ซึ่งทำให้เกิดซากเซลล์แสงอาทิตย์และอุปกรณ์ประกอบจำนวนมาก ซึ่งประเมินกันว่าจะทำให้มีปริมาณของเสียสูงถึง 6 แสนตัน ผศ.ดร.พิชญ รัชฎาวงศ์ หัวหน้าห้องปฏิบัติการขยะ ภาควิชาวิศวกรรมสิ่งแวดล้อม คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในฐานะหัวหน้าชุดโครงการวิจัยร่วมสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) และการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) เรื่อง “การจัดการแผงเซลล์แสงอาทิตย์ที่หมดความคุ้มค่าในการผลิตไฟฟ้า” เปิดเผยว่า การผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ (โซลาร์เซลล์) ไม่ใช่พลังงานสะอาด 100% เพราะโซลาร์เซลล์ มีอายุการใช้งานเฉลี่ยราวๆ 20 ปี เมื่อหมดอายุขัยก็จะกลายเป็นขยะพิษ […]

โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ SMR ดีอย่างไร

โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ SMR ดีอย่างไร                 จากการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศของโลก ที่เห็นได้อย่างชัดเจนคือสภาวะที่อุณหภูมิของโลกร้อนขึ้น อันเกิดจากการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ทำให้หลายฝ่ายพยายามหาทางออกสำหรับเรื่องนี้ ในภาคพลังงานเอง ก็พยายามพัฒนาเทคโนโลยีของการผลิตพลังงานไฟฟ้าที่ไม่ปล่อยก๊าซเรือนกระจก ซึ่งพลังงานนิวเคลียร์ เป็นทางเลือกหนึ่งที่ได้รับความสนใจที่จะศึกษาและพัฒนาในหลายประเทศ โดยเป็นการพัฒนาโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ขนาดเล็ก (Small Modular Reactor: SMR) เพื่อเป็นทางเลือกหนึ่งของการผลิตไฟฟ้าที่จะไม่ปล่อยก๊าซเรือนกระจก โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ขนาดเล็ก หรือ Small Modular Reactor: SMR คืออะไร โรงไฟฟ้า SMR เป็นโรงไฟฟ้าที่ใช้ปฏิกิริยานิวเคลียร์ฟิชชั่น (Nuclear Fission) มาทำความร้อนและนำมาผลิตไอน้ำ และไอน้ำจะถูกนำไปหมุนกังหันผลิตไฟฟ้า ทั้งนี้โรงไฟฟ้า SMR จะมีการออกแบบเครื่องปฏิกรณ์เป็นรูปแบบโมดูล ซึ่งมีกำลังการผลิตไฟฟ้าไม่เกิน 300 เมกะวัตต์ต่อโมดูล (เทียบเท่าประมาณ 1 ใน 3 ของขนาดกำลังการผลิตไฟฟ้าของเตาปฏิกรณ์นิวเคลียร์แบบดั้งเดิม) โดยโมดูลนี้จะถูกผลิตและประกอบสำเร็จจากโรงงาน ทำให้ติดตั้งได้รวดเร็ว เทคโนโลยีของโรงไฟฟ้า SMR มีการพัฒนาขึ้น มีการลดความซับซ้อนของระบบ และทำให้ระบบมีความปลอดภัยมากขึ้น […]

เปิดโลกพลังงานสะอาด ทางเลือกที่ยั่งยืนเพื่อสิ่งแวดล้อมที่ดีกว่า

ในปัจจุบัน การใช้พลังงานเป็นปัจจัยสำคัญในการดำเนินชีวิต ไม่ว่าจะเป็นการใช้ไฟฟ้าในบ้าน การขับเคลื่อนยานพาหนะ หรือการดำเนินธุรกิจต่าง ๆ อย่างไรก็ตาม การใช้พลังงานจากฟอสซิล เช่น น้ำมัน ถ่านหิน และก๊าซธรรมชาติ อาจส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมก่อให้เกิดมลพิษทางอากาศ ภาวะโลกร้อน และปัญหามลพิษทางน้ำ พลังงานสะอาด จึงเป็นทางเลือกที่ยั่งยืนที่สามารถช่วยลดผลกระทบเหล่านี้ได้ แล้ว พลังงานสะอาดคืออะไร มีอะไรบ้าง บทความนี้มีคำตอบ พลังงานสะอาดมีอะไรบ้าง พลังงานสะอาด หมายถึง พลังงานที่ผลิตจากแหล่งพลังงานที่ไม่สร้างมลพิษต่อสิ่งแวดล้อม และมีการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในระดับต่ำหรือไม่มีเลย แหล่งพลังงานสะอาด ได้แก่ พลังงานแสงอาทิตย์ พลังงานลม พลังงานน้ำ และพลังงานชีวมวล พลังงานเหล่านี้ไม่เพียงแต่ช่วยลดการปล่อยมลพิษ แต่ยังเป็นแหล่งพลังงานที่ยั่งยืนและไม่หมดไปตามกาลเวลา ประโยชน์ของพลังงานสะอาด พลังงานสะอาดไม่เพียงแต่ช่วยลดผลกระทบที่เกิดจากการใช้พลังงานฟอสซิล แต่ยังมีประโยชน์ในด้านอื่น ๆ ที่ครอบคลุมถึงด้านเศรษฐกิจ สุขภาพ และความยั่งยืนของสังคมในระยะยาว อาทิ 1. ลดมลพิษทางอากาศ การใช้พลังงานสะอาดช่วยลดการปล่อยสารพิษและก๊าซเรือนกระจกที่เป็นสาเหตุของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และมีผลกระทบต่อสุขภาพของประชากร 2. ลดการพึ่งพาพลังงานฟอสซิล การหันมาใช้พลังงานสะอาดช่วยลดการพึ่งพาน้ำมันและถ่านหินที่มีปริมาณจำกัดและมีความผันผวนทางด้านราคา 3. สร้างงานและกระตุ้นเศรษฐกิจ อุตสาหกรรมพลังงานสะอาดสร้างงานในหลายภาคส่วน ไม่ว่าจะเป็น การติดตั้งและบำรุงรักษาแผงโซลาร์เซลล์ หรือกังหันลม นอกจากนี้ยังส่งเสริมการพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรมใหม่ ๆ 4. ความมั่นคงทางพลังงาน […]

เรื่องควรรู้เกี่ยวกับกับโรงไฟฟ้านิวเคลียร์

ประเด็นเรื่อง ‘พลังงาน’ เป็นหัวข้อที่มีการถกและพูดถึงกันอย่างแพร่หลายในเวทีโลก ในประเทศที่พัฒนาแล้ว ภาคพลังงานถือเป็นภาคส่วนที่สำคัญที่สุดในการปล่อยก๊าซเรือนกระจก เพราะมักจะเป็นภาคส่วนที่ปล่อยเป็นอันดับต้น ๆ ของประเทศ ในขณะที่โลกกำลังวุ่นวายกับ Climate Change การลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจึงเป็นวาระสำคัญ และมีการกำหนดเป้าหมายกันอย่างเป็นนัยสำคัญในแต่ละประเทศ สิ่งที่เราต้องการเห็นคือการเปลี่ยนผ่านจากการใช้พลังงานแบบเดิม ไปสู่พลังงานทดแทนที่สะอาดและปลอดภัย ในโพสต์นี้ เราขอหยิบเอา ‘พลังงานนิวเคลียร์’ หนึ่งในทางเลือกที่มีศักยภาพในปัจจุบัน และประเทศไทยเองก็มีแผนที่จะสร้างโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งในการผลักดันแผนพัฒนากำลังการผลิตไฟฟ้าพลังงาน (PDP) หรือ แผนที่ว่าด้วยการจัดการหาพลังงานไฟฟ้าของประเทศ ในระยะยาว 15-20 ปี ‘ความปลอดภัย’ น่าจะเป็นท็อปคำศัพท์ที่เด้งมาในหัวของทุกคนที่กำลังอ่าน ว่าประเทศไทยจะไหวเหรอ ? ซึ่งก็ต้องบอกว่าเป็นข้อกังวลที่สมเหตุสมผล เพราะเหตุการณ์ที่สำคัญอย่างเชอร์โนบิลและฟุกุชิมะได้ทิ้งรอยประทับไว้ในสายตาของสาธารณชนทั่วโลก อย่างไรก็ตาม เหตุการณ์เหล่านี้เป็นเหมือน Outlier ในอุตสาหกรรมที่ก้าวหน้าอย่างมากในด้านความปลอดภัยในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา โรงไฟฟ้านิวเคลียร์สมัยใหม่ถูกสร้างขึ้นด้วยเทคโนโลยีขั้นสูง ควบคู่มากับมาตรการด้านความปลอดภัยที่เข้มข้นเข้มงวด มีการป้องกันหลายชั้น เช่น มีโดมกักเก็บที่ทำด้วยเหล็กและคอนกรีต เพื่อให้มั่นใจว่าแม้ในสภาวะที่รุนแรง รังสีก็ยังคงไม่รั่วไหลออกมา เครื่องปฏิกรณ์ในปัจจุบันมีระบบปิดโดยอัตโนมัติโดยที่ไม่ต้องมีคนเข้าไปแทรกแซงหากมีสิ่งผิดปกติเกิดขึ้น ในด้านสิ่งแวดล้อม ต้องบอกว่าพลังงานนิวเคลียร์เป็นทางเลือกที่สะอาด ไม่เหมือนถ่านหินหรือก๊าซธรรมชาติ เพราะโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ไม่มีการเผาอะไรเลย ดังนั้นจึงไม่มีการปล่อยมลพิษออกสู่อากาศ พลังงานนิวเคลียร์ไม่เพียงแต่ช่วยต่อสู้กับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศเท่านั้น แต่ยังเป็นพลังงานที่เสถียรภาพ สามารถให้ไฟฟ้าที่คงที่ได้ตลอด […]

1 2 3 11