บทความ

ความแตกต่างระหว่างระบบขายไฟ Net Billing และ Net Metering

ตามมติ ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี ในช่วงกลางปีที่ผ่านมา ได้รับทราบผลการศึกษาเรื่อง การส่งเสริมการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์แบบติดตั้งบนหลังคา (Solar Rooftop) ระบบหักลบจากหน่วยไฟฟ้าที่ประชาชนใช้ไฟฟ้าในเดือนถัดไป (Net Metering) และเห็นชอบว่ายังไม่สามารถใช้ได้ในประเทศไทย โดยให้คงการคิดค่าไฟฟ้าแบบ Net Billing ที่ให้ประชาชนนำกระแสไฟฟ้าที่เหลือจากที่ผลิตได้ขายให้การไฟฟ้าฝ่ายจำหน่าย คือ การไฟฟ้านครหลวง (กฟน.) และการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟภ.) ในอัตรารับซื้อ 2.20 บาท/หน่วย เหตุผลหลักมาจากข้อจำกัดที่ยังไม่มีระเบียบและข้อกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับมูลค่าฐานภาษีที่จะรองรับวิธีคำนวณ รวมทั้งปัญหาด้านเทคนิคของระบบโครงข่ายไฟฟ้า และที่สำคัญคือ กระทบต่อประชาชนผู้ใช้ไฟฟ้าทั่วประเทศ ที่ต้องรับภาระจากต้นทุนการรับซื้อไฟฟ้าที่สูงขึ้น โดยเฉพาะผู้มีรายได้น้อยและบ้านอยู่อาศัยที่ไม่สามารถติดตั้งได้ วันนี้จึงอยากชวนมาทำความรู้จักกับระบบขายไฟฟ้าของโครงการ Solar Rooftop ที่กล่าวถึงทั้งระบบ Net Billing และระบบ Net Metering ว่ามีความแตกต่างกันอย่างไร Net Billing คือ ระบบการคำนวณค่าไฟฟ้าแบบคิดแยกระหว่างค่าซื้อไฟฟ้าจากการไฟฟ้าเข้าสู่บ้าน กับ ค่าขายไฟฟ้าที่ผลิตจากโซลาร์เซลล์ให้การไฟฟ้า และนำเงินค่าขายไฟฟ้ามาหักลบกัน โดยหน่วยเครดิตซึ่งหมายถึงหน่วยเก็บสะสมไฟฟ้าที่ผลิตได้เกินจะอยู่ในรูปแบบ “หน่วยเงิน” ซึ่งราคารับซื้อไฟฟ้าจะขึ้นอยู่กับการกำหนดนโยบายของภาครัฐ มีข้อดีด้านความยืดหยุ่นในการปรับราคาค่าไฟฟ้าที่ไหลเข้าสู่ระบบโครงข่ายเพื่อให้เข้ากับสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงในอนาคตได้ง่าย เป็นกลไกช่วยบริหารต้นทุนการรับซื้อไฟฟ้าของผู้ให้บริการไฟฟ้าในพื้นที่นั้นๆ ระบบ Net Billing ราคาค่าไฟฟ้าที่ขายคืนเข้าระบบโครงข่ายไฟฟ้าในหลายประเทศมักกำหนดให้ต่ำกว่าอัตราค่าไฟฟ้าขายปลีกของการไฟฟ้าซึ่งรวมถึงไทยด้วย ปัจจุบันอัตรารับซื้อไฟฟ้าเข้าระบบอยู่ที่ […]

ทบทวนการชดเชยเชื้อเพลิงชีวภาพ ยังมีเวลาถึงปี 2569

หากไม่มีอะไรเปลี่ยนแปลง วันที่ 24 กันยายน พ.ศ. 2567 กองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงจะต้องยกเลิกการอุดหนุนเชื้อเพลิงชีวภาพหลังจากได้ขยายระยะเวลาดำเนินการจ่ายเงินชดเชยราคาน้ำมันเชื้อเพลิงที่มีส่วนผสมของเชื้อเพลิงชีวภาพออกไป 2 ปี เหตุผลของการอุดหนุนนี้เพื่อจูงใจให้เกิดการใช้น้ำมันเชื้อเพลิงที่มีส่วนผสมของเชื้อเพลิงชีวภาพ (ไบโอดีเซล และเอทานอล) โดยอาศัยกลไกกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงในการชดเชยส่วนต่างราคาขายปลีก และเป็นการช่วยเหลือเกษตรกรให้มีรายได้จากการขายพืชผลทางการเกษตร อาทิ ปาล์มน้ำมัน อ้อย มันสำปะหลัง บทบาทอีกด้านหนึ่งของกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงตามพระราชบัญญัติกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง พ.ศ. 2562 ในบทเฉพาะกาลมาตรา 55 คือการลดการจ่ายเงินชดเชยราคาน้ำมันเชื้อเพลิงที่มีส่วนผสมของเชื้อเพลิงชีวภาพภายใน 3 ปีหลังจากกฎหมายบังคับใช้ หรือภายในวันที่ 24 กันยายน พ.ศ. 2565 แต่สามารถขยายเวลาต่อได้อีกไม่เกิน 2 ครั้ง ครั้งละไม่เกิน 2 ปี และได้ขยายระยะเวลาครั้งแรกไปแล้ว และจะสิ้นสุดระยะเวลาในวันที่ 24 กันยายน พ.ศ.2567 หรือในปีหน้า ซึ่งเมื่อใกล้ถึงระยะเวลาดังกล่าวคงจะต้องมีการพิจารณาสถานการณ์ของเชื้อเพลิงชีวภาพว่ามีทิศทางอย่างไร ในระหว่างนี้ สำนักงานกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง (สกนช.) ได้ติดตามข้อมูลของอุตสาหกรรมเชื้อเพลิงชีวภาพเพื่อประเมินสถานการณ์และดูความพร้อมของภาคอุตสาหกรรมเชื้อเพลิงชีวภาพหากต้องยกเลิกการชดเชยราคาน้ำมันเชื้อเพลิงที่มีส่วนผสมของเชื้อเพลิงชีวภาพว่ามีศักยภาพในการปรับตัวมากน้อยเพียงใด โดยจากการได้พบปะแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับผู้ผลิตไบโอดีเซลและเอทานอล ได้เห็นแนวโน้มว่าอุตสาหกรรมไบโอดีเซลที่ใช้ผลผลิตทางการเกษตรจากปาล์มน้ำมันเป็นวัตถุดิบหลักยังพัฒนาต่อยอดไปสู่อุตสาหกรรมอื่นๆ ได้ไม่หลากหลายนัก โดยยังคงพึ่งพิงนโยบายและมาตรการสนับสนุนจากภาครัฐเป็นหลัก ทั้งจากนโยบายพลังงานทดแทน มาตรการเพิ่มสัดส่วนไบโอดีเซลในน้ำมันดีเซล หน่วยงานที่เกี่ยวข้องจึงต้องเข้ามาช่วยสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับปาล์มน้ำมันมากขึ้น ในขณะที่อุตสาหกรรมเอทานอลถือว่ามีศักยภาพพัฒนาไปสู่อุตสาหกรรมได้หลากหลายกว่า อาทิ อุตสาหกรรมไบโอพลาสติก ยาและเครื่องสำอาง […]

งานครบรอบ 20 ปี อาคารอนุรักษ์พลังงานเฉลิมพระเกียรติ สู่ปีแห่ง คน เครื่องจักร และระบบการจัดการพลังงานอัจฉริยะ เพื่อมุ่งสู่ความเป็นกลางทางคาร์บอน (Carbon Neutrality)

คลิป 20 ปี อาคารอนุรักษ์พลังงานเฉลิมพระเกียรติ   พิธีเปิด  เสวนา(1)  เสวนา(2) เมื่อวันศุกร์ที่ 17 พฤศจิกายน 2566 นายพีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน เป็นประธานใน “งานครบรอบ 20 ปี อาคารอนุรักษ์พลังงานเฉลิมพระเกียรติ สู่ปีแห่ง คน เครื่องจักร และระบบการจัดการพลังงานอัจฉริยะ เพื่อมุ่งสู่ความเป็นกลางทางคาร์บอน (Carbon Neutrality)” เปิดเผยว่า อาคารอนุรักษ์พลังงานเฉลิมพระเกียรติ แห่งนี้นับเป็นความภูมิใจของกระทรวงพลังงานในการเป็นต้นแบบอาคารด้านการอนุรักษ์พลังงานของประเทศไทยแห่งแรก ๆ และเป็นอาคารสำหรับจัดฝึกอบรมด้านการอนุรักษ์พลังงานให้กับบุคลากรของโรงงานและอาคารควบคุม และนอกข่ายควบคุม หรือเอสเอ็มอี ซึ่งปัจจุบันถือเป็นกลุ่มที่มีการใช้พลังงานสูง รวมถึงส่งเสริมการใช้เครื่องจักร อุปกรณ์ที่มีเทคโนโลยีที่ทันสมัยด้วยมาตรการด้านกฎหมาย การเงิน มาตรการจูงใจแล้ว ด้านการพัฒนาบุคลากร ซึ่งถือเป็นปัจจัยหลักในการจัดการพลังงานภายในองค์กรมายาวนานกว่า 20 ปี ซึ่งตลอดระยะเวลาที่ผ่านมาอาคารแห่งนี้ได้สร้างคุณประโยชน์ทางด้านการอนุรักษ์พลังงาน และพลังงานทดแทนให้คนหลาย ๆ รุ่น รวมทั้งได้แสดงให้เห็นถึงศักยภาพและเผยแพร่ความสำเร็จด้านการอนุรักษ์พลังงาน ตลอดจนการใช้พลังงานทดแทนผ่านเทคโนโลยีและนวัตกรรมใหม่ ๆ มาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด ทั้งในภาคอุตสาหกรรม อาคารธุรกิจ และครัวเรือน  

พลังงานสะอาด ทางเลือก ทางรอดของอนาคต🌍

  ความรุนแรงของภาวะโลกรวน หรือ Climate Change ที่ทวีความปั่นป่วนในทุกประเทศทั่วโลกนั้น ส่งผลให้สภาพภูมิอากาศในแต่ละฤดูกาลเกิดการเปลี่ยนแปลงแบบสุดขั้ว อย่างช่วงหน้าร้อนของเมืองไทยปีนี้ก็มีดัชนีความร้อนสูงสุดเป็นประวัติการณ์ ทั้งยังทุบสถิติปริมาณการใช้ไฟฟ้าสูงสุดในรอบหลายปีของประเทศไทยอีกด้วย !!⚡ ☀️พระอาทิตย์ที่ร้อนแรงแบบไม่ลดราวาศอก จนใครๆ ต่างก็บ่นว่า ร้อนจนละลาย แต่หนาวจะตายเมื่อเห็นบิลค่าไฟฟ้าที่มีราคาแพงลิบลิ่ว ซึ่งขณะเดียวกันก็ทำให้ประชาชนคนไทยเริ่มหันมาตื่นตัวและให้ความสนใจเรื่องของพลังงานแสงอาทิตย์ ซึ่งเป็นพลังงานสะอาดที่ไม่ต้องซื้อหา และสามารถนำมาใช้ให้เกิดประโยชน์ได้ในทุกภาคส่วนของสังคม เริ่มจาก ภาคครัวเรือน ที่สามารถติดตั้งแผงโซลาร์เซลล์บนหลังคาบ้าน รวมถึงการใช้อุปกรณ์ที่ใช้พลังงานแสงอาทิตย์ เช่น โซลาร์พาวเวอร์แบงก์ แบตเตอรี่สำรองไฟแบบพกพาที่มีการติดตั้งแผงโซลาร์เซลล์ไว้ด้วย เพื่อช่วยแบ่งเบาภาระค่าไฟได้ในระยะยาว ในขณะที่ ภาคชุมชนเมือง ก็สามารถติดตั้งโซลาร์เซลล์ให้กับอุปกรณ์ต่างๆ ในพื้นที่สถานะ เช่น ไฟถนน ป้ายบอกทาง กล้องวงจรปิด เพื่อความปลอดภัยของประชาชนและยังช่วยให้ประเทศชาติประหยัด รวมทั้งช่วยกันส่งเสริมการใช้ยานยนต์ไฟฟ้า ซึ่งระบบขนส่งสาธารณะก็มีการใช้ยานพาหนะที่ขับเคลื่อนด้วยพลังงานสะอาดมาให้บริการ เช่น เรือไฟฟ้า ที่ให้บริการในเส้นทางเดินเรือคลองผดุงกรุงเกษม ไม่เพียงช่วยประหยัดพลังงาน ยังช่วยลดมลพิษทางน้ำและทางอากาศในระยะยาว อีกทั้งมีส่วนช่วยคืนความยั่งยืน สร้างคุณภาพชีวิตที่ดีให้แก่คนในชุมชนและนักท่องเที่ยว รวมถึงสนับสนุนการใช้รถเมล์ EV ที่มีการนำรถเมล์ที่ใช้แล้ว 20 ปี ของขสมก. มาดัดแปลงให้เป็น EV BUS ที่ส่งผลดีต่อสิ่งแวดล้อม ลดก๊าซเรือนกระจก […]

พพ. จัดสอบหลักสูตรผู้รับผิดชอบด้านพลังงานสามัญโรงงาน (ผชร.) สำหรับผู้ผ่านการอบรมออนไลน์ (e-Learning) ครั้งที่ 3/2566

เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 5 ตุลาคม 2566 ทางกรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน (พพ.) โดย กองพัฒนาทรัพยากรบุคคลด้านพลังงาน (กพบ.) ได้ทำการจัดสอบหลักสูตรผู้รับผิดชอบด้านพลังงานสามัญโรงงาน สำหรับผู้ผ่านการอบรมออนไลน์ (e-Learning) ครั้งที่ 3/2566 ณ อาคารอนุรักษ์พลังงานเฉลิมพระเกียรติ ต.คลองห้า อ.คลองหลวง จ.ปทุมธานี โดยมีผู้ลงทะเบียนเข้าสอบในหลักสูตรนี้ จำนวน 252 ท่าน ผู้ผ่านการสอบสามารถขึ้นทะเบียนเป็นผู้รับผิดชอบด้านพลังงานประจำโรงงานควบคุมนั้น ๆ ได้ และในการสอบครั้งนี้ ทาง พพ. ได้ขอความร่วมมือผู้เข้าสอบทุกท่านให้สวมหน้ากากอนามัยตลอดระยะเวลาในการสอบ ซึ่งได้รับความร่วมมือเป็นอย่างดีจากผู้เข้าสอบทุกท่าน

1 2 3 4 8