บทความ

ฉายภาพ 4 มิติรับยุคพลังงานสะอาด

ในสถานการณ์ที่ทั่วโลกเผชิญวิกฤตราคาพลังงานจากสถานการณ์สงครามรัสเซีย – ยูเครน ทำให้การเปลี่ยนผ่านด้านพลังงาน (Energy Transition) เพื่อให้สอดรับกับเทรนด์เทคโนโลยีด้านพลังงานสะอาดถูกกระชับพื้นที่เข้ามาเร็วยิ่งขึ้นเพื่อแสวงหาพลังงานทดแทนเชื้อเพลิงฟอสซิลที่มีความผันผวน ทิศทางของโลกจึงมุ่งสู่สังคมไร้คาร์บอน โดยประเทศไทยได้วางเป้าหมายมุ่งสู่ความเป็นกลางทางคาร์บอน (Carbon Neutrality) ภายในปี ค.ศ. 2050 และลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกเป็นศูนย์ (Net Zero Emissions) ในปี ค.ศ. 2065 ในปี 2566 คาดการณ์ว่าสถานการณ์พลังงานจะยังคงผันผวนต่อเนื่องจากปีที่แล้ว กระทรวงพลังงานต้องปรับบทบาทองค์กรก้าวสู่ยุคเปลี่ยนผ่านด้านพลังงานดังกล่าว โดยนอกจากจะต้องสร้างความมั่นคงด้านพลังงานแล้ว ยังต้องเปลี่ยนแปลงเชิงนโยบายและการดำเนินการหลายด้านเพื่อขับเคลื่อนประเทศเข้าสู่ความเป็นกลางทางคาร์บอน ทั้งการส่งเสริมการผลิตพลังงานสะอาดให้เป็นไปตามเป้าหมาย การปรับตัวเพื่อรองรับและส่งเสริมการผลิตและการใช้ยานยนต์ไฟฟ้า (EV) พร้อมๆ ไปกับติดตามและบริหารจัดการสถานการณ์ราคาพลังงาน เพื่อลดผลกระทบต่อประชาชนและผู้ประกอบการ รวมทั้งสร้างพันธมิตรและร่วมมือกับทุกภาคส่วนขับเคลื่อนการพัฒนา เพื่อให้เกิดการลงทุนธุรกิจพลังงานใหม่ๆ ตามเป้าหมาย ทั้งนี้ แผนงานสำคัญด้านพลังงานเพื่อตอบโจทย์สังคมยุคไร้คาร์บอน ได้ถูกจัดวางผ่าน 4 มิติ ดังนี้ มิติที่ 1 พลังงานสร้างความมั่นคงสู่สังคมคาร์บอนต่ำ –> แผนพลังงานชาติและแผนพลังงานรายสาขาใหม่ (แผน PDP 2022/EEP2022/AEDP2022/Oil Plan 2022/Gas Plan 2022) เน้นการส่งเสริมพลังงานสะอาด […]

ถ้าโลกนี้ไม่มีพลังงานทดแทนจะเป็นอย่างไร

ลองคิดดูครับว่า ถ้าโลกนี้ไม่มีพลังงานทดแทนจะเป็นอย่างไร สิ่งแรกที่ผมนึกถึงเลยก็คือ แหล่งทรัพยากรธรรมชาติจะหมดเร็วมาก และทำให้ส่งผลกระทบทุกอย่าง ไม่ว่าจะเป็นอากาศ ซึ่งไม่นานนักก็จะไม่มีให้ใช้กันครับ ไม่ว่าจะเป็นไฟฟ้าที่ทุกวันนี้ มีการเปลี่ยนพลังงานอย่างอื่นมาทดแทน ไม่ว่าจะเป็นกระแสน้ำ ที่สามารถเอามาเปลี่ยนเป็นไฟฟ้าได้อย่างมหาศาล ยิ่งเป็นเขื่อนด้วยแล้ว โดยหลักการที่เขาใช้ก็เหมือนกับการปั่นจักรยาน ซึ่งบอกได้เลยว่ามันเป็นเรื่องที่ธรรมชาติสร้างมาอยู่แล้ว เพียงแค่เรานำกังหันให้โดนน้ำที่ไหลมาอยู่แล้ว โดยที่ไม่ได้เปลี่ยนให้กระแสน้ำเปลี่ยนแปลงเลย เพราะถ้าปล่อยไปเฉย ๆ ก็จะไม่ได้ประโยชน์อะไรเลย นอกจากน้ำแล้ว พลังธรรมชาติอย่างลมเองก็เช่นกัน ซึ่งต่างกันที่สถานที่ติดตั้งเท่านั้น โดยผู้เชี่ยวชาญเรื่องนี้จะคำนวณขนาดและน้ำหนักของตัวปั่นไฟว่าสามารถรองรับกับแรงได้มากขนาดไหน และสร้างให้เหมาะสมเพื่อให้ได้พลังงานมากที่สุดนั่นเอง ที่จริงแล้วหลักการเปลี่ยนพลังงานดังกล่าวมีหลักการ เพียงแค่ให้ได้ความร้อนนั่นเอง โดยจะมีตัวเก็บประจุไฟฟ้าเอาไว้เพื่อแจกจ่ายตามบ้านเรือนครับ ดังนั้น พลังงานที่ธรรมชาติมีเยอะที่สุดคือ พลังงานแสงอาทิตย์ครับ โดยใช้แผงโซล่าเซลล์ ยิ่งโลกเราทุกวันนี้ที่ชั้นบรรยากาศที่น้อยลง ทำให้แสงอาทิตย์ตกกระทบกับพื้นโลกได้เร็วขึ้น ดังนั้น การเก็บพลังงานประเภทนี้จึงได้รับความนิยม แต่ในประเทศไทยนั้น การทำแบบนี้ไม่ใช่จะทำได้ทุกคนครับ ต้องขอสัมปทานจากเจ้าหน้าที่เสียก่อน ซึ่งเป็นจุดหนึ่งที่ผมเห็นว่าประเทศของเราขาดการพัฒนาในเรื่องของความคิดอย่างมาก เพราะในต่างประเทศมีการให้ใช้อย่างเสรี ถึงขั้นมีรถไฟฟ้าโซล่าเซลล์เกิดขึ้นแล้ว ส่งผลให้ประเทศไทยไม่สามารถสร้างคนที่มีความคิดสร้างสรรค์สิ่งใหม่ ๆ ได้ นั่นเอง   ที่มา : https://www.gloucestermaritimecenter.org

พิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ “การจัดการฝึกอบรมหลักสูตรผู้ตรวจประเมินการจัดการพลังงานภายในองค์กร”” ระหว่าง พพ. กับ หน่วยงานและสถาบันอุดมศึกษา

เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 20 ตุลาคม 2565 กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน (พพ.) โดย ดร.ประเสริฐ สินสุขประเสริฐ อธิบดีกรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน (พพ.) ประธานในพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MOU) การจัดฝึกอบรมหลักสูตร “ผู้ตรวจประเมินการจัดการพลังงานภายในองค์กร” (Internal Audit) โดยมีสถาบันการศึกษาและหน่วยงานร่วมทำบันทึกข้อตกลงกับ 4 แห่ง ประกอบด้วย สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าลาดกระบัง มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี มหาวิทยาลัยรามคำแหง และ มูลนิธิอนุรักษ์อนุรักษ์พลังงานแห่งประเทศไทย            

พิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ “การพัฒนาหลักสูตรและกิจกรรมด้านการอนุรักษ์พลังงานและพลังงานทดแทน” ระหว่าง พพ. กับ หน่วยงานและสถาบันอุดมศึกษา

เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 24 กุมภาพันธ์ 2565 กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน (พพ.) โดย ดร.ประเสริฐ สินสุขประเสริฐ อธิบดีกรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน ประธานในพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ “การพัฒนาหลักสูตรและกิจกรรมด้านการอนุรักษ์พลังงานและพลังงานทดแทน” ระหว่าง พพ. กับ หน่วยงานและสถาบันอุดมศึกษา จำนวน 6 แห่ง ได้แก่ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี มหาวิทยาลัยรามคำแหง และมูลนิธิอนุรักษ์พลังงานแห่งประเทศไทย ณ อาคารอนุรักษ์พลังงานเฉลิมพระเกียรติ อ.คลองหลวง จ.ปทุมธานี

1 5 6 7 8 9 10