dhrddede@gmail.com

ก้าวสู่ New Normal หนุนการใช้พลังงานทดแทนเพิ่มขึ้น

ผู้เชี่ยวชาญด้านพลังงาน ชี้แนวโน้มธุรกิจพลังงานเป็น New Normal หลังพฤติกรรมผู้บริโภคพลังงานเปลี่ยนจากผลกระทบโควิด-19 หนุนการใช้พลังงานทดแทนเพิ่มขึ้น แนะเร่งให้ความรู้ด้านพลังงานและเทคโนโลยีแก่ประชาชน ผ่านเครือข่ายสื่อมวลชนไทยฯ หลังเดินหน้าให้ความรู้กลุ่มสื่อมวลชนใน 6 ภูมิภาคทั่วประเทศ มนูญ ศิริวรรณ ผู้เชี่ยวชาญด้านพลังงาน และที่ปรึกษาโครงการสร้างเครือข่ายสื่อมวลชนไทยใส่ใจทางเลือกใหม่พลังงานไฟฟ้า กล่าวว่า ธุรกิจพลังงานจากนี้ไปจะเป็น New Normal เพราะพฤติกรรมของผู้บริโภคและการใช้ชีวิตประจำวันของผู้คนจะเปลี่ยนไปหลังจากผ่านสถานการณ์โควิด-19 จากดีมานด์ที่ลดลงทั้งจากภาคอุตสาหกรรม และพฤติกรรมของผู้คนที่เปลี่ยนแปลงไปจากการบริโภคพลังงานที่ลดลง อาทิ การลดการเดินทางผ่านช่องทางต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นเครื่องบิน การขนส่งสาธารณะ รวมถึงรถยนต์ส่วนตัว ทำให้การใช้พลังงานลดลงไป และในอนาคตพลังงานที่ได้มาจากฟอสซิล ไม่ว่าจะเป็นจากถ่านหิน น้ำมัน หรือก๊าซธรรมชาติ จะลดน้อยลง ซึ่งสิ่งที่จะมาแทนที่ก็คือพลังงานทดแทน และพลังงานหมุนเวียน ซึ่งแต่เดิมก็มีความสำคัญอยู่แล้ว แต่เชื่อว่าหลังจากนี้จะมีการใช้พลังงานเหล่านี้มากขึ้น เนื่องจากเทคโนโลยีของพลังงานทดแทนจะมีความก้าวหน้าและมีการพัฒนาสูงขึ้นทำให้ต้นทุนของพลังงานเหล่านี้ลดลง โดยเฉพาะพลังงานจากแสงอาทิตย์และเชื้อเพลิงขยะ “จากนี้ไปอุตสาหกรรมพลังงานจะเป็น New Normal การใช้พลังงานทดแทน และพลังงานหมุนเวียนจะเพิ่มสูงขึ้น เช่น พลังงานแสงอาทิตย์ เมื่อก่อนต้องลงทุนสูง ใช้พื้นที่มาก แต่ปัจจุบันมาอยู่ในบ้านเราได้แล้ว ทุกบ้านสามารถติดโซลาร์รูฟท็อปผลิตไฟฟ้าใช้เอง และต่อไปก็จะมีเรื่องของ Energy Storage หรือแบตเตอร์รี่ ที่เราสามารถที่จะเก็บไฟที่เราผลิตได้ในตอนกลางวันเก็บไว้ใช้ […]

ฉลากประหยัดไฟฟ้าเบอร์ 5 ยุคใหม่ ใส่ใจสิ่งแวดล้อม ส่งเสริมแนวคิด Circular Economy

การเลือกซื้อเครื่องใช้ไฟฟ้าของผู้บริโภคในปัจจุบัน ส่วนใหญ่จะเริ่มต้นจากการมองหา “ฉลากประหยัดไฟฟ้าเบอร์ 5”ก่อน เพื่อเป็นเครื่องหมายการันตีว่าสินค้าได้มาตรฐานการประหยัดไฟฟ้าจริง โดยการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) ได้จัดทำฉลากประหยัดไฟฟ้าเบอร์ 5 ขึ้นมา และเมื่อต้นปี 2562 เพื่อให้ผู้บริโภคเข้าใจได้ง่ายขึ้นและส่งเสริมการพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่ประหยัดไฟฟ้าสูง จึงได้ปรับรูปแบบ เป็น “ฉลากประหยัดไฟฟ้าเบอร์ 5 ติดดาว” ยิ่งมีดาวมาก ยิ่งประหยัดพลังงานสูง ปัจจุบัน มี 4 ระดับ ได้แก่ เบอร์ 5, เบอร์ 5 ★, เบอร์ 5 ★★ และเบอร์ 5 ★★★ แต่ละระดับสามารถประหยัดค่าไฟฟ้าได้เพิ่มขึ้นเฉลี่ย 5 – 10% ซึ่งจะช่วยให้ผู้บริโภคสามารถตัดสินใจในการเลือกซื้อเครื่องใช้ไฟฟ้าได้ง่ายกว่าเดิม การมีฉลากประหยัดไฟฟ้าเบอร์ 5 เป็นเครื่องมือช่วยให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการประหยัดพลังงานไฟฟ้าอย่างเป็นรูปธรรมผ่านการเลือกเครื่องใช้ไฟฟ้าที่ติดฉลากประหยัดไฟฟ้าเบอร์ 5 ซึ่งช่วยลดค่าไฟฟ้าได้ ขณะเดียวกันผู้ผลิตและนำเข้าเครื่องใช้ไฟฟ้า ก็จะเลือกผลิตหรือนำเข้าผลิตภัณฑ์ที่มีประสิทธิภาพสูงและประหยัดไฟฟ้ามาขายในราคาที่เหมาะสม รวมทั้งในอนาคตจะเกิดการพัฒนาเทคโนโลยี และนวัตกรรมต่างๆ ด้านการประหยัดไฟฟ้ามากขึ้น นำไปสู่การอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ และลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์สู่ชั้นบรรยากาศโลกอีกด้วย ปัจจุบันผลิตภัณฑ์ที่มีฉลากประหยัดไฟฟ้าเบอร์ 5 มี 21 ผลิตภัณฑ์ […]

คู่มือการใช้งานโปรแกรม BEC ระบบ Web-based

โปรแกรม BEC Web-based เป็นเครื่องมือคำนวณค่าการอนุรักษ์พลังงานให้ใช้งานผ่านระบบอินเทอร์เน็ต สามารถป้อนข้อมูล ประเมินผล และจัดเก็บฐานข้อมูลผ่านระบบอินเทอร์เน็ตได้ เพิ่มความสามารถของะบบบริหารจัดการข้อมูล และสนับสนุนการใช้กฎหมายการออกแบบอาคารเพื่อการอนุรักษ์พลังงานต่อไป   ลิงค์ที่เกี่ยวข้อง : – วิธีการใช้งานโปรแกรม : https://www.youtube.com/…/UC38msNuAOPghw08zPPPL6tA/videos – กฎกระทรวงกำหนดประเภท หรือขนาดของอาคารและมาตรฐานหลักเกณฑ์และวิธีการในการออกแบบอาคารเพื่อการอนุรักษ์พลังงาน พ.ศ. 2563 http://webkc.dede.go.th/testmax/node/5297 – ศูนย์ประสานงานการออกแบบอาคารเพื่อการอนุรักษ์พลังงาน : http://new.2e-building.com/ – พพ. เดินหน้าใช้กฎกระทรวง BEC คุมอาคารใหม่-ดัดแปลง : https://www.dede.go.th/ewt_news.php?nid=54632&filename=index

กฎกระทรวง BEC พ.ศ. 2563

เมื่อวันที่ 12 พฤศจิกายน 2563 เว็บไซต์ราชกิจานุเบกษาได้เผยแพร่  กฎกระทรวงกำหนดประเภท หรือขนาดของอาคาร และมาตรฐานหลักเกณฑ์ และวิธีการในการออกแบบอาคารเพื่อการอนุรักษ์พลังงาน พ.ศ. 2563 โดยมีสาระสำคัญดังนี้ หมวด ๑ ประเภทและขนาดของอาคารเพื่อการอนุรักษ์พลังงาน กำหนดอาคารที่จะก่อสร้างใหม่ หรือดัดแปลงอาคารที่มีพื้นที่รวมกันทุกชั้นในอาคารหลังเดียวตั้งแต่ 2,000 ตารางเมตรขึ้นไปใน 9 ประเภทอาคาร จะต้องมีการออกแบบอาคารให้เป็นไป ตามกฎกระทรวงนี้ หมวด ๒ มาตรฐาน หลักเกณฑ์ และวิธีการ ในการออกแบบอาคารเพื่อการอนุรักษ์พลังงาน เพิ่มเติมเนื้อหาได้แก่ การตรวจประเมิน ให้กระทำโดยผู้ได้รับใบประกอบวิชำชีพให้เป็นผู้ประกอบวิชาชีพ วิศวกรรมควบคุม หรือผู้ได้รับใบประกอบวิชำชีพให้เป็นผู้ประกอบวิชาชีพสถาปัตยกรรมควบคุม และได้รับกำรรับรองจากกรมพัฒนำพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงานว่าเป็นผู้สำเร็จการฝึกอบรม ตำมหลักสูตรที่กำหนดการรับรองผลการตรวจประเมิน ให้เจ้าของอาคารมีหน้าที่จัดทำรายงานผลการตรวจประเมินในการออกแบบก่อสร้างหรือดัดแปลงอาคาร บทเฉพาะกาล ในระยะเริ่มแรกจะบังคับใช้กับอาคารที่มีขนาด 10,000 ตารางเมตร ในปีแรก (13 มีนาคม 2564) 5,000 ตารางเมตร ในปีที่ 2 (13 มีนาคม 2565) และ 2,000 ตารางเมตร ในปีที่ […]

1 9 10 11