โลกป่วย เพราะช่องโหว่ในโอโซน🧐

“มองไม่เห็น แต่มีอยู่จริง” ประโยคสั้นๆ ที่ไม่ได้หมายถึง “สิ่งเร้นลับ” แต่บอกเล่าถึงความสำคัญของบรรยากาศโลก ที่นอกจากจะเป็นอากาศให้เราหายใจกันในทุกๆ วันแล้ว บรรยากาศของโลกยังมีความสำคัญต่อสิ่งมีชีวิตอย่างยิ่ง นอกจากจะช่วยทำให้เกิดกระบวนการต่างๆ ที่จำเป็นต่อการดำรงชีวิต เช่น การหายใจ การได้ยินเสียง ฯลฯ แล้ว ยังช่วยปรับอุณหภูมิของโลกให้เหมาะกับการดำรงชีวิตอีกด้วย 🌏

บรรยากาศของโลก แบ่งเป็นชั้นบรรยากาศต่างๆ และหนึ่งในนั้นคือ สตราโทสเฟียร์ (Stratosphere) ซึ่งเป็นชั้นบรรยากาศของโลกชั้นที่ 2 สูงขึ้นจากพื้นดินประมาณ 10-50 กิโลเมตร เป็นชั้นที่เครื่องบินมักบินอยู่ พวกมันมีอากาศเบาบาง แต่ถือว่ามีก๊าซโอโซนมากที่สุด และคอยดูดซับรังสีอัลตราไวโอเลต หรือ ยูวี (UV) จากดวงอาทิตย์ทั้งสองประเภทหลักที่อันตราย คือ UVA และ UVB ได้ถึง 98% แต่รู้หรือไม่ว่า ชั้นโอโซนที่สำคัญนี้กลับมีสัดส่วนเพียง 0.00006% ของชั้นบรรยากาศโลกทั้งหมดเท่านั้น และกำลังค่อยๆ บางลง รวมถึงมีช่องโหว่ของชั้นบรรยากาศเกิดขึ้นในหลายแห่งทั่วโลก

👉แล้วอะไรจะเกิดขึ้นถ้าชั้นโอโซนโลกที่คอยดูดซับรังสี UVA และ UVB หายไป?!!

ลองมาจินตนาการถึงความน่ากลัวของรังสีเหล่านี้ เมื่อถูกส่งลงมายังโลกแบบเต็มๆ ไม่ว่าจะทำให้รู้สึกถึงอากาศที่ร้อนมากอย่างชัดเจน พืชจำนวนมากจะตายเพราะรังสีที่ทำให้การสังเคราะห์แสงมีความเข้มข้นมากเกินไป มหาสมุทรจะร้อนขึ้นอย่างชัดเจน ส่งผลให้ห่วงโซ่อาหารจะล่มสลาย สัตว์จำนวนมากจะล้มตาย สร้างการสูญพันธุ์ในวงกว้าง ทั้งยังส่งผลกระทบต่ออัตราการละลายของธารน้ำแข็งขั้วโลก และระบบภูมิคุ้มกันของสิ่งมีชีวิต ส่วนมนุษย์ ถึงแม้จะหลบอยู่ในอาคาร แต่อากาศร้อนจะทำให้เรารู้สึกเหมือนอยู่ในหม้ออบ รวมทั้งรังสี UV ยังเพิ่มความเสี่ยงการเกิดมะเร็งผิวหนังและต้อกระจกอีกด้วย

โดยนักวิทยาศาสตร์ระบุว่า ชั้นบรรยากาศของเราไม่สามารถเก็บกักความชื้นไว้ได้ เมื่อไม่มีไอน้ำที่เป็นก๊าซเรือนกระจก ในระยะกลางแกนโลก ส่งผลให้โลกมีอากาศเย็นลงราว 3.5 องศา ทำให้อากาศบนโลกแปรปรวน เกิดภัยธรรมชาติ อาหารและน้ำดื่มของมนุษย์จะขาดแคลนอย่างหนัก รวมทั้งต้องอาศัยอยู่ใต้ดินหรืออาคารที่สร้างมาเพื่อป้องกันรังสีนิวเคลียร์ ไม่เพียงเท่านั้นออกซิเจนที่เราใช้หายใจจะเหลือน้อยมาก เพราะแหล่งสร้างออกซิเจนอย่างป่าไม้และมหาสมุทร ก็ไม่สามารถสร้างได้เหมือนเดิมอีกต่อไป สุดท้ายมนุษย์ก็ต้องสูญพันธุ์ไปในที่สุด!

แม้เหตุการณ์เลวร้ายดังที่ยกตัวอย่างอาจจะดูไกลเกินจริง แต่เชื่อหรือไม่ว่า ทุกวันนี้โอโซนกำลังบางลงเรื่อยๆ จากสารเคมีต่างๆ ในอากาศที่มนุษย์ปล่อยขึ้นไป รวมทั้งมีการขยายตัวของช่องโหว่ในชั้นโอโซนเกิดขึ้นเป็นแห่งๆ เช่น ช่องโหว่เหนือทวีปแอนตาร์กติกาที่เปิดขึ้นใหม่ทุกปีในช่วง 35 ปีที่ผ่านมา

🔥หากมวลมนุษยชาติก็ยังมีความหวังอยู่ เพราะนักวิทยาศาสตร์พบว่า ชั้นโอโซนสามารถฟื้นฟูตัวเองได้ โดยตั้งแต่ปี 1996 ที่มีการสั่งห้ามใช้สารเคมีจำพวกคลอโรฟลูโอโรคาร์บอน (CFC) ซึ่งมักใช้เป็นสารทำความเย็นและใช้ในการผลิตสเปรย์ต่างๆ ซึ่งเป็นตัวการทำลายชั้นโอโซนให้บางลง

อย่างไรก็ตาม ปัจจุบันยังมีการใช้สารจำพวกไฮโดรคลอโรฟลูออโรคาร์บอน (Hydrochlorofluorocarbon : HCFC) ซึ่งเป็นสารเคมีตัวใหม่ที่นำมาใช้เพื่อทดแทนสารซีเอฟซี แม้ว่าจะมีอันตรายน้อยกว่า แต่ยังคงเป็นตัวทำลายโอโซนชั้นดี นอกจากนี้ยังมีสารทำความเย็นที่พัฒนาขึ้นเพื่อใช้ในอนาคตอย่างไฮโดรฟลูออโรคาร์บอน (Hydrofluorocarbon : HFC) ซึ่งไม่เป็นอันตรายต่อชั้นโอโซน

แต่เป็นก๊าซเรือนกระจกตัวสำคัญที่สามารถส่งผลกระทบต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของโลกอีกด้วย

เพียงแค่เราเริ่มต้นการอนุรักษ์ธรรมชาติ และจำกัดหรือยกเลิกสารเคมีต่างๆ ที่ทำลายชั้นโอโซน โลกก็จะฟื้นคืนกลับมาได้เสมอ หากแต่เราทุกคนต้องตระหนักรู้ และพร้อมเปลี่ยนแปลงไปด้วยกัน เพราะใครไม่ Change แต่ Climate Change อย่างแน่นอน!

ที่มา : https://www.khonbandarnfai.org