คณะกรรมการ KM ของกองพัฒนาทรัพยากรบุคคลด้านพลังงาน
_____
ปัจจุบันคณะทำงานฯ ได้จัดทำแผนการจัดการความรู้ พพ. แล้ว ซึ่งแผนดังกล่าวได้กำหนดกิจกรรมให้แต่ละกองต้องดำเนินการ และมีการให้รางวัลหน่วยงานที่สามารถจัดกิจกรรม KM ได้ดี ซึ่งแต่ละกองจะต้องแข่งขันกันทำกิจกรรมดังกล่าว และเพื่อให้การดำเนินงานบรรลุตามวัตถุประสงค์ของแผน KM พพ. ในแต่ละกิจกรรมจึงแต่งตั้งคณะทำงาน KM ทีม กพบ. ขึ้นโดยมีองค์ประกอบ ดังนี้
หน้าที่รับผิดชอบ KM ของกองพัฒนาทรัพยากรบุคคลด้านพลังงาน
_____
- ร่างนโยบาย แผนงาน การจัดการความรู้ของกองพัฒนาทรัพยากรบุคคลด้านพลังงาน
- รณรงค์ ดำเนินการประชาสัมพันธ์เกี่ยวกับแนวทางการปฏิบัติตามแผนการจัดการความรู้
- ดำเนินการจัดการความรู้ตามแผนการจัดการความรู้
- เรียกข้อมูล เอกสารบุคคลที่เกี่ยวข้องมาให้ความรู้ ข้อเสนอแนะหรือการดำเนินการตามแผนฯ ได้ตามความจำเป็นเหมาะสม
- รายงานความก้าวหน้าการดำเนินงาน สรุปผลการดำเนินงานต่อผู้อำนวยการกองพัฒนาทรัพยากรบุคคลด้านพลังงาน
- ดำเนินการอื่นๆ ตามที่ได้รับมอบหมาย
BE-HRD KM EP.1
BE-HRD KM EP.2
BE-HRD KM EP.3
DigitalPops
ข่าวสาร
_____
เชื้อเพลิงฟอสซิล vs พลังงานสะอาด อะไรคือความสมดุลด้านพลังงาน
ในช่วงที่โลกกำลังหันมาให้ความสำคัญกับการนำพลังงานสะอาดมาใช้มากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นพลังงานแสงอาทิตย์ พลังงานลม ระบบกักเก็บพลังงาน และพลังงานที่มาจากไฮโดรเจน เพื่อจะช่วยลดผลกระทบจากปัญหาโลกร้อนให้ได้มากที่สุด หลายคนอาจจะคิดว่าการใช้เชื้อเพลิงจากฟอสซิลอย่างน้ำมันและก๊าซธรรมชาติจะมีความสำคัญลดลง แต่จากสถิติการใช้พลังงานแล้ว น้ำมันและก๊าซฯ ยังเป็นแหล่งพลังงานหลักของโลก โดยยังครองสัดส่วนกว่า 80% ของการใช้พลังงานทั่วโลก1 นั่นก็เพราะว่าการผลิตน้ำมันและก๊าซฯ ในโลก มีมายาวนานกว่า 2 ศตวรรษ มีการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานรองรับตั้งแต่การผลิตไปจนถึงการขนส่งไปถึงผู้ใช้ จนสามารถผลิตและใช้งานได้อย่างต่อเนื่อง จึงมีเสถียรภาพมากกว่าพลังงานสะอาด ซึ่งส่วนใหญ่มาจากพลังงานหมุนเวียน อย่าง ลม แสงอาทิตย์ และน้ำ แม้จะเป็นแหล่งพลังงานที่มีการปล่อยคาร์บอนน้อย ไปจนถึงไม่มีเลย แต่ก็มีข้อจำกัดเรื่องความไม่สม่ำเสมอในการผลิต เพราะต้องขึ้นอยู่กับสภาพอากาศและเวลา ข้อจำกัดด้านพื้นที่และภูมิประเทศ เพราะการติดตั้งโครงสร้างพื้นฐาน เช่น แผงโซลาร์เซลล์หรือกังหันลมต้องใช้พื้นที่ขนาดใหญ่ และภูมิประเทศที่เอื้ออำนวยรวมทั้งแสงแดดและลมที่ต้องแรงมากเพียงพอ ยังไม่นับรวมข้อจำกัดในการจัดเก็บพลังงานไว้ใช้ในช่วงที่ไม่สามารถผลิตพลังงานได้ด้วย ด้วยเหตุผลข้างต้น นอกจากน้ำมันและก๊าซฯ จะยังเป็นแหล่งพลังงานที่มีเสถียรภาพมากกว่าพลังงานสะอาดแล้ว ยังเป็นเชื้อเพลิงที่คนส่วนใหญ่เข้าถึงการใช้งานได้ โดยไม่ต้องแบกภาระค่าครองชีพมากเกินไป โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อพลังงานนั้นเป็นเชื้อเพลิงตั้งต้นของการผลิตไฟฟ้า เราจึงยังไม่สามารถเปลี่ยนไปใช้พลังงานสะอาดได้ทั้งหมดในทันที และยังจำเป็นต้องพึ่งพาน้ำมันและก๊าซฯ เป็นพลังงานหลักต่อไปอีกระยะหนึ่ง สิ่งที่กระทรวงพลังงานให้ความสำคัญเป็นอันดับแรก คือ ความมั่นคงด้านพลังงาน เพราะถ้าต้องการใช้พลังงานแต่เปิดไฟแล้วไฟไม่มา จะเป็นปัญหาใหญ่มากสำหรับภาคครัวเรือน ภาคธุรกิจและภาคอุตสาหกรรม ซึ่งสถานการณ์ของประเทศไทยวันนี้ถือว่าเรายังมีเสถียรภาพด้านพลังงาน ถึงจะไม่ต้องลุ้นว่าเปิดไฟแล้วไฟจะติดไหม แต่ปัจจุบัน ไทยยังเป็นประเทศนำเข้าพลังงานมากกว่าส่งออก […]
พพ. จับมือ 4 สถาบันอุดมศึกษา เปิดหลักสูตรผู้รับผิดชอบด้านพลังงาน เสริมแกร่งตลาดแรงงานด้านพลังงาน สู่การลดการใช้พลังงานอย่างยั่งยืน
23 ธันวาคม 2567 นางสาวนันธิกา ทังสุพานิช อธิบดีกรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน เป็นประธานในพิธีและร่วมลงนามบันทึกความเข้าใจการพัฒนาหลักสูตรและกิจกรรมด้านการอนุรักษ์พลังงานและพลังงานทดแทนสำหรับสถาบันอุดมศึกษา ระหว่าง กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน (พพ.) กับ สถาบันอุดมศึกษา จำนวน 4 แห่ง ได้แก่ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดสกลนคร มหาวิทยาลัยราชมงคลอีสาน วิทยาเขตสกลนคร สถาบันการอาชีวศึกษาภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 5 และ วิทยาลัยเทคนิคบุรีรัมย์ ในการนำหลักสูตรผู้รับผิดชอบด้านพลังงานตามกฏหมายและเนื้อหาด้านการอนุรักษ์พลังงานและพลังงานทดแทนไปเปิดสอนในระดับมหาวิทยาลัย เพื่อสร้างบุคลากรด้านพลังงานสู่ตลาดแรงงานที่มีความต้องการเพิ่มขึ้นในอนาคต สำหรับหลักสูตรผู้รับผิดชอบด้านพลังงานสามัญของ พพ. จะเป็นส่วนหนึ่งของหลักสูตรการเรียนการสอนของแต่ละมหาวิทยาลัย ดังนี้ 1. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดสกลนครนำหลักสูตรไปใช้ในการเรียนการสอนของนักศึกษาหลักสูตรวิทยาศาสตร์บัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีเพื่อความยั่งยืน 2. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตสกลนคร นำหลักสูตรไปใช้ในการเรียนการสอนของนักศึกษาหลักสูตรวิศวกรรมศาสตร์บัณฑิตสาขาวิศวกรรมเครื่องกล 3. สถาบันการอาชีวศึกษาภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 5 ร่วมกับ วิทยาลัยเทคนิค บุรีรัมย์นำหลักสูตรไปใช้ในการเรียนการสอนของนักศึกษาหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) พ.ศ. 2567 สาขาวิชาไฟฟ้า และหลักสูตรเทคโนโลยีบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีไฟฟ้า ทั้งนี้ นักศึกษาที่ผ่านการเรียนหลักสูตรนี้แล้ว จะมีสิทธิ์เข้าทดสอบโดยใช้ข้อสอบมาตรฐานที่ […]
หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ”เศรษฐกิจพอเพียง” แนวพระราชดำริซึ่ง พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร พระราชทานแก่พสกนิกร
หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง “เศรษฐกิจพอเพียง” แนวพระราชดำริซึ่งพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร พระราชทานแก่พสกนิกร เพื่อเป็นแนวทางในการดำเนินชีวิตอย่างมีความสุข บนหลักความ “มีเหตุ ผล”, “พอประมาณ” และ “มีภูมิคุ้มกัน” ซึ่งมีเป้าหมายให้สังคมไทยสามารถพึ่งพาตนเองได้ หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง จึงเป็นแนวทางที่สามารถนำไปปรับใช้ได้กับการพัฒนาในทุก ๆ ด้าน รวมทั้งการพัฒนาพลังงานของไทย หลักของการมีเหตุผล คงไม่มีใครปฏิเสธว่าน้ำมันเชื้อเพลิงซึ่งเป็นแหล่งพลังงานใหญ่ของโลกนับวันมีแต่จะหมดลง สวนทางกับความต้องการบริโภคน้ำมันที่เพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ การคิดค้นพัฒนาแหล่งพลังงานอื่น ๆ จึงเป็นเรื่องจำเป็น โดยเฉพาะอย่างยิ่งประเทศไทยซึ่งมีแหล่งน้ำมันดิบของตนเองไม่เพียงพอกับความต้องการภายในประเทศ ต้องเสียเงินนำเข้าจากต่างประเทศ ในแต่ละปีนับแสนล้านบาท แนวพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร อันเกี่ยวกับการพัฒนาพลังงาน เป็นตัวอย่างของการคิดค้นพัฒนาแหล่งพลังงานอื่น ๆ อย่างมีเหตุผล ดังจะเห็นได้จากเมื่อทรงมีพระราชดำริในเรื่องใด พระองค์ท่านจะทรงมีรับสั่งให้ศึกษาถึงความเป็นไปได้ ผลดีผลเสีย ความเหมาะสม และความต้องการของประชาชนในพื้นที่ก่อนการดำเนินการทุกครั้ง หลักการแห่งความมีเหตุผลของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวนั้น ทำให้ทรงมีสายพระเนตรอันยาวไกลไปถึงอนาคตอย่างเช่นเรื่องน้ำมันแก๊สโซฮอล์ เมื่อทรงมีพระราชดำริให้มีการศึกษาวิจัยนั้น น้ำมันราคาถูก แต่เมื่อพิจารณาถึงเหตุผลว่าในอนาคตข้างหน้า น้ำมันมีแต่จะหมดไป ขณะที่คนต้องการใช้น้ำมันเพิ่มมากขึ้น ราคาน้ำมันจึงจะแพงขึ้นเรื่อย ๆ เช่นกัน หาก จะรอให้น้ำมันแพงเสียก่อน ค่อยมาคิดศึกษาวิจัยก็คงไม่ทันต่อความต้องการ จึงมีพระราชดำริให้เริ่มศึกษาตั้งแต่เมื่อยี่สิบกว่าปีก่อนเป็นการศึกษาอย่างต่อเนื่องยาวนาน […]
วาระสู่ Net Zero สั่นสะเทือนภาคธุรกิจ กลุ่ม RE100 ทวีบทบาทสำคัญ
กระแสความเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (Climate Change) กำลังกลายเป็นทั้งโอกาสและอุปสรรคต่อทุกภาคส่วน โดยเฉพาะภาคธุรกิจที่ต้องเร่งปรับตัวรับสถานการณ์คู่ขนานไปกับกระแสเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (Artificial intelligence: AI) ภาคธุรกิจมีความเสี่ยง เช่น อาจเกิดจากทรัพยากรขาดแคลน เผชิญข้อจำกัดด้านกฎระเบียบการค้าการลงทุนที่เข้มงวดขึ้น หรือตัวผู้บริโภคเองให้ความสำคัญต่อสิ่งแวดล้อมมากขึ้น การจัดตั้งกลุ่ม RE 100 หรือกลุ่มที่มุ่งจัดหาไฟฟ้าจากแหล่งพลังงานหมุนเวียน 100% (Renewable Energy) ก็เป็นผลสะท้อนจากวาระระดับโลกที่เกิดขึ้นเกี่ยวกับ Climate Change กลุ่มนี้จัดตั้งขึ้นในปี ค.ศ. 2014 ปัจจุบันมีสมาชิกมากกว่า 430 บริษัทชั้นนำจากบริษัทเอกชนทั่วโลก ซึ่งทั้งหมดมีจุดมุ่งหมายในการใช้ไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียน 100% ในการดำเนินกิจการทั่วโลกภายในปี 2050 หรือเร็วกว่านั้น ฐานสมาชิกของ RE100 เป็นกลุ่มผู้นำธุรกิจชั้นนำและมุ่งมั่นในการรับมือกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ มีภารกิจผลักดันไปสู่โครงข่ายพลังงานที่ปลอดคาร์บอนทั่วโลก ซึ่งแนวคิดนี้ได้ขยายตัวไปทั่วทั้งยุโรป อเมริกาเหนือ และเอเชียแปซิฟิก ตัวอย่างของบริษัทชั้นนำ เช่น Apple, Google, Microsoft, Ikea แนวคิดความร่วมมือนี้กำลังเติบโตอย่างมาก โดยเฉพาะในเอเชียมีปริมาณการใช้ไฟฟ้ารวมของสมาชิก RE100 สูงขึ้นเป็นประวัติการณ์ โดยมีบริษัทใหม่ ๆ ในเอเชียเข้าร่วมเพิ่มขึ้นในแต่ละปี และ […]
ภาษิต คำคม KM
_____
- Knowledge resides in the users and not in the collection. ความรู้อยู่ในผู้ใช้ไม่ใช่อยู่ในแหล่งรวมความรู้ (Y.Maholtra)
- KM is a Journey, not a destination. การจัดการความรู้เป็นการเดินทางไม่ใช่เป้าหมายปลายทาง (WarickHolder, IBM, 20 Nov 2003, Chiangmai)
- A little knowledge that acts is worth more than much knowledge that is idle. ความรู้เพียงเล็กน้อยเพื่อปฏิบัติมีค่ามากกว่าความรู้มหาศาลที่อยู่เฉย ๆ (Kahlil Gibran)
- Knowledge is a key asset, but it is often tacit and private. ความรู้เป็นสินทรัพย์สำคัญ แต่บ่อยครั้งความรู้เป็นสิ่งฝังลึกและเป็นสินทรัพย์ส่วนบุคคล
- Knowledge is not what you know, but is what you do. ความรู้ไม่ใช่เพียงการรู้ แต่เป็นการกระทำ
- Successful knowledge transfer involes neither computers nor documents but rather interactions between people. การถ่ายทอดความรู้สำเร็จได้ไม่ใช่เรื่องเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์หรือเอกสาร แต่เป็นเรื่องของปฏิสัมพันธ์ระหว่างคน (Mason & Mitroff, 1973)
- Shift from error avoidance to error detection and correction. จงเปลี่ยนจากการหลีกเลี่ยงความผิดพลาด ไปสู่การค้นหาความผิดพลาดและแก้ไข