บทความ

การผลิตไฟฟ้าที่มั่นคง ไม่เพียงส่งผลแค่มีไฟฟ้าพอใช้ แต่หมายถึงเศรษฐกิจภาพใหญ่ของประเทศ

เมื่อพลังงาน เป็นอีกปัจจัยหลัก ผลักดันเศรษฐกิจของประเทศ ปัจจุบันภาวะเรือนกระจก ภาวะโลกร้อนส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตของพวกเราทุกคน รวมถึงพลังงานซึ่งถือเป็นปัจจัยพื้นฐานสำคัญในการใช้ชีวิต เห็นได้ว่าในทุก ๆ ปี โลกของเราจะต้องเผชิญกับวิกฤตขาดแคลนพลังงาน  ทิศทางพลังงานโลกจึงมุ่งเปลี่ยนผ่านสู่พลังงานสะอาดเพื่อแก้ปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ช่วยรักษาสมดุลทางธรรมชาติไม่ให้ถูกทำลายจากก๊าซพิษต่าง ๆ ที่ทำให้เกิดสภาวะโลกร้อน ช่วยลดผลกระทบต่อระบบนิเวศ และยกระดับคุณภาพชีวิตความเป็นอยู่และสุขภาพของผู้คนให้ดีขึ้นในระยะยาว รวมถึงกระตุ้นการลงทุนให้เกิดการหมุนเวียนทางเศรษฐกิจของประเทศ  ตามแผนการดำเนินงานของกระทรวงพลังงานปี 2566 การเลือกใช้พลังงานสะอาดหรือพลังงานหมุนเวียนมีความสำคัญต่อการพัฒนาเศรษฐกิจควบคู่ไปกับการรักษาสิ่งแวดล้อม และคุณภาพชีวิต   ประเทศเพื่อนบ้าน เผชิญวิกฤตพลังงาน  ล่าสุดสถานการณ์ของประเทศเพื่อนบ้านอย่างประเทศเวียดนาม ที่กำลังเผชิญวิกฤตพลังงานไฟฟ้าขาดแคลนอย่างหนักมาตั้งแต่กลางเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา และส่อแววยืดเยื้อ ถึงขั้นต้องประกาศเวียนดับไฟฟ้าทั่วประเทศเพื่อรับมือกับความต้องการใช้ไฟฟ้าที่เพิ่มสูงขึ้น โดยบางพื้นที่อาจต้องดับไฟฟ้านานกว่า 7 ชั่วโมง สะท้อนถึงปัญหาความมั่นคงระบบไฟฟ้าและคุณภาพไฟฟ้าของเวียดนามที่ส่งผลกระทบต่อภาคการผลิต ความเชื่อมั่นของนักลงทุน และเศรษฐกิจของประเทศ  ปัญหาหลักคือทรัพยากรที่นำมาใช้ในการผลิตไฟฟ้าขาดแคลน และการบริหารจัดการพลังงานหมุนเวียน ที่มีกำลังผลิตติดตั้งถึง 27% ของกำลังผลิตไฟฟ้าทั้งหมด แต่สามารถผลิตไฟฟ้าได้จริงราว 13% เนื่องจากสามารถผลิตไฟฟ้าได้เฉพาะบางช่วงเวลาเท่านั้น ตัวอย่างเช่น การผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์มีเพียงพอต่อความต้องการใช้ไฟฟ้าเฉพาะในช่วงกลางวันเท่านั้น แต่ไม่สามารถกักเก็บไว้จ่ายไฟฟ้าในช่วงที่ความต้องการใช้ไฟฟ้าสูงหรือช่วงที่ขาดแคลนไฟฟ้าได้ เช่นเดียวกับการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานลมที่สามารถผลิตไฟฟ้าได้ดีที่สุดในช่วงเดือนธันวาคม-กุมภาพันธ์ ทำให้เวียดนามยังต้องเผชิญความเสี่ยงขาดแคลนไฟฟ้าแม้จะมีกำลังผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนจำนวนมากอยู่ในระบบ และปฏิเสธไม่ได้ว่าการพึ่งพาการผลิตไฟฟ้าจากโรงไฟฟ้าพลังน้ำและโรงไฟฟ้าพลังงานความร้อนจากถ่านหินและก๊าซธรรมชาติยังมีความจำเป็น วิกฤตขาดแคลนพลังงานไฟฟ้าในเวียดนามกลายเป็นกรณีศึกษาที่บ่งชี้ว่า การบริหารจัดการระบบไฟฟ้าที่มุ่งเน้นที่ค่าไฟฟ้าในระดับต่ำที่สุดเพียงอย่างเดียวอาจไม่ใช่คำตอบของนักลงทุน เพราะการขาดแคลนไฟฟ้าเพียงไม่กี่ชั่วโมงสามารถสร้างความเสียหายทางธุรกิจอย่างมหาศาล   ไม่ใช่แค่มีไฟฟ้าใช้ แต่สร้างความเชื่อมั่นและมั่นใจให้เศรษฐกิจไทยเดินหน้าอย่างมีเสถียรภาพ สำหรับประเทศไทยเอง ก็ได้มีการนำพลังงานหมุนเวียนมาใช้ในการผลิตไฟฟ้ามากขึ้น […]

Renewable Energy : พลังงานแห่งอนาคตที่ไม่มีวันหมดสิ้น

Renewable Energy : พลังงานแห่งอนาคตที่ไม่มีวันหมดสิ้น เทคโนโลยีเกิดใหม่หลายๆ ประเภท เช่น โมบายล์อินเทอร์เน็ต (mobile internet) รถยนต์ไร้คนขับ (autonomous vehicle) และจีโนมิกส์ (genomics) กำลังจะสร้างความเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ให้กับโลกใบนี้ บรรดาเทคโนโลยีใหม่ๆ เหล่านี้ กำลังแพร่กระจายไปในทุกภาคส่วน แต่ก็ใช่ว่าเทคโนโลยีใหม่ทุกประเภทจะก่อให้เกิดความเปลี่ยนแปลงต่อภาคส่วนธุรกิจหรือสังคม มีเพียงแค่บางประเภทเท่านั้นที่มีแนวโน้มจะส่งผลกระทบต่อเทคโนโลยียุคเก่าให้เปลี่ยนจากหน้ามือเป็นหลังมือ หรือที่ปกติเราเรียกกันว่า disruption นั่นเอง รวมถึงเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตของผู้คนไปอย่างสิ้นเชิง ถึงแม้ว่าความก้าวหน้าทางด้านเทคโนโลยีจะมีผลดีช่วยขับเคลื่อนระบบเศรษฐกิจให้เดินไปได้ แต่ในขณะเดียวกันก็ก่อให้เกิดความเปลี่ยนแปลงที่ไม่อาจหลีกเลี่ยงได้ ผู้นำทั้งทางฝั่งรัฐบาล และภาคส่วนธุรกิจไม่เพียงแค่ต้องทำความเข้าใจในเทคโนโลยีใหม่ๆ เหล่านี้ แต่จะต้องเตรียมตัวรับมือกับผลกระทบครั้งใหญ่นี้ให้พร้อมก่อนที่จะสายเกินแก้   รูปที่ 1 พลังงานแสงอาทิตย์ คือ พลังงานแห่งอนาคต ที่มา: https://www.thaisolarenergy.com/index.php/solar-farm-thailand/ หนึ่งในเทคโนโลยีใหม่ที่จะเข้ามามีบทบาทต่อชีวิตประจำวันของทุกคนอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ คือ เทคโนโลยีการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียน หรือ renewable energy นั่นเอง สำหรับ renewable energy นั้นถือเป็นแหล่งพลังงานที่ยั่งยืน เพราะได้มาจากแหล่งพลังงานที่มีปริมาณไม่จำกัด เช่น แสงอาทิตย์ แม่น้ำ ลม […]

การเงินสำหรับธุรกิจสีเขียวเพื่อความยั่งยืน (Green and Sustainable Finance)

ปัจจุบันสิ่งแวดล้อมถือเป็นประเด็นสำคัญที่กำลังส่งผลกระทบทั้งต่อสุขภาพประชาชน และระบบเศรษฐกิจทั่วโลก หลายประเทศให้ความใส่ใจต่อการเปลี่ยนแปลงทางสภาพภูมิอากาศ (Climate Change) ที่มีความรุนแรงมากขึ้น จึงออกนโยบาย และแผนดำเนินการเพื่อมุ่งสู่เป้าหมาย ‘การลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์’ (Net Zero Emission) ขณะที่ผู้บริโภค และธุรกิจก็หันมาใช้สินค้า และบริการที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมเพิ่มขึ้น สถาบันการเงินต่างๆ ถือว่ามีบทบาทสำคัญในเรื่องการเปลี่ยนผ่าน (Net Zero Transition) โดยได้ปรับตัวรองรับเทรนด์นี้โดยออกผลิตภัณฑ์ทางการเงินสีเขียวที่ยั่งยืน (Green and Sustainable Finance) ในรูปแบบต่างๆ เช่น สินเชื่อสีเขียว (Green Loan) ตราสารหนี้สีเขียว (Green Bond) เพื่อสร้างแรงจูงใจให้กับภาคธุรกิจ และอุตสาหกรรมในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก (Green House Gas:  GHG) และเพื่อเปลี่ยนผ่านสู่ ‘เศรษฐกิจสีเขียว’ ที่ดีต่อสิ่งแวดล้อมให้เร็วขึ้น เพื่อการบรรลุเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน (Sustainable Development) และเป้าหมายด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศอย่างเป็นรูปธรรม องค์กร UN Environment Programme (UNEP) ได้กำหนด 5 แนวทางเพื่อใช้เป็นหลักการในการใช้เครื่องมือทางการเงินเพื่อสนับสนุนการพัฒนาด้านสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน ซึ่งประกอบด้วย […]

7 วิธี รีไซเคิลคาร์บอนไดออกไซด์ นำกลับมาใช้ประโยชน์ใหม่

ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (Carbon dioxide) หรือ CO2 ปัจจัยสำคัญที่ก่อให้เกิดภาวะเรือนกระจกและปัญหาโลกร้อน ถูกปลดปล่อยออกมาจากกิจกรรมการผลิตสินค้าต่างๆ ที่ใช้อยู่ในชีวิตประจำวัน ไม่ว่าจะเป็นถ้วยกาแฟที่เราดื่ม รองเท้าที่เราใส่ รถยนต์ที่เราขับ รวมถึงบ้านที่อยู่อาศัย แต่นับเป็นเรื่องดีที่เทคโนโลยีสมัยใหม่สามารถดักจับ CO2 มารีไซเคิลได้หลากหลายวิธี และนำกลับมาใช้ให้เกิดประโยชน์ได้อีกด้วย การดักจับและกักเก็บคาร์บอน หรือ CCS เป็นเทคโนโลยีสำคัญที่จะช่วยลดการปล่อย CO2 จากอุตสาหกรรมที่ขจัดก๊าซคาร์บอนฯ ได้ยาก โดยเอเชียตะวันออกเฉียงใต้  มีศักยภาพเพียงพอที่จะกักเก็บ CO2 ได้ถึง 300,000 ล้านตัน* แต่บางเทคโนโลยีซึ่งกำลังอยู่ในขั้นแรกของการพัฒนา ได้ก้าวไปถึงขั้นการนำ CO2 กลับมาใช้ใหม่      ซึ่งจะเกิดประโยชน์มากกว่าการกักเก็บเอาไว้เฉยๆ โดย CO2 ทั่วโลกราว 230 ล้านตัน** จะถูกนำกลับมาใช้ทุกปีในรูปแบบต่างๆ ถึง 7 วิธี ดังนี้ 1. ด้านอาหารและเครื่องดื่ม สามารถใช้ CO2 เพื่อขจัดคาเฟอีนออกโดยไม่ส่งผลกระทบต่อรสชาติของกาแฟ ซึ่ง CO2 ที่ดักจับมาได้ อาจใช้เติมฟองในเครื่องดื่มอย่างโซดาและเบียร์ และอาจใช้ช่วยป้องกันไม่ให้ไวน์เสีย หรือเพื่อรักษาความสดของอาหารสำเร็จรูปบรรจุห่อได้ด้วย 2. ด้านเสื้อผ้าและเครื่องประดับ […]

พพ. จัดสอบหลักสูตรผู้รับผิดชอบด้านพลังงานสามัญโรงงาน (ผชร.) สำหรับผู้ผ่านการอบรมออนไลน์ (E-Learning) ครั้งที่ 2/2566

เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 8 มิถุนายน 2566 ทางกรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน (พพ.) โดย กองพัฒนาทรัพยากรบุคคลด้านพลังงาน (กพบ.) ได้ทำการจัดสอบหลักสูตรผู้รับผิดชอบด้านพลังงานสามัญโรงงาน สำหรับผู้ผ่านการอบรมออนไลน์ (E-Learning) ครั้งที่ 2/2566 ณ อาคารอนุรักษ์พลังงานเฉลิมพระเกียรติ ต.คลองห้า อ.คลองหลวง จ.ปทุมธานี โดยมีผู้ลงทะเบียนเข้าสอบในหลักสูตรนี้ จำนวน 354 ท่าน เมื่อสอบผ่านสามารถแต่งตั้งเป็นผู้รับผิดชอบด้านพลังงานประจำโรงงานควบคุมนั้นๆได้ และในการสอบครั้งนี้ ทาง พพ. ได้ขอความร่วมมือผู้เข้าสอบทุกท่านให้สวมหน้ากากอนามัยตลอดระยะเวลาในการสอบ ซึ่งได้รับความร่วมมือเป็นอย่างดีจากผู้เข้าสอบทุกท่าน

1 2 3 4 5 8