บทความ

งานครบรอบ 20 ปี อาคารอนุรักษ์พลังงานเฉลิมพระเกียรติ สู่ปีแห่ง คน เครื่องจักร และระบบการจัดการพลังงานอัจฉริยะ เพื่อมุ่งสู่ความเป็นกลางทางคาร์บอน (Carbon Neutrality)

คลิป 20 ปี อาคารอนุรักษ์พลังงานเฉลิมพระเกียรติ   พิธีเปิด  เสวนา(1)  เสวนา(2) เมื่อวันศุกร์ที่ 17 พฤศจิกายน 2566 นายพีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน เป็นประธานใน “งานครบรอบ 20 ปี อาคารอนุรักษ์พลังงานเฉลิมพระเกียรติ สู่ปีแห่ง คน เครื่องจักร และระบบการจัดการพลังงานอัจฉริยะ เพื่อมุ่งสู่ความเป็นกลางทางคาร์บอน (Carbon Neutrality)” เปิดเผยว่า อาคารอนุรักษ์พลังงานเฉลิมพระเกียรติ แห่งนี้นับเป็นความภูมิใจของกระทรวงพลังงานในการเป็นต้นแบบอาคารด้านการอนุรักษ์พลังงานของประเทศไทยแห่งแรก ๆ และเป็นอาคารสำหรับจัดฝึกอบรมด้านการอนุรักษ์พลังงานให้กับบุคลากรของโรงงานและอาคารควบคุม และนอกข่ายควบคุม หรือเอสเอ็มอี ซึ่งปัจจุบันถือเป็นกลุ่มที่มีการใช้พลังงานสูง รวมถึงส่งเสริมการใช้เครื่องจักร อุปกรณ์ที่มีเทคโนโลยีที่ทันสมัยด้วยมาตรการด้านกฎหมาย การเงิน มาตรการจูงใจแล้ว ด้านการพัฒนาบุคลากร ซึ่งถือเป็นปัจจัยหลักในการจัดการพลังงานภายในองค์กรมายาวนานกว่า 20 ปี ซึ่งตลอดระยะเวลาที่ผ่านมาอาคารแห่งนี้ได้สร้างคุณประโยชน์ทางด้านการอนุรักษ์พลังงาน และพลังงานทดแทนให้คนหลาย ๆ รุ่น รวมทั้งได้แสดงให้เห็นถึงศักยภาพและเผยแพร่ความสำเร็จด้านการอนุรักษ์พลังงาน ตลอดจนการใช้พลังงานทดแทนผ่านเทคโนโลยีและนวัตกรรมใหม่ ๆ มาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด ทั้งในภาคอุตสาหกรรม อาคารธุรกิจ และครัวเรือน  

พลังงานสะอาด ทางเลือก ทางรอดของอนาคต🌍

  ความรุนแรงของภาวะโลกรวน หรือ Climate Change ที่ทวีความปั่นป่วนในทุกประเทศทั่วโลกนั้น ส่งผลให้สภาพภูมิอากาศในแต่ละฤดูกาลเกิดการเปลี่ยนแปลงแบบสุดขั้ว อย่างช่วงหน้าร้อนของเมืองไทยปีนี้ก็มีดัชนีความร้อนสูงสุดเป็นประวัติการณ์ ทั้งยังทุบสถิติปริมาณการใช้ไฟฟ้าสูงสุดในรอบหลายปีของประเทศไทยอีกด้วย !!⚡ ☀️พระอาทิตย์ที่ร้อนแรงแบบไม่ลดราวาศอก จนใครๆ ต่างก็บ่นว่า ร้อนจนละลาย แต่หนาวจะตายเมื่อเห็นบิลค่าไฟฟ้าที่มีราคาแพงลิบลิ่ว ซึ่งขณะเดียวกันก็ทำให้ประชาชนคนไทยเริ่มหันมาตื่นตัวและให้ความสนใจเรื่องของพลังงานแสงอาทิตย์ ซึ่งเป็นพลังงานสะอาดที่ไม่ต้องซื้อหา และสามารถนำมาใช้ให้เกิดประโยชน์ได้ในทุกภาคส่วนของสังคม เริ่มจาก ภาคครัวเรือน ที่สามารถติดตั้งแผงโซลาร์เซลล์บนหลังคาบ้าน รวมถึงการใช้อุปกรณ์ที่ใช้พลังงานแสงอาทิตย์ เช่น โซลาร์พาวเวอร์แบงก์ แบตเตอรี่สำรองไฟแบบพกพาที่มีการติดตั้งแผงโซลาร์เซลล์ไว้ด้วย เพื่อช่วยแบ่งเบาภาระค่าไฟได้ในระยะยาว ในขณะที่ ภาคชุมชนเมือง ก็สามารถติดตั้งโซลาร์เซลล์ให้กับอุปกรณ์ต่างๆ ในพื้นที่สถานะ เช่น ไฟถนน ป้ายบอกทาง กล้องวงจรปิด เพื่อความปลอดภัยของประชาชนและยังช่วยให้ประเทศชาติประหยัด รวมทั้งช่วยกันส่งเสริมการใช้ยานยนต์ไฟฟ้า ซึ่งระบบขนส่งสาธารณะก็มีการใช้ยานพาหนะที่ขับเคลื่อนด้วยพลังงานสะอาดมาให้บริการ เช่น เรือไฟฟ้า ที่ให้บริการในเส้นทางเดินเรือคลองผดุงกรุงเกษม ไม่เพียงช่วยประหยัดพลังงาน ยังช่วยลดมลพิษทางน้ำและทางอากาศในระยะยาว อีกทั้งมีส่วนช่วยคืนความยั่งยืน สร้างคุณภาพชีวิตที่ดีให้แก่คนในชุมชนและนักท่องเที่ยว รวมถึงสนับสนุนการใช้รถเมล์ EV ที่มีการนำรถเมล์ที่ใช้แล้ว 20 ปี ของขสมก. มาดัดแปลงให้เป็น EV BUS ที่ส่งผลดีต่อสิ่งแวดล้อม ลดก๊าซเรือนกระจก […]

พพ. จัดสอบหลักสูตรผู้รับผิดชอบด้านพลังงานสามัญโรงงาน (ผชร.) สำหรับผู้ผ่านการอบรมออนไลน์ (e-Learning) ครั้งที่ 3/2566

เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 5 ตุลาคม 2566 ทางกรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน (พพ.) โดย กองพัฒนาทรัพยากรบุคคลด้านพลังงาน (กพบ.) ได้ทำการจัดสอบหลักสูตรผู้รับผิดชอบด้านพลังงานสามัญโรงงาน สำหรับผู้ผ่านการอบรมออนไลน์ (e-Learning) ครั้งที่ 3/2566 ณ อาคารอนุรักษ์พลังงานเฉลิมพระเกียรติ ต.คลองห้า อ.คลองหลวง จ.ปทุมธานี โดยมีผู้ลงทะเบียนเข้าสอบในหลักสูตรนี้ จำนวน 252 ท่าน ผู้ผ่านการสอบสามารถขึ้นทะเบียนเป็นผู้รับผิดชอบด้านพลังงานประจำโรงงานควบคุมนั้น ๆ ได้ และในการสอบครั้งนี้ ทาง พพ. ได้ขอความร่วมมือผู้เข้าสอบทุกท่านให้สวมหน้ากากอนามัยตลอดระยะเวลาในการสอบ ซึ่งได้รับความร่วมมือเป็นอย่างดีจากผู้เข้าสอบทุกท่าน

รู้จัก CCUS เทคโนโลยีดักจับคาร์บอนของวันนี้ ที่จะมาช่วยเปลี่ยนโลกในอนาคต

เทคโนโลยี CCUS มาจาก Carbon Capture Utilization and Storage เทคโนโลยีการดักจับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ การใช้ประโยชน์และการกักเก็บคาร์บอน เป็นเทคโนโลยีที่มีประสิทธิภาพสูงในการลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ออกสู่ชั้นบรรยากาศที่ได้รับการยอมรับในระดับสากล เพื่อมุ่งสู่เป้าหมายความเป็นกลางทางคาร์บอน (Carbon Neutrality)ในอนาคต  ดักจับ เพื่ออะไร ใช้ประโยชน์ได้มากมายจริงหรือ? เนื่องจากปัจจุบัน สภาวะโลกร้อน เป็นเรื่องสำคัญระดับโลกที่องค์การสหประชาชาติเรียกร้องให้ทุกประเทศเร่งลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกเพื่อรักษาระดับอุณหภูมิเฉลี่ยของโลก การลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) จากภาคอุตสาหกรรม เป็นส่วนสำคัญที่จะช่วยลดผลกระทบที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ  ซึ่งความเป็นกลางทางคาร์บอน (Carbon Neutrality)จะไม่สามารถเกิดขึ้นได้เลยถ้าไม่มีเทคโนโลยี CCUS เทคโนโลยีการดักจับ CO2 แล้วนำมากักเก็บไว้ในชั้นหินใต้ดินแบบถาวร (Carbon Capture and Storage: CCS) หรือใช้เป็นวัตถุดิบในกระบวนการผลิตทางอุตสาหกรรมเพื่อให้ได้ผลิตภัณฑ์ที่มีมูลค่าสูงขึ้น (Carbon Capture and Utilization: CCU)  นับเป็นก้าวสำคัญในการจัดการ CO2 ซึ่งเดิมถูกมองว่าเป็นมลพิษ โดยนำมาแปรรูปแล้วนำไปใช้ประโยชน์ด้านต่างๆ นับเป็นอีกหนึ่งเทคโนโลยี ในการนำของเสียมาสร้างเป็นสิ่งที่มีมูลค่าทางด้านการพาณิชย์ ในขณะเดียวกันยังเป็นการขจัดมลภาวะให้กับสภาพแวดล้อมอีกด้วย แล้วประเทศไทย ใช้เทคโนโลยีนี้แพร่หลายแล้วหรือยัง? ทวีปเอเชีย-แปซิฟิก มีการเร่งดำเนินการ และปรับใช้เทคโนโลยี CCUS […]

การผลิตไฟฟ้าที่มั่นคง ไม่เพียงส่งผลแค่มีไฟฟ้าพอใช้ แต่หมายถึงเศรษฐกิจภาพใหญ่ของประเทศ

เมื่อพลังงาน เป็นอีกปัจจัยหลัก ผลักดันเศรษฐกิจของประเทศ ปัจจุบันภาวะเรือนกระจก ภาวะโลกร้อนส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตของพวกเราทุกคน รวมถึงพลังงานซึ่งถือเป็นปัจจัยพื้นฐานสำคัญในการใช้ชีวิต เห็นได้ว่าในทุก ๆ ปี โลกของเราจะต้องเผชิญกับวิกฤตขาดแคลนพลังงาน  ทิศทางพลังงานโลกจึงมุ่งเปลี่ยนผ่านสู่พลังงานสะอาดเพื่อแก้ปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ช่วยรักษาสมดุลทางธรรมชาติไม่ให้ถูกทำลายจากก๊าซพิษต่าง ๆ ที่ทำให้เกิดสภาวะโลกร้อน ช่วยลดผลกระทบต่อระบบนิเวศ และยกระดับคุณภาพชีวิตความเป็นอยู่และสุขภาพของผู้คนให้ดีขึ้นในระยะยาว รวมถึงกระตุ้นการลงทุนให้เกิดการหมุนเวียนทางเศรษฐกิจของประเทศ  ตามแผนการดำเนินงานของกระทรวงพลังงานปี 2566 การเลือกใช้พลังงานสะอาดหรือพลังงานหมุนเวียนมีความสำคัญต่อการพัฒนาเศรษฐกิจควบคู่ไปกับการรักษาสิ่งแวดล้อม และคุณภาพชีวิต   ประเทศเพื่อนบ้าน เผชิญวิกฤตพลังงาน  ล่าสุดสถานการณ์ของประเทศเพื่อนบ้านอย่างประเทศเวียดนาม ที่กำลังเผชิญวิกฤตพลังงานไฟฟ้าขาดแคลนอย่างหนักมาตั้งแต่กลางเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา และส่อแววยืดเยื้อ ถึงขั้นต้องประกาศเวียนดับไฟฟ้าทั่วประเทศเพื่อรับมือกับความต้องการใช้ไฟฟ้าที่เพิ่มสูงขึ้น โดยบางพื้นที่อาจต้องดับไฟฟ้านานกว่า 7 ชั่วโมง สะท้อนถึงปัญหาความมั่นคงระบบไฟฟ้าและคุณภาพไฟฟ้าของเวียดนามที่ส่งผลกระทบต่อภาคการผลิต ความเชื่อมั่นของนักลงทุน และเศรษฐกิจของประเทศ  ปัญหาหลักคือทรัพยากรที่นำมาใช้ในการผลิตไฟฟ้าขาดแคลน และการบริหารจัดการพลังงานหมุนเวียน ที่มีกำลังผลิตติดตั้งถึง 27% ของกำลังผลิตไฟฟ้าทั้งหมด แต่สามารถผลิตไฟฟ้าได้จริงราว 13% เนื่องจากสามารถผลิตไฟฟ้าได้เฉพาะบางช่วงเวลาเท่านั้น ตัวอย่างเช่น การผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์มีเพียงพอต่อความต้องการใช้ไฟฟ้าเฉพาะในช่วงกลางวันเท่านั้น แต่ไม่สามารถกักเก็บไว้จ่ายไฟฟ้าในช่วงที่ความต้องการใช้ไฟฟ้าสูงหรือช่วงที่ขาดแคลนไฟฟ้าได้ เช่นเดียวกับการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานลมที่สามารถผลิตไฟฟ้าได้ดีที่สุดในช่วงเดือนธันวาคม-กุมภาพันธ์ ทำให้เวียดนามยังต้องเผชิญความเสี่ยงขาดแคลนไฟฟ้าแม้จะมีกำลังผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนจำนวนมากอยู่ในระบบ และปฏิเสธไม่ได้ว่าการพึ่งพาการผลิตไฟฟ้าจากโรงไฟฟ้าพลังน้ำและโรงไฟฟ้าพลังงานความร้อนจากถ่านหินและก๊าซธรรมชาติยังมีความจำเป็น วิกฤตขาดแคลนพลังงานไฟฟ้าในเวียดนามกลายเป็นกรณีศึกษาที่บ่งชี้ว่า การบริหารจัดการระบบไฟฟ้าที่มุ่งเน้นที่ค่าไฟฟ้าในระดับต่ำที่สุดเพียงอย่างเดียวอาจไม่ใช่คำตอบของนักลงทุน เพราะการขาดแคลนไฟฟ้าเพียงไม่กี่ชั่วโมงสามารถสร้างความเสียหายทางธุรกิจอย่างมหาศาล   ไม่ใช่แค่มีไฟฟ้าใช้ แต่สร้างความเชื่อมั่นและมั่นใจให้เศรษฐกิจไทยเดินหน้าอย่างมีเสถียรภาพ สำหรับประเทศไทยเอง ก็ได้มีการนำพลังงานหมุนเวียนมาใช้ในการผลิตไฟฟ้ามากขึ้น […]

1 2 3 4 8