พลังงานความร้อนใต้พิภพ การนำเอาพลังงานความร้อนมาใช้

     พลังงานความร้อนใต้พิภพ หรือมีชื่อเรียกอีก ชื่อคือ พลังงานอุณหธรณี เป็นการที่เราเจาะนำพลังงานความร้อนที่อยู่ในใต้ดิน ซึ่งเราต้องเจาะให้ถึงแกนกลางของโลกที่มีอุณหภูมิสูงถึง 5,000 องศาเซลเซียส ซึ่งทำให้น้ำที่ถูกเก็บไว้ในโพรงของชั้นหิน จนกลายเป็นไอน้ำดันขึ้นมาสูงพื้นดินลอยขึ้นมาสูงชั้นบรรยากาศ แล้วจะทำให้กลายเป็นเมฆ แล้วก็ตกลงมาเป็นฝน จึงได้เกิดเป็นพลังงานหมุนเวียน นิยมใช้ในการผลิตกระแสไฟฟ้า ตอนนี้มี 24 ประเทศที่ผลิตไฟฟ้าด้วยพลังงานความร้อนใต้พิภพ

แหล่งพลังงานความร้อนใต้พิภพที่พบในโลกแบ่งเป็นลักษณะใหญ่ ๆ ได้ 3 ลักษณะ คือ

แหล่งที่เป็นไอน้ำส่วนใหญ่ (Steam Dominated) เป็นแหล่งกักเก็บความร้อนที่ประกอบด้วยไอน้ำมากกว่า 95% โดยทั่วไปมักจะเป็นแหล่งที่ใกล้กับหินหลอมเหลวร้อนที่อยู่ตื้น ๆ  อุณหภูมิของไอน้ำร้อนจะสูงกว่า 240 องศาเซลเซียสขึ้นไป แหล่งที่เป็นไอน้ำส่วนใหญ่นี้จะพบน้อยมากในโลกเรา แต่สามารถนำมาใช้ผลิตกระแสไฟฟ้าได้มากที่สุด เช่น The Geyser Field  ในมลรัฐแคลิฟอร์เนีย ประเทศสหรัฐอเมริกา และ Larderello ในประเทศอิตาลี เป็นต้น

แหล่งที่เป็นน้ำร้อนส่วนใหญ่ (Hot Water Dominated) เป็นแหล่งกักเก็บสะสมความร้อนที่ประกอบไปด้วย น้ำร้อนเป็นส่วนใหญ่ อุณหภูมิน้ำร้อนจะมีตั้งแต่ 100 องศาเซลเซียสขึ้นไป ระบบนี้จะพบมากที่สุดในโลก เช่นที่ Cerro Prieto ในประเทศเม็กซิโก และ Hatchobaru ในประเทศญี่ปุ่น เป็นต้น

แหล่งหินร้อนแห้ง  (Hot Dry Rock)  เป็นแหล่งสะสมความร้อนที่เป็นหินเนื้อแน่นแต่ไม่มีน้ำร้อนหรือไอน้ำไหลหมุนเวียนอยู่ ดังนั้น ถ้าจะนำมาใช้จำเป็นต้องอัดน้ำเย็นลงไปทางหลุมเจาะให้น้ำได้รับความร้อนจากหินร้อนโดยไหลหมุนเวียนภายในรอยแตกที่กระทำขึ้นจากนั้นก็ทำการสูบน้ำร้อนนี้ขึ้นมาทางหลุมเจาะอีกหลุมหนึ่ง  ซึ่งเจาะลงไปให้ตัดกับรอยแตกดังกล่าว  แหล่งหินร้อนแห้งนี้กำลังทดลองผลิตไฟฟ้าที่ มลรัฐแคลิฟอร์เนีย ประเทศสหรัฐอเมริกา และที่ Oita Prefecture ประเทศญี่ปุ่น

แหล่งที่สามารถกักเก็บพลังงานความร้อนใต้พิภพมีอยู่ 4 ลักษณะ คือ

1.แหล่งเป็นไอน้ำ เป็นแหล่งพลังงานที่อยู่ใกล้แหล่งหินเหลมเหลวทำให้บริเวณนั้นเกิดความร้อนสูงจนเดือนเป็นไอ อุณหภูมิของไอน้ำมีความร้อนสูงถึง 240 องศาเซลเซียส

2.แหล่งความร้อนที่ส่วนใหญ่เป็นน้ำเค็ม โดยจะมีอุณหภูมิต่ำกว่า 180 องศาเซลเซียส บางแหล่งน้ำจะมีก๊าซธรรมชาติประกอบอยู่ด้วย สามารถแยกก๊าชออกมาใช้ประโยชน์ได้อีก

3.แหล่งที่เป็นหินร้อนแห้ง โดยที่ไม่มีน้ำอยู่เลย เราจึงต้องนำน้ำเทลงไปเพื่อให้เกิดไอน้ำใช้ในการผลิตกระแสไฟฟ้า

4.แหล่งที่เป็นแมกมา หรือลาวาเหลว เป็นแหล่งพลังงานความร้อนที่มีค่าความร้อนสูงสุดที่มีอุณหภูมิถึง 650 องศาเซลเซียสส่วนใหญ่จะสามารถพบได้ในแหล่งใต้ภูเขาไฟ

ที่มา : https://www.gloucestermaritimecenter.org

ที่มา : http://www.energyvision.co.th